ผู้หญิงยุคใหม่ มั่นใจ ภาคภูมิ
มั่นใจ ภาคภูมิใจ ในความเป็นผู้หญิง
ผู้หญิงยุคใหม่…
สง่างาม มั่นใจ
ทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์
ที่มาจากภายใน
ซึ่งส่งผลต่อบุคลิกภาพภายนอก
ผู้หญิงยุคใหม่… ต้อง
นับถือตนเองและตระหนักในหน้าที่ต่อตนเอง
– มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ยอมรับทั้งข้อดีและข้อด้อยของตนเอง
– ไม่พยายามเป็นอย่างคนอื่น ภูมิใจในสิ่งที่ตนเองเป็น
– ทำสิ่งที่ทำให้ตนเองมีความสุข (โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น)
– ใฝ่รู้และหมั่นพัฒนาตนเอง
– ชื่นชมกับความสำเร็จของตนเองไม่ว่าจะน้อยหรือมาก
– ยอมรับและเรียนรู้เมื่อเกิดความผิดพลาด
– กระตุ้นตนเองให้มุ่งมั่นและมีเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา
ผู้หญิงยุคใหม่…ต้อง
ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญในศักดิ์ศรีของความเป็นผู้หญิง
– เป็นตัวของตัวเอง
– วางตัวให้เหมาะสมตามกาลเทศะ
– ดำเนินชีวิตอย่างมีศีลธรรม
– ไม่ยินยอมให้ใครเอาเปรียบ ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้หญิงและความเป็นหญิง
ผู้หญิงยุคใหม่…ต้อง
ตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อครอบครัว
บทบาทของผู้หญิง ในฐานะ “ลูก”
– กตัญญู ดูแล และไม่ทอดทิ้งบุพการี ทั้งด้านกายภาพและจิตใจ
– มีวิจารณญาณในการยินยอมหรือตามใจบุพการีในสิ่งที่เหมาะสม
บทบาทของผู้หญิง ในฐานะ “แม่”
– ดูแลลูกให้มีสุขภาพดี ทั้งกายและใจ
– อบรมลูกหลานให้สามารถอยู่ในสังคมส่วนรวมได้โดยสุจริต
– สนับสนุนด้านการเรียนรู้ให้ตรงกับความถนัดและศักยภาพของแต่ละคน
– ให้เวลากับลูกๆ เพื่อเรียนรู้ตัวตนของพวกเขา
– ไม่คาดหวังให้ลูกหลานดำเนินชีวิตตามที่ผู้ใหญ่ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงความสุขของพวกเขา
– ให้อิสระแก่ลูกหลานตามวัย และความเหมาะสม
– มีวิจารณญาณในการตามใจในสิ่งที่เหมาะสม
บทบาทของผู้หญิง ในฐานะ “ภรรยา”
– ซื่อสัตย์ต่อคู่ชีวิต
– ตระหนักถึงความเท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชาย สามีและภรรยาต้องแบ่งหน้าที่ในครอบครัวอย่างเหมาะสม
– ยอมรับข้อดี-ข้อเสียของสามี และปรับตัวเข้าหากันได้ โดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง
– ใช้วิจารณญาณในการเห็นคล้อยตามและไม่สนับสนุนให้สามีกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ผู้หญิงยุคใหม่…ต้อง
ตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อหน้าที่การงาน
– รู้รอบขอบข่ายงานในหน้าที่
– ทำงานในหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ
– มีน้ำใจ ไม่เกี่ยงงาน ไม่เอาเปรียบกินแรงผู้อื่น
– ไม่ก้าวก่ายงานในหน้าที่ของผู้อื่น ในกรณีจำเป็นควรให้คำแนะนำ
– ใฝ่รู้ พัฒนาตนเองให้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ และฝึกทักษะใหม่ๆ
ผู้หญิงยุคใหม่…ต้อง
ตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อสังคม
– รู้ขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพในฐานะสมาชิกของสังคม
– ดำเนินชีวิตอย่างมีศีลธรรมและจริยธรรม
– สนใจความเป็นไปของสังคม เฝ้าระวังสิ่งผิดปรกติที่จะมีผลกระทบในด้านลบต่อส่วนรวม
– ไม่ละเลยหรือนิ่งดูดายต่อการรณรงค์ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
– แบ่งปันเวลาและทุนทรัพย์สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมส่วนรวม ตามกำลังและความเหมาะสม
ที่มา: หนังสือคู่มือความปลอดภัยสตรี
Update:16-03-53
อัพเดทเนื้อหาโดย: ณัฏฐ์ ตุ้มภู่