ผลวิจัย แนะจัด แหล่งเรียนรู้สอดคล้องดิจิทัล

ที่มา :  กรุงเทพธุรกิจ


ผลวิจัย แนะจัด แหล่งเรียนรู้สอดคล้องดิจิทัล thaihealth


แฟ้มภาพ


นักวิจัยเผยประชาชนสนใจและใช้บริการแหล่งเรียนรู้ไม่เกิน 20% เด็กไทยสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ 60 % โบราณสถาน วัด โบสถ์ แหล่งเรียนรู้ใช้บริการ 22% หอศิลป์3% ชี้ 40% ได้รับความรู้จากแหล่งเรียนรู้ 36% แนะจัดแหล่งเรียนรู้แบบเปิดสอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคดิจิทัล


โครงการวิจัย "รายงานประสิทธิผลของแหล่งการเรียนรู้:การแผยแพร่และการนำมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ" โดยทีมคณะวิจัย นำโดยนางสาวสุวิมล ว่องวาณิช อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย ที่ได้รับ การสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ได้รายงานผลการวิจัย จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร ครูอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป และผู้รับผิดชอบบริหารแหล่งการเรียนรู้


รวมถึงมีการตรวจเยี่ยมในพื้นที่จากกรณีศึกษาที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ 8 ประเภทคือ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์ การกีฬาและนันทนาการในจังหวัดต่างๆ 13 จังหวัด รวมแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นกรณีศึกษาจำนวน 78 แหล่ง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต สนทนากลุ่ม และสำรวจทางออนไลน์ รวมทั้งหมด 8,100 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางสถิติ


นางสาวสุวิมล เล่าว่านิสัยการเรียนรู้ พบว่า ผู้บริหารและครูอาจารย์ 83% สนใจหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาสนใจเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมมี 60 % ประชาชนใช้แหล่งเรียนรู้ ไม่เกิน 20%สนใจและใช้บริการโบราณสถาน วัด โบสถ์ มี 22% ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 15% สวนสาธารณะ 11% ศูนย์กีฬา 7% สวนพฤกษศาสตร์ 4% ใช้บริการน้อยที่สุด คือ หอศิลป์ 3%


พบว่า 40% ได้รับความรู้จากการใช้ แหล่งการเรียนรู้ 36%ได้รับความสุข ความประทับใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ และ 52% เห็นว่าศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งที่ให้ ความรู้ใหม่ๆ และ 40% ได้รับความรู้ด้านอาชีพด้วย


นอกจากนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ใช้แหล่งการเรียนรู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่อาศัย เช่นศูนย์กีฬา ห้องสมุด สวนสาธารณะ ส่วนแหล่งการเรียนรู้ที่ผู้อยู่นอกพื้นที่มาใช้บริการ จะมาแหล่งเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 44% สวนพฤกษศาสตร์ 41.7 % อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 35.3% และด้านทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต


จากงานวิจัย พบว่าโรงเรียนและครอบครัว เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะครอบครัว ที่จะมีส่วนอย่างมากในการสร้างทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งงานวิจัยได้มี ข้อเสนอแนะให้พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ในชุมชน แหล่งการเรียนรู้แบบเปิดสอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคดิจิทัล

Shares:
QR Code :
QR Code