ฟื้น ‘เพลงเพื่อชีวิต’ หนุนคนรุ่นใหม่คิดเพื่อสังคม

ฟื้น 'เพลงเพื่อชีวิต' หนุนคนรุ่นใหม่คิดเพื่อสังคม

เป็นครั้งที่ 3 แล้ว สำหรับเวิร์คช็อป โครงการ พลังเพลง พลังปัญญา หรือ triple h music ที่ สลึง กลุ่มกิจกรรมอิสระ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการรวมตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ โดยมีเป้าหมายให้คนรุ่นใหม่ ช่วงอายุระหว่าง 17-25 ปี ได้เปิดมุมมองด้านดนตรี รวมทั้งพัฒนาทักษะการเล่นดนตรีแบบมืออาชีพ

โครงการเริ่มต้นจากการเปิดรับผลงานเพลงที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ ให้แง่คิด จากวงดนตรีเยาวชนที่รวมวงกัน ตั้งแต่ 4-8 คน จากนั้นคณะกรรมการจะคัดเลือกโดยพิจารณาจากเดโมที่ผู้สมัครส่งเข้ามา เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 15 วง ซึ่งจะมีโอกาสเข้าร่วมการอบรมที่เน้นใน 2 ลักษณะ คือแนวคิดการสร้างสรรค์เพลงที่เน้นประเด็นทางสังคม และทักษะการเล่นดนตรี

ฟื้น 'เพลงเพื่อชีวิต' หนุนคนรุ่นใหม่คิดเพื่อสังคม

ไม่เพียงเท่านั้น หลังจากเสร็จสิ้นการอบรม ทั้ง 15 วง จะได้รับเงินทุนวงละ 50,000 บาท เพื่อจัดทำมินิอัลบั้ม ก่อนจะส่งกลับมาให้คณะกรรมการพิจารณาตัดสินเพื่อมอบรางวัลอีกครั้ง

จากการเริ่มต้นจัดกิจกรรมในปีแรกที่มีวงดนตรีส่งผลงานเข้าร่วมคัดเลือกรอบแรกเพียง 20 วง มาถึงปีนี้ มีคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจส่งผลงานมากกว่า 80 วง หลังจากผ่านการคัดเลือกเหลือ 15 วง ตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา เยาวชนคนดนตรีเหล่านี้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมครั้งแรกเป็นเวลา 3 วัน และเมื่อปลายปีที่หลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วม น้องๆ ยังพากันเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย นับเป็นการทำกิจกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยสามัคคีในหมู่สมาชิก และเรียนรู้ประสบการณ์ทางสังคมไปพร้อมกัน ติดตามมาด้วยการเข้าค่ายการอบรมแบบเข้มข้นอีก ศิริพร พรมวงศ์3 วันในช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา

“อยากให้คนรุ่นใหม่ได้เปิดมุมมองด้านดนตรี และสร้างทัศนคติว่า ดนตรีไม่จำเป็นต้องตามกระแสเพลงในตลาด ที่เนื้อหาวนเวียนอยู่แต่กับเรื่องความรัก แต่เราสามารถใช้ดนตรีเพื่อสื่อเนื้อหาที่สร้างสรรค์สังคมในแง่มุมต่างๆ ได้อีกด้วย” ศิริพร พรมวงศ์ จากกลุ่มกิจกรรม สลึง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ

มุก พัฑฒิดา ปุญณารักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาศิลปศาสตร์ศึกษา ดนตรีตะวันตก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมุก พัฑฒิดา ปุญณารักษ์ ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เล่าว่าเธอกับเพื่อนต่างคณะอีก 5 คนรวมตัวกันเป็นวงดนตรี ใช้ชื่อว่า กากหมู บลูส์ แบนด์ มาได้ปีกว่าๆ ที่ผ่านมา เล่นดนตรีทั้งในมหาวิทยาลัย และรับงานแสดงตามอีเวนท์ต่างๆ เมื่อทราบข่าวเกี่ยวกับการเปิดรับสมัครร่วมโครงการพลังเพลง พลังปัญญา วง กากหมูฯ มีเพลง music in my heart ที่เคยแต่งไว้ และน่าจะตอบโจทย์การสมัคร จึงลองส่งเดโมให้คณะกรรมการพิจารณา จนได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ

“หนูแต่งเพลงจากแรงบันดาลใจที่เห็นเพื่อนๆ ซึ่งสนใจแนวเพลงต่างกัน แต่มักจะดูถูกแนวเพลงที่ตัวเองไม่ชอบ คนชอบเพลงสากลดูถูกเพลงลูกทุ่ง คนรักเพลงร็อคก็ดูถูกเพลงป๊อป เลยแต่งเพลงนี้ขึ้นมาเพื่อจะบอกว่า จริงๆ แล้วทุกคนเล่นดนตรีเพื่อความสุข ฉะนั้น เราทุกคนก็ควรจะเปิดใจให้กว้าง อย่าปิดกั้นตัวเอง” พัฑฒิดา กล่าว

ในช่วงหลายเดือนที่ได้ร่วมกิจกรรมกับโครงการพลังเพลง พลังปัญญา มุก บอกว่าเธอได้เรียนรู้มากมาย และกล่าวได้ว่านี่คือ จุดเปลี่ยน ในชีวิตของเธอ เพราะนอกจากจะได้สัมผัสการทำงานของศิลปินมืออาชีพที่มาเป็นวิทยากรแล้ว เธอยังเห็นคุณค่าของดนตรีในอีกมุมมองหนึ่งด้วย

เพลงที่เราแต่งไม่ใช่แค่โดนใจอย่างเดียว แต่ศิลปินที่แท้จริงน่าจะแต่งเพลงที่มีประโยชน์สำหรับคนฟังและสังคมด้วย หนูว่าถ้าทำแบบนั้นได้ นักแต่งเพลงก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่ารัฐมนตรี เพราะสามารถมีส่วนในการพัฒนาประเทศได้ด้วยเสียงเพลงค่ะ สาวน้อยคนนี้พูดถึงสิ่งสำคัญที่เธอได้รับจากการร่วมกิจกรรม

เบนซ์ อนันต์ วังอ้อย ขณะที่ เบนซ์ อนันต์ วังอ้อย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สารสนเทศและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สมาชิกวง ดอกแขม ซึ่งเป็นการรวมตัวของเพื่อนๆ ตั้งแต่ชั้นมัธยม บอกว่ากิจกรรมครั้งนี้ ทำให้เขาได้พบเพื่อนใหม่ๆ ที่มีใจรักดนตรีเหมือนกัน เพราะแม้แต่ กากหมู บลูส์ แบนด์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมสถาบัน แต่พวกเขาก็ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน

เบนซ์บอกด้วยว่า การร่วมโครงการทำให้เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากแนวคิดของวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ได้เปิดมุมมองเกี่ยวกับการแต่งเพลง ที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าเนื้อหาของบทเพลงมีบทบาทในการสื่อสาระที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพราะแม้เพลง ร็อค โน แอล ที่เขาส่งมาให้กรรมการพิจารณาคัดเลือกในรอบแรก จะพูดถึงมุมมองที่แตกต่างว่า นักดนตรีร็อคไม่จำเป็นต้องดื่มเหล้า แต่น่าจะหันมาดื่มนมแทน เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย ตอนนั้นพวกเขาคิดแค่ว่า นี่เป็นความคิดสนุกๆ ที่นำมาแต่งเพลงให้มีความแตกต่าง และอาจจะ โดนใจ คนฟังเท่านั้น

ทว่า การเข้าร่วมเวิร์คช็อปทำให้เขาได้ฝึกคิดให้ชัดเจน เพื่อถ่ายทอดความคิดไปสู่ผู้ฟัง เบนซ์ยอมรับว่าพวกเขายังมีจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้ หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมครั้งนี้ พวกเขาต้องกลับไปแต่งเพลงเพื่อจัดทำมินิอัลบั้ม ซึ่งเจ้าตัวยืนยันว่าจะกลับไปสร้างผลงานด้วยแง่คิดและมุมมองที่ต่างไปจากเดิม พวกผมไม่เคยมีอะไรแบบนี้ ทัศนคติที่ว่าเพลงทำให้คนดีขึ้นได้ สังคมดีขึ้นได้ ตอนนี้รับข้อมูลอยู่ เดี๋ยวคงต้องกลับไปคุยกันในวงอีกทีว่า จะแต่งเพลงกันอย่างไร ดูเหมือนสมาชิกก่อตั้งของ ดอกแขม จะยังตั้งตัวไม่ค่อยติดกับสิ่งใหม่ๆ มากมายที่ได้เรียนรู้ในช่วงเวลาอันจำกัด

จิรพรรณ อังศวานนท์ ด้าน จิรพรรณ อังศวานนท์ หนึ่งในคนดนตรี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้แก่โครงการนี้มาตลอด 3 ปี มองว่า ธุรกิจ เป็นตัวการสำคัญที่ทำลายพลังความคิดสร้างสรรค์และความรับผิดชอบทางสังคม ที่นักดนตรีจะสามารถแสดงออกผ่านบทเพลง เขาจึงสนับสนุนกิจกรรมนี้ เพราะเห็นว่าพอจะเป็นช่องทางเพื่อสร้างทัศนคติที่แตกต่างจากแนวคิดกระแสหลักที่ครอบงำคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน

อยากให้เขาขยับจากการคิดเรื่องความรัก เด็กๆ ก็หันมาพูดเรื่องความฝันในชีวิต เราก็พยายามสนับสนุนให้เขาคิดต่อไปอีก ให้มองสังคมแทนที่จะคิดแต่เรื่องของตัวเอง หลายคนเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว เช่น ตั้งคำถามว่า ทำไมบางคนถึงไม่ลุกให้คนแก่คนท้องนั่งบนรถเมล์ หรือวันเสาร์ไม่เที่ยวไม่เมา แต่รีบเข้านอนเร็วๆ วันอาทิตย์จะได้ตื่นไปทำบุญกันดีมั้ย

แน่นอนว่าบทเพลง เพื่อสังคม ในมุมมองของคนยุคนี้ ย่อมแตกต่างจาก เพลงเพื่อชีวิต ในอดีต แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด การคิดและทำเพื่อส่วนรวมไม่เคยล้าสมัย และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องร่วมกันสร้างให้เกิดขึ้นในทุกแวดวงของสังคม

เรื่อง: อิสระ สนามไชย
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Shares:
QR Code :
QR Code