พลังชุมชนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน

ที่มา : เดลินิวส์ 


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


พลังชุมชนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน thaihealth


เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ กรมการพัฒนาแนวคิดใหม่(มหาชน) (สปสช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดเวทีสานพลังชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561


"ศาสตร์ของพระราชากับปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน" ระหว่างวันที่ 1-3 มี.ค.ที่ผ่านมา น้อมนำศาสตร์พระราชาร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมงาน กว่า 4,000 คน ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะทำงานขับเคลื่อนจังหวัด อย่างน้อย 10 จังหวัด


น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. (สำนัก 3) กล่าวว่า เป้าหมายและยุทธศาสตร์ 10 ปี ของ สสส. โดยแผนสุขภาวะชุมชน สนับสนุนการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศโดยประสานความร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์เจ้าภาพหลักของแต่ละเรื่อง แต่ละประเด็น โดยให้ความสำคัญในขบวนการปฏิรูปประเทศ ได้แก่ การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยใช้พื้นที่เป็นฐานการพัฒนา การแปลงเป้าหมายด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ลงสู่ปฏิบัติการของชุมชน


"เวทีสานพลังชุมชนท้องถิ่นฯ ครั้งนี้หวังจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจ โดยน้อมนำทั้งเครื่องมือ แนวทาง และขั้นตอนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ นำองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและสังคม มาปรับใช้ในระบบปฏิบัติการของชุมชนท้องถิ่นครอบคลุมทุกมิติของสุขภาวะ ชุมชนเกื้อกูลให้มีความยั่งยืน โดยนักวิชาการและเชื่อมขบวนการกับนักขับเคลื่อนการปฏิรูป เกิดเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น"


พลังชุมชนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน thaihealth


นายธวัชชัย ฟักอังกูร ประธานกรรมการบริหาร คณะที่ 3 สสส. กล่าวว่า เมื่อดูหัวข้อปฏิบัติการชุมชนท้องถิ่นยั่งยืน เอาเข้าจริง ๆ สสส. มีแผนสุขภาวะชุมชน มา 8 ปี เป็นแผนปฏิรูปชุมชนให้เข้มแข็ง ในตอนนั้นเริ่มปฏิรูปชุมชนด้วยความยากลำบาก เริ่มต้นจากความเข้าใจตัวเอง เริ่มจากการจัดเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง มาถึงขณะนี้เริ่มเข้าใจว่าชุมชนมีปัญหาอะไร เริ่มรู้สึกว่าเราอยากได้น้ำสะอาด อาหารปลอดภัยมากกว่าถนนคอนกรีต มากกว่าสะพาน


นายธวัชชัย กล่าวต่อว่า ระยะที่ 2 จะใช้แนวทางตามยุทธศาสตร์เดิมให้เข้มข้นนำประสบการณ์และวิชาการมาทำงาน ขณะนี้ได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ซึ่ง 10 สถาบันราชภัฏตอบรับมาร่วมงานโดยเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาของชุมชนก่อน ของประเทศและของโลกตามลำดับ


"สาระสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องไม่พลาดในการทำงาน ต้องมีภาคีเครือข่ายเข้า ไปช่วยงานอาทิ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์"


ทั้งนี้การปฏิรูประบบปฏิบัติการของชุมชนท้องถิ่นสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1. การแก้ไขปัญหาพื้นฐานของแต่ละท้องถิ่น โดยใช้ทุนศักยภาพจัดการตนเอง ประสบการณ์ วิชาการ การเรียนรู้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการ บูรณาการทุกภาคส่วน ผ่านนโยบายสาธารณะ 7+1 คือ 1. บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 2. สวัสดิการสังคม 3. เกษตรกรรมยั่งยืน 4. ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 5. เด็กและเยาวชน 6. สุขภาพชุมชน 7. ภัยพิบัติ 8. ลงทุนด้านสุขภาพ และ 2. การแก้ไขปัญหาของสังคมของประเทศ


นายกฤษฎ์ แก้วรักษ์ กรรมการสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ในฐานะคนกลาง ลำบากใจในการทำหน้าที่ แต่เมื่อท้องถิ่นต้องการเข้าไปแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน กลับสะดุดไปที่หน่วยงานตรวจสอบจากรัฐบาลกลาง


"นโยบายภาครัฐเปลี่ยนแปลงตลอด แต่ท้องถิ่นยังคงอยู่คนกลางลำบากใจโดย เฉพาะการรับนโยบาย อยากให้มองข้ามเรื่องการเมืองแต่ให้มองว่าท้องถิ่นดูแลกันเองด้วยสำนึกในความเป็นคนท้องถิ่น อยาก ให้มี รมต.ว่าการ กระทรวงท้องถิ่น" กรรมการสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศ ไทย กล่าว


ด้าน นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุรี กล่าวว่า การยกระดับคุณภาพชีวิต ต้องให้ท้องถิ่นร่วมกันไม่ใช่กำหนดมาจากส่วนกลาง ประชาชนในท้องถิ่นถูกมองว่าเป็นภาระของประเทศ ซึ่งศาสตร์ของพระราชาถือเป็นพื้นฐานการใช้ชีวิต หากไม่เข้าใจเรื่องของการเข้าถึงจะไปคิดต่อได้อย่างไร ซึ่งผู้บริหารวันนี้ต้องปรับบทบาทใหม่ เปลี่ยนความรู้สึกว่าวันนี้ไม่ได้เป็นนักการมืองต้องเป็นนักประสาน นักบริหารพื้นที่มากกว่า


ด้าน ภัทระ คำพิทักษ์ คณะกรรมการบริหารร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า ในสาระร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้ อปท. ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนรับทราบในแต่ละรอบปี และต้องมีกลไกให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย


ส่วนหนึ่งของความเห็นในเวทีสานพลังชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Shares:
QR Code :
QR Code