ปลูกฝังเยาวชนคนสงขลา รักษามรดกเรา ก้าวสู่มรดกโลก

ที่มา : คมชัดลึก


ภาพประกอบจากเว็บไซต์อาศรมศิลป์


ปลูกฝังเยาวชนคนสงขลา รักษามรดกเรา ก้าวสู่มรดกโลก thaihealth


ปลูกฝังเยาวชนคนสงขลา รักษามรดกเรา ก้าวสู่มรดกโลก


จากลูกหลานชาวจีนผู้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่สงขลา วันนี้ จักรกฤษณ์ ภัทรนิตย์ วัย 69 ปี ทำหน้าที่เป็นประธานชุมชนเก้าห้องหนองจิก ที่เมืองเก่าสงขลา ด้วยความรักและเห็นคุณค่าในแผ่นดินที่บรรพบุรุษได้มาลงหลักปักฐาน และความหวังว่าวันหนึ่งเมืองเก่าสงขลาจะได้ประกาศตัวในฐานะเมืองมรดกโลก


"เมืองสงขลาในอดีตน่าทึ่งมาก นึกถึงภาพอดีตเช่นภาพประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ เป็นประตูที่เราภาคภูมิใจที่เสด็จพ่อ ร.5 เสด็จฯ ผ่านประตูนี้ และเป็นประตูที่ชาวจีนแต่แรกยังจำภาพประตูนี้ได้ เพราะเมื่อล่องเรือจากเมืองจีนมาขึ้นที่สงขลา จะต้องผ่านประตูนี้ ปัจจุบันประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ ก็คือถนนหนองจิกนั่นเอง"


ปลูกฝังเยาวชนคนสงขลา รักษามรดกเรา ก้าวสู่มรดกโลก thaihealth


ประธานชุมชนเก้าห้องหนองจิก ให้ข้อมูลแก่เยาวชนจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ที่มาถ่ายทอดเรื่องราวของเมืองเก่าสงขลา ผ่านการถ่ายทำวิดีโอคลิป เรื่องภาพเก่า เล่าความทรงจำ ที่ถ่ายทำและตัดต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือที่เรียกว่า MOJO (Mobile Journalism) โดยสถาบันอาศรมศิลป์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และแผนงาน สื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "สื่อสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเมือง" เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในสงขลาได้เรียนรู้คุณค่าของเมือง จากคนในชุมชนสงขลาด้วยกันเอง และถ่ายทอดในมุมมองของคนรุ่นใหม่เป็นวิดีโอคลิป เพื่อสื่อสารความเป็นพลเมืองรักษ์สงขลาอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเด็ก เยาวชน และครูอาจารย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และกลุ่มภาคีเครือข่ายพลังครูรักษ์สงขลา โรงเรียนมหาวชิราวุธ โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เข้าร่วมโครงการกว่า 80 คน


ปลูกฝังเยาวชนคนสงขลา รักษามรดกเรา ก้าวสู่มรดกโลก thaihealth


นอกจากนี้ ยังมีวิดีโอคลิป เรื่อง 10 อันดับที่น่าสนใจ โดยทีม MoJo ม.ทัก จากมหาวิทยาลัยทักษิณ เรื่อง คุณค่าความดีของคนดีชุมชนมัสยิดบ้านบน โดยทีมภาคีครูรักษ์สงขลา เรื่อง สามความต่าง รวมเป็นหนึ่ง จากทีมพหุยืนหนึ่ง โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) และการสร้างสรรค์เรื่องราวของเมืองเก่าสงขลา เป็นบอร์ดเกม และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเมืองเก่าด้วย


* ปลุกพลังคนสงขลา รักษารากแก้ว ของเมือง


อาจารย์อภิษฎา ทองสอาด ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา สถาบันอาศรมศิลป์ หัวหน้าโครงการในครั้งนี้ กล่าวว่า หากเยาวชนได้รู้จักและเห็นคุณค่าของเมือง จะทำให้การอยู่ในเมืองของเขามีความหมาย เกิดเป็นความรักและนำมาสู่การรักษาคุณค่าของเมือง จึงเป็นที่มาของการทำงานกับเยาวชน ผ่านสถาบันการศึกษา โรงเรียนมหาวิทยาลัย และชุมชนเพื่อสานต่อการรักษารากแก้วของเมืองให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป


ปลูกฝังเยาวชนคนสงขลา รักษามรดกเรา ก้าวสู่มรดกโลก thaihealth


โดยมีเป้าหมายที่จะขยายผลการสร้างการเรียนรู้ของชุมชนและการปลูกฝังจิตสำนึกการเห็นคุณค่าและการสืบสานรักษามรดกวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลา ผ่านการผลิตสื่อสร้างสรรค์ อันจะเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเป็นผู้เท่าทันสื่อในยุคปัจจุบัน และสามารถใช้สื่อสร้างการเรียนรู้ ความรักความเข้าใจกันให้แก่คนสงขลาอีกทางหนึ่งด้วย


* เดินหน้าสู่เมืองมรดกโลก


เมืองเก่าสงขลา เป็นย่านประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานมากว่า 400 ปี ผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลายยุคสมัย มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทั้งแขก จีน และไทย เป็นต้น จึงเป็นเมืองเก่าที่มีลักษณะเด่นทางพหุวัฒนธรรม ดังคำที่คนในเมืองกล่าวกันว่า "สามหลักประสานเกลียว เป็นหนึ่งเดียวในบ่อยาง" รวมทั้งมีหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและการตั้งถิ่นฐาน ที่ชัดเจน


ปลูกฝังเยาวชนคนสงขลา รักษามรดกเรา ก้าวสู่มรดกโลก thaihealth


อย่างไรก็ตาม สงขลาก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับย่านเก่าหลายแห่ง ในประเทศ คือ เกิดการละทิ้งถิ่นฐาน เศรษฐกิจซบเซา ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่จะนำไปสู่การสูญเสียของภูมิปัญญาพื้นถิ่น ซึ่งเป็นคุณค่าแท้ของเมือง จึงเป็นเหตุให้คนในพื้นที่รวมตัวกันขับเคลื่อนเมืองสงขลา โดยตั้งเป้าหมายสู่การเป็นเมืองมรดกโลก โดยหวังว่าจะให้เมืองสงขลา อยู่รอดอย่างทรงคุณค่าและยั่งยืน


"ความเป็นมรดกโลกต้องมีความร่วมมือร่วมใจ ทุกคนทุกหน่วยงาน ต้องมาช่วยกันค้นหาและรักษาไว้ เป็นความฝันสูงสุด แต่ถ้าไม่เป็นก็ไม่เป็นไร ขอให้เป็นมรดกเรา มรดกเมือง มรดกชาติ เราก็ภูมิใจแล้ว" จักรกฤษณ์ กล่าวทิ้งท้ายไว้กับเยาวชนคนสงขลารุ่นใหม่

Shares:
QR Code :
QR Code