พลังภาคีลดเหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ สร้างสุขภาวะดีให้เยาวชน
ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์จาก โซเชียลแล็บ ประเทศไทย
ภาพประกอบจากข่าวประชาสัมพันธ์จาก โซเชียลแล็บ ประเทศไทย
โซเชียลแล็บ จับมือ สสส. ปลุกพลังภาคีลดเหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ ร่วมสร้างสุขภาวะดีให้เยาวชนไทย มั่นใจกระบวนการห้องปฏิบัติการทางสังคมเกิดนวัตกรรมความมือใหม่ ๆ
จากรายงานสถานการณ์สุขภาวะคนไทย 4 มิติ ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อปี 2560 ที่พบว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยอยู่ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้ยาเสพติด ท้องก่อนวัยอันควร การทำแท้ง ติดเกม การฆ่าตัวตาย และอุบัติเหตุทางรถยนต์ ฯลฯ โดยสถิตคนไทยติดบุหรี่จากจำนวน 10.9 ล้านคน เป็นเยาวชน 1.67 ล้านคน และสถิตินักดื่มอายุ 15 ปี ขึ้นไปมีมากถึง 1.95 ล้านคน ขณะที่ปัญหาเครียด ฆ่าตัวตาย เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งแม้ที่ผ่านมา สสส. จะให้ความสำคัญกับการลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยเสริมสร้างสุขภาพ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาวะเยาวชน แต่ด้วยปัจจุบันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล ก้าวไกลและมีบทบาทมากขึ้น การเฝ้าระวังและลดปัจจัยเสี่ยง ที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนและสังคมนี้จำเป็นจะต้องมีพลังความร่วมมือจากภาคีและเครือข่ายต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง เพื่อให้เยาวชนที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนามีสุขภาวะดี พร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต
ด้วยตระหนักถึงสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน และด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการออกแบบการสร้างผู้นำร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบกว่า 20 ปี และ ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้ก่อตั้งโซเชียลแล็บ ประเทศไทย จึงได้ริเริ่มการขับเคลื่อนสังคม “Imagine Thailand Movement” หรือโครงการพัฒนารูปแบบความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีของเยาวชนไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส. เพื่อปลุกพลังร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวกับประเด็นเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด โรค NCDs และประเด็นอุบัติเหตุ ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของปัญหาทั้งระบบ เห็นบทบาท และศักยภาพ เพื่อนำความรู้ประสบการณ์ มาร่วมกันออกแบบ สร้างทิศทาง รวมถึงทดลองทำงานร่วมกัน โดยใช้ประเด็นสุขภาวะที่ดีของเยาวชนไทยเป็นตัวตั้ง รวมถึงร่วมกันนำเสนอแนวทางใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย
ดร.อุดม หงส์ชาติกุล กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคมที่ภาคีเครือข่ายของสสส. และภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องนั้นจะพบว่า ทุกประเด็นจะเกี่ยวข้องกับเยาวชนทั้งสิ้น จะทำอย่างไรให้แต่ละภาคีเครือข่ายที่ทำเรื่องนี้อยู่แล้วมองเห็นโอกาสมาทำงานร่วมกัน โดยใช้ประเด็นการสร้างสุขภาวะที่ดีของเยาวชนไทยเป็นตัวตั้ง ขยายเพิ่มจากการขับเคลื่อนรายประเด็นตามที่ภาคีมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้วเพื่อให้เกิดพลังร่วม ผู้นำร่วม โดยดึงประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญที่แต่ละภาคีมีอยู่มาขับเคลื่อนร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลที่ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางความท้าทาย จากสื่อโซเซียลที่กำลังคุกคามและสร้างความซับซ้อนให้กับปัญหามากขึ้นทุกวัน
การขับเคลื่อนสังคม Imagine Thailand Movement เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2562 กลไก สำคัญในการขับเคลื่อนครั้งนี้จะมีการใช้กระบวนการห้องปฏิบัติการทางสังคม หรือ โซเชียลแล็บ เพื่อให้ภาคีของ สสส. และ ภาคประชาสังคม เยาวชน ที่เกี่ยวข้อง ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเห็นโอกาส ศักยภาพที่จะร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทย ให้กับประเทศไทย และให้กับเยาวชนไทย คือให้เยาวชนมีสุขภาวะที่ดี มีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง อีกทั้งใฝ่เรียนรู้ พัฒนา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม มีความเป็นผู้นำ และห่างไกลจากอบายมุขสิ่งที่เป็นภัยและเป็นความเสี่ยงทั้งปวง
“มั่นใจว่ากระบวนการห้องปฏิบัติการทางสังคมที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความร่วมมือแบบใหม่ ๆ จะโน้มนำให้แต่ละภาคีเครือข่ายได้เรียนรู้ ตระหนัก และเข้าใจสถานการณ์ บทบาท และเห็นโอกาสและศักยภาพ ในการจับมือร่วมกัน เพื่อทำงานสำคัญที่จะมีผลต่ออนาคตของเยาวชนไทยและสังคมไทยในครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าช่วงแรกของโครงการที่จะเริ่มต้นในกลางปีนี้จะได้เห็นนวัตกรรมและรูปแบบความร่วมมือทางสังคมใหม่ ๆ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้เยาวชนไทย” ดร.อุดม หงส์ กล่าวว่า
นอกจากนี้ ทางโครงการฯ จะได้ชวนภาคีเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวกับการลดปัจจัยเสี่ยงของสังคมในประเด็นที่เกี่ยวกับเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด และอุบัติเหตุ ยังจะได้ชวนเครือข่ายที่ทำงานด้านเยาวชน อาทิกลุ่มเยาวชนปลาดาว สภาเด็กและเยาวชน และภาคีเครือข่ายสื่อมาร่วมขับเคลื่อนด้วย
ทั้งนี้ ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนอยู่แล้ว และอยากเข้ามีส่วนร่วมขับเคลื่อนเพื่อสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีสุขภาวะดี ก็สามารถประสานงานความร่วมมือไปที่ Facebook: Imaginethailandmovement หรือ ติดต่อทีมสื่อสารโครงการได้ 082-995-1415