พระนักพัฒนา หนุนตำรวจ มอบสื่องดเหล้า

       เครือข่ายพระนักพัฒนาเพื่อสังคมควบคุมปัจจัยเสี่ยง ภาคใต้  ประชุมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานในพรรษา พร้อมลงพื้นที่มอบสื่อรณรงค์ “งดเหล้าให้ครบพรรษา” แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ท่าแพ สื่อสารให้ชุมชนร่วมชวน ช่วย ชมให้คนในชุมงดเหล้าให้ครบพรรษา


/data/content/25609/cms/e_ciqstvwz4578.jpg


       เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ณ ศาลาสังฆะพัฒนา วัดสวนเทศ ต.แป-ระ อ.ท่าแพ จ.สตูล  เครือข่ายพระนักพัฒนาเพื่อสังคมควบคุมปัจจัยเสี่ยง ภาคใต้ ร่วมกับเครือข่ายประชาคมสร้างเสริมสุขภาวะ(คปสส.)และสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) โดยการหนุนเสริมจากสสส. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานพัฒนาสังคมของกลุ่มพระนักพัฒนาระดับภูมิภาค (ภาคใต้ ครั้งที่ ๑) ใน “โครงการเสริมพลังเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาเพื่อสังคมควบคุมปัจจัยเสี่ยง” ขึ้น โดยมีพระสงฆ์และฆราวาสที่ช่วยงานกว่า ๒๐ รูปคน ร่วมประชุมจาก จังหวัดสงขลา สตูล ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา นครศรีธรรมราช ตรังและพัทลุง


       เวทีดังกล่าวได้มีการสะท้อนปัญหาการทำงานของพระสงฆ์ในพื้นที่ เช่น เรื่องขาดการสานร้อยข่ายพระนักพัฒนาอย่างเป็นระบบ การหนุนเสริมหรือเพิ่มเวทีในการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ การสื่อสารการทำงานหรือกิจกรรมดีๆของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นปัญหาดังกล่าวเป็นจุดด้อยตลอดมาของงานสายพระนักพัฒนาในพื้นที่


      ด้วยปัญหาดังกล่าว เครือข่ายฯ ได้มีการเสนอแนวคิดในการหารือร่วมมือการทำงานกันว่า  นอกจากจะเสนอความเห็นหรือพูดถึงปัญหาแล้ว อยากให้ช่วยกันเสนอทางออกด้วย เช่น ปัญหาที่ปัจจุบันนี้ พระบางรูปอยากพูดให้โยมติดอยู่แค่ศรัทธา แต่ไม่อยากให้ฉลาด เพราะกลัวว่าถ้าบ้านฉลาดแล้ว จะทำให้มาทำบุญกับตัวเองน้อยลง ดังนั้น การร่วมกลุ่มผ่านโครงการฯเพื่อทำงานร่วมกันอีกครั้งในตอนนี้  น่าจะพอเป็นเวทีสื่อสารและสร้างพื้นที่ดีๆได้มากขึ้น แม้จะมีปัญหาทางสังคมหลายเรื่องที่ต้องทำเช่น ปัญหาเรื่องน้ำกระท่อมและยาเสพติด  เป็นซึ่งปัญหาสำคัญของเยาวชนภาคใต้ ไม่เว้นแม้แต่ชาวมุสลิม เพราะเชื่อกันว่าน้ำกระท่อมไม่ได้อยู่ในบัญญัติ  แม้ว่าตอนนี้ ผู้นำศาสนาทำเรื่องถึง คสช.แล้ว แต่ก็ยังต้องอาศัยพลังภาคีศาสนาต่างๆในการรับเป็นเจ้าภาพและร่วมกับขยับพร้อมกันให้สังคมได้ตระหนัก ที่สำคัญเรื่องปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่กว่าเหล้า แม้ว่าคณะสงฆ์ภาคใต้ จะเน้นให้เจ้าอาวาสดูแลให้ดี ถ้ามีปัญหา จะไม่ได้เลื่อนหรือพิจารณาสมณศักดิ์ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีการออกแบบแนวทางหรือวิธีการอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก


   /data/content/25609/cms/e_abefkpqrv134.jpg   พระครูสุตพรหมคุณ(มหาบุญนำ) เจ้าคณะตำบลพรหมโลก จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า “ทางออกในการพัฒนาศาสนทายาทคือ ทำเอ็มโอยู มีการประกาศร่วมกันของคณะสงฆ์ ขอให้มีการตรวจสอบคนก่อนบวชว่า ติดยาไหม และจะมีตรวจในพรรษาอีก ๓ ครั้ง และหากมีเรื่องในวัด ก็มอบหน้าที่ให้โฆษกพระให้ข้อมูล และให้พระวินยาธิการจัดการปัญหาต่อ”


      ด้านพระครูปริยัติกิจวิธาน เจ้าคณะตำบลละแม จ.ชุมพร เล่าแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานพัฒนาในพื้นที่ “เราควรพัฒนาให้วัดพูดแทนเรา เวลาเราไม่อยู่วัด โยมมาที่วัดก็เหมือนมาเจอเราเหมือนกัน  ตอนนี้มีแนวคิดใช้สื่อเชิงสัญลักษณ์  เช่น ปฎิมากรรมขวดเหล้าปีศาจ สะท้อนให้ชุมชนเห็นว่า นี่คือตัวทำร้ายสังคมและครอบครัว สิ่งที่ซ่อนอยู่คือ ความต้องการที่จะนำเสนองานที่ตนเองทำ เช่น การทำให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของวัด”


      สำหรับพระครูปลัดวรพล ฐิติคุโณ ประธานคณะทำงานฯ ภาคใต้ วัดสวนเทศ จ.สตูล กล่าวเสริมว่า “การที่เครือข่ายพระสงฆ์ฯ ภาคใต้ มอบป้ายรณรงค์งดเหล้าครบพรรษา ด้วยการไปทำกิจกรรมร่วมกัน มอบป้ายให้ตัวแทนตำรวจติดหน้าป้อมตำรวจสามแยกบ้านสวนเทศนี้ จะทำให้แนวทางการรณรงค์งดเหล้า ให้กำลังใจให้คนที่ตั้งใจงดเหล้าได้งดเหล้าครบพรรษา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยสนับสนุน เพื่อให้สติผู้สัญจรไปมา เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสาร และแสดงให้ชาวบ้านเห็นว่า หน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจก็ให้ความสำคัญและหนุนเสริมโครงการนี้อยู่”


      นายประญัติ เกรัมย์ ผู้ประสานงานโครงการฯ ได้นำเสนอภาพรวมกิจกรรมว่า กิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการฯ นี้ จะทำให้เกิดกลุ่มก้อนพระสงฆ์ใหม่ๆในการหนุนเสริมงานพระรุ่นเดิม ทั้งงานเชิงประเด็นและการสร้างศาสนทายาท พร้อมกันนั้น ก็จะมีการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆในการงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยง ที่สามารถตอบโจทย์สังคมและช่วยลดทอนหรือสะ/data/content/25609/cms/e_abefkpqrv134.jpgกั้นปัญหาให้ที่จะเกิดแก่กลุ่มพระสงฆ์เ เยาวชนและประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนั้น ก็เป็นการสานข่ายกันเข้มมากขึ้นกว่าเดิม รองลงมาคือการสร้างผู้สืบทอด โดยการสรรหาพระรุ่นใหม่และฆราวาสใหม่ๆมาหนุนเสริมงานของพระนักพัฒนาในอนาคต มีกิจกรรมการเดินทางไปดูงานของพระนักพัฒนาที่เข้าร่วมทั่วประเทศไปในแต่ละวัด แล้วมาแลกเปลี่ยนกัน รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานกลุ่มองค์กรต่างๆ เชิงลึก เช่น งานด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องพลังงาน เพื่อให้พระได้เข้ามามีบทบาทร่วมและเข้าใจพร้อมแก้ไขปัญหาสังคม ที่สำคัญคือเน้นยกระดับวัดพระนักพัฒนาที่คัดเลือกแล้ว เป็นศูนย์การเรียนรู้ ๓๐ พื้นที่ และถ่ายทอดให้กับวัดทั้งหมดในโครงการทั้ง ๑๐๐ วัด พร้อมกับขยายผลสื่อสารผ่านมหาวิทยาลัยสงฆ์และสื่ออื่นๆอีกด้วย


      ภายหลังจากจบเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านรณรงค์งดเหล้าและปัจจัยเสี่ยง ฯ เครือข่ายพระสงฆ์พร้อมด้วยคณะทำงานและประชาคมงดเหล้า ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมในชุมชน ด้วยการมอบสื่อไวนิลรณรงค์ “งดเหล้าครบพรรษา พวกเราทำได้” แก่ผู้แทนสภ.อ.ท่าแพ ณ สามแยกหน่วยบริการประชาชนบ้านสวนเทศ ต.แป-ระ อ.ท่าแพ จ.สตูล เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนและประชาชนที่เดินทางระหว่างตรัง-สตูล-หาดใหญ่ ได้เห็น


 


 


      ที่มา: โครงการเสริมพลังเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาเพื่อสังคมควบคุมปัจจัยเสี่ยง

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ