ภัยโซเชียล ที่คนมักพลาดท่า

ที่มา : อย่าตกหลุมโซเชียลมิเดีย  สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ


ภัยโซเชียล ที่คนมักพลาดท่า thaihealth


แฟ้มภาพ


เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่ผู้ใช้สื่อต้องฉลาดแยกให้ออกว่าอันไหนคือเนื้อหา และอันตรายแฝง เพราะคงไม่ดีแน่ หากเราหลงเชื่ออะไรผิดๆ เพราะผลที่ตามมาอาจเป็นภัยต่อชีวิตและคนรอบข้าง


1.โฆษณาแฝง


  •  ในละครหรือหนังมักวางสินค้าให้เห็นชัดเจน
  •  ให้ตัวละครหยิบสินค้าบ่อยๆ และพูดถึงคุณสมบัติของสินค้า
  •  มักมาพร้อมคำว่า สนับสนุนโดย หรือขอขอบคุณแล้วตามด้วยชื่อสินค้า


2. อาหารเสริมอันตราย


  • ต้องมีเลขที่อนุญาตโฆษณา
  • ต้องไม่โฆษณาสรรพคุณเรื่องการรักษาโรคและสรรพคุณของเครื่องสำอาง  เช่น สามารถป้องกันโรคได้ ทำให้ผิวขาว ลดริ้วรอย ฯลฯ
  • ต้องไม่โฆษณาว่าได้รับการรับรองคุณภาพ เช่น อ้างคุณประโยชน์โดยบุคลอื่น
  • อาหารเสริมไม่ใช่ยา ดังนั้น ไม่สามารถรักษาโรคได้


3. โปรไฟล์ปลอม


  • รูปโปรไฟล์ สวย-หล่อ มาก
  • ไม่มีเพื่อนมาก ไม่มีคนอื่นๆ ไม่มีคอนเทนต์ หรือพูดคุยผ่านโซเชียลเลย
  • ไม่มีรูปที่ถูกแท็กมาจากเพื่อนคนอื่น ไม่มีกิจกรรมอื่นๆ ที่บอกถึงการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ชื่อโปรไฟล์กับชื่อ URL มักสวนทางกันอย่างชัดเจน


4. เครื่องสำอางปลอม


  • หากได้ยินคำว่าเกรดมิเรอร์แปลว่านั่นไม่ใช่ของจริง
  • การโฆษณาควรจะต้องไม่มีเลขที่โฆษณา เนื่องจากกฎหมายอนุญาตให้โฆษณาเครื่องสำอาง ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน
  • เครื่องสำอางมีผลเพียงแค่ทำความสะอาดหรือเพื่อความสวยงามภายนอกเท่านั้น ไม่มีผลต่อการทำงานของร่างกาย


5. ยาอันตราย


  • ผลิตภัณฑ์ยาที่ได้คุณภาพจะต้องไม่แสดงสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคเรื้อรังร้ายแรงได้ เช่น เบาหวาน มะเร็ง อัมพาต หรือโรคที่เกี่ยวกับสมองและหัวใจ
  • ต้องมีเลขที่อนุญาตโฆษณา
  • ต้องไม่ถูกรับรองสรรพคุณโดยดาราหรือคนมีชื่อเสียงซึ่งไม่ได้เป็นแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ


6.แชร์เรื่องลวง


  • “การเจาะเลือดที่นิ้ว สามารถรักษาโรคเส้นเลือดในสมองแตกได้” ความจริงวิธีดังกล่าวเป็นการปฐมพยาบาลที่ผิด ที่ถูกคือ ควรนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
  • “แถบสีบนก้นหลอดยาสีฟัน เป็นตัวบอกว่ายาสีฟันทำมาจากอะไร” ซึ่งเป็นเรื่องลวงเพราะแถบบนก้นหลอดยาสีฟันเป็นเพียงแถบสีเพื่อให้เครื่องตัดหลอด กำหนดตำแหน่งที่จะตัดเท่านั้น

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ