ภาคีเครือข่ายงดเหล้าเข้าพบรองปลัดวัฒนธรรม
หารือสร้างวัฒนธรรมสร้างสุข ปลอดอบายมุขและแอลกอฮอล์
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 ที่กระทรวงวัฒนธรรม ทีมงานสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) แผนทุนอุปถัมภ์ฯ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วย นายเล็ก นารี นายกสมาคมสภาวัฒนธรรม และทีมงาน tv thai ได้เข้าพบ ดร.โสมสุดา ลียะวนิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อปรึกษาหารือ และนำเสนองานด้านบุญประเพณีและวัฒนธรรม
ผลจากการประชุมหารือกัน สรุปได้ว่า ในการสร้างวัฒนธรรม งานบุญ งานประเพณี ที่ปลอดจากอบายมุขและแอลกอฮอล์ได้นั้น ควรจะมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ในการดำเนินงานร่วมกัน คือ การออกสื่อด้านวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัด เพื่อนำเสนอประชาสัมพันธ์เนื้องานให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน การใช้วิธีคิดในการนำเสนอที่แฝงไปด้วยประโยชน์ สามารถดึงดูดให้คนสนใจในเนื้อหางานมากยิ่งขึ้น เช่น การนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรมของจังหวัด มาจัดแสดงโชว์ภายในงาน เพื่อสร้างอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมที่โดดเด่นออกมา
ส่วนด้านประเพณี ต้องมีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการจัดงาน เช่น ใช้มาตรการในการงดเหล้า งดอบายมุขการวางกฎเกณฑ์ร้านค้า การแต่งกายที่ล่อแหลม เป็นต้น และสร้างสรรค์ความแปลกใหม่ให้กับงานบุญประเพณี โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ดึงเอาประชาคม สื่อสารมวลชนท้องถิ่น พร้อมกับดึงเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำในการจัดงานด้วย สุดท้ายคือ ต้องขยายผลของงานที่มีประโยชน์ภายในชุมชนไปสู่สังคมวงกว้างต่อไป
ดร.
ส่วนทีม tv thai กล่าวว่า เนื้อหาของงานต้องดูเป็นของแท้ ไม่ใช่การปรุงแต่ง โดยจะต้องนำเสนอกระบวนการ หรือรายละเอียดของประเพณีที่มีเนื้อหาสาระสำคัญ และจะต้องเป็นงานที่สื่อออกมา เพื่อให้เกิดการสร้างความรู้เพิ่มเติมให้กับประชาชน และเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น ประเพณีแข่งเรือ เมื่อเสร็จจากการแข่งขัน มีการนำเรือบด หรือเรือที่เก่าแก่ที่มีอยู่ภายในชุมชน มาจัดแสดงโชว์ พร้อมกับการเล่าถึงตำนานอันเก่าแก่ที่เกิดขึ้นของเรือ ให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมในงานได้ทราบ ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นการสร้างคุณค่าในด้านของการท่องเที่ยว สามารถเพิ่มเสน่ห์ให้กับการท่องเที่ยวได้
จากนั้น นายวิษณุ ศรีทะวงษ์ ผู้จัดการฝ่ายแผนทุนอุปถัมภ์เชิงรุก เพื่อทดแทนธุรกิจแอลกอฮอล์ ได้เสนอความคิดเห็นว่า ต้องมีการบูรณาการเสริม โดยสร้างเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วม โดยการดึงเอาประชาคม และสื่อสารมวลชนท้องถิ่นมาร่วมคิดร่วมทำ พร้อมกับดึงเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานด้วย แต่ทั้งนี้จะต้องมีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการจัดงาน เช่น ใช้มาตรการในการงดเหล้า การวางกฎเกณฑ์ร้านค้า การแต่งกายที่ล่อแหลม การพนัน เพื่อให้ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวเกิดความไว้วางใจด้วย
ในการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการ่วมงานกันระหว่าง ภาคประชาชน สื่อ และหน่วยงานที่ทำงานด้านวัฒนธรรมและประเพณีต่อไป
เรื่องโดย นายมานิตย์ กงมน
ที่มา : สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
update : 19-11-53
อัพเดทเนื้อหาโดย : ศิรินทิพย์ อิสาสะวิน