‘ปั่นเมือง’ ปัญญาจากฝูงชน

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


\'ปั่นเมือง\' ปัญญาจากฝูงชน thaihealth


แอพพลิเคชั่น "ปั่นเมือง" ได้ฟังแค่ชื่อก็พอเดา ได้ว่าเป็นเรื่องราวของจักรยาน แต่มีความพิเศษตรงที่ฐานข้อมูลในแอพพลิเคชั่นมาจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง โดยวิธีจัดทำข้อมูลที่เรียกว่า Crowdsourcing หรือ "ปัญญาจากฝูงชน" เริ่มต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร


"ปั่นเมือง" ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด "เครื่องมือสร้างเมืองจักรยานภาคประชาชน ภายใต้โครงการพลเมืองเปลี่ยนกรุง ของมูลนิธิโลกสีเขียว จากการสนับสนุนของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดให้ใช้แอพพลิเคชั่นฟรี รองรับการใช้งานมือถือสมาร์ทโฟน ทั้งระบบแอนดรอยด์ และไอโอเอส


นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะสสส. กล่าวว่า แอพพลิเคชั่น "ปั่นเมือง" จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเมืองจักรยานสอดคล้องการทำงานของสสส.ที่มุ่งส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน


ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์มูลนิธิโลกสีเขียว กล่าวว่า ข้อมูลที่ปรากฏในแอพพลิเคชั่น ต่อยอดมาจากความต้องการการปรับปรุงข้อมูลในหนังสือ BANGKOK BIKE MAP แผนที่ปั่นเมือง : คู่มือหาเส้นทางจักรยาน กรุงเทพมหานคร ที่มูลนิธิฯจัดพิมพ์ไว้เมื่อปี 2555 ให้มีความทันสมัย โดยแบ่งเส้นทางจักรยานออกมาเป็น 2 ประเภทหลักคือ เส้นสีเขียว หมายถึงเส้นทางปั่นเลี่ยงรถยนต์ เส้นสีม่วง หมายถึงเส้นทางปั่นร่วมรถยนต์


นอกจากข้อมูลเรื่องเส้นทางจักรยานแล้วภายในแอพ ได้บรรจุข้อมูลพิกัดร้านซ่อมจักรยาน ร้านขายจักรยาน ช่วยสร้างความมั่นใจว่าหากจักรยานเสีย ต้องเติมลมหาร้านซ่อมในระยะที่ใกล้สุดได้จุดไหน  รวมถึงจุดจอดจักรยาน  นอกจากบ้านและที่ทำงานแล้ว  การหาจุดจอดจักรยานที่อุ่นใจได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แอพทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้จริง\'ปั่นเมือง\' ปัญญาจากฝูงชน thaihealthอัพเดทไว้ตลอดเวลา


นอกจากข้อมูลดังกล่าวแล้วยังได้แอพประสานข้อมูลสถานีจักรยานสาธารณะ "ปันปั่น" ทำให้แอพปั่นเมืองสามารถเช็กจำนวนจักรยานที่จอดว่างของแต่ละสถานีได้ตลอดเวลา บางครั้งการใช้จักรยานแบบยืมคืนก็มีความสะดวกไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลรักษา


นอกจากข้อมูลด้านการส่งเสริมการใช้จักรยานเพื่อสัญจรแล้ว มองว่าข้อมูลด้านอุปสรรคในการปั่นจักรยาน ไม่ว่าจะเป็นฝาท่อที่เป็นร่อง ทำให้ล้อจักรยานเข้าไปติด หรือฟุตปาธที่ไม่มีทางลาดทำการปั่นสะดุดลง หรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้


ผู้ใช้แอพสามารถป้อนข้อมูลแอพฯได้ว่าในเส้นทางปั่นพบเจออุปสรรคใดบ้างโดยแบ่งหมวดหมู่ไว้ 4 ประเภทคือ 1.สิ่งกีดขวางจักรยานหรือทางเท้า 2.พื้นผิวทาง 3.การจัดการจราจร 4.ร่มเงาและแสงสว่าง


'แอพพลิเคชั่นเป็นเครื่องมือประเภท ปัญญาจากฝูงชน เปิดให้ผู้ใช้ร่วมกันเพิ่มเติมข้อมูลฐานทั้งด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและรายงานอุปสรรคการสัญจรต่าง ๆ ตลอดจนร่วมกันแก้ไข ยิ่งมีข้อมูลมากยิ่งทำให้มีฐานข้อมูลใหญ่" ศิระย้ำถึงจุดแตกต่างของแอพพลิเคชั่นนอกจากนี้ข้อมูลด้านปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ จะถูกส่งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สำนักการจราจรและขนส่งสำนักงานการโยธา ของกรุงเทพมหานคร  (กทม.) ขณะเดียวกันหากพิจารณาแล้วปัญหาไหนสามารถแก้ไขได้ในระดับบุคคล ชุมชน ก็จะนัดหมายร่วมกันแก้ไข ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาโดยภาคประชาชนอย่างแท้จริง


โตมร ศุขปรีชา นักคิด นักเขียน และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร GM กล่าวเสริมว่า รูปแบบการเก็บข้อมูล ปัญญาจากฝูงชน เป็นข้อมูลที่โลกไม่เคยมี ในฐานะคนทำสื่อเมื่อต้องการทำสารคดีจะใช้ความคิดของตัวเอง สรุปเอง หรือไปสัมภาษณ์นักวิชาการ แต่วิธีการนี้เป็นสิ่งใหม่ที่เป็นแนวโน้มของโลก เรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม\'ปั่นเมือง\' ปัญญาจากฝูงชน thaihealthจะมีฐานข้อมูลที่ใหญ่มากขึ้น ได้เห็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองชัดขึ้น และได้รู้ความต้องการของผู้ใช้จักรยานจริง ๆ


กรุงเทพมหานคร แม้จะเป็นเมืองใหญ่ที่มีรถรา เต็มท้องถนน แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีตรอกซอกซอยและทางในชุมชนที่เหมาะกับการปั่นจักรยานอยู่มากแอพพลิเคชั่นจะช่วยรวมข้อมูลสะท้อนให้กับภาครัฐได้


ตัวอย่างความผิดพลาดของการสร้างทางจักรยาน โดยขาดการศึกษาอย่างรอบด้านของกทม. ถูกเปิดเผยเมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ลงไปตรวจสอบพบว่าเส้นทางจักรยานบางเส้นมีคนใช้ไม่ถึง 10 คน บางเส้นทางกลายเป็นที่ขายของไปแล้ว ขณะที่ กทม.ใช้งบประมาณสร้างทางจักรยานในปี 57-58 เฉียด 55 ล้านบาท รวมระยะทาง 364.64 กม. ในถนน 54 สาย ประมาณการว่างบประมาณที่ใช้สร้างทางจักรยานไม่คุ้มค่าสูงถึง 28 ล้านบาท


คนใช้จักรยานไม่ต้องการทางจักรยานที่มาจากการใช้เงินภาษีของประเทศที่ไม่คุ้มค่าเช่นกัน

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ