ปลูกผักพื้นบ้าน สร้างรายได้
ที่มา : แฟนเพจสุขภาวะชุมชน จาก หนังสือ "ร่วมสร้างบ้านในดงให้ลงตัว"
ภาพประกอบจากแฟนเพจสุขภาวะชุมชน
ผ่านไปมาในตําบลบ้านในดงก็สังเกตเห็นผักหน้าตาแปลกประหลาดอยู่หลายจุด ชวนให้สงสัยว่าปลูกไว้โชว์ หรือปลูกไว้กินกันแน่ จนได้รู้ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มปลูกผักพื้นบ้าน แต่ผักเหล่านี้ส่วนใหญ่ปลูกเป็นอาหารตา มากกว่าที่จะเป็นอาหารท้อง
'ปิยะวัฒน์ คํามูล' เป็นเกษตรตําบลและที่ปรึกษากลุ่มผักพื้นบ้าน ไปช่วยราชการที่โครงการชั่งหัวมันตั้งแต่ปี 2554 จนถึงประมาณปี 2556 โดยเข้าไปช่วยวางแผนผังการปลูกพืช ตอนนั้นมีสับปะรด ไม้ผลอื่นๆ กับพืชผักสวนครัวทั่วไป เลยอยากเอาของแปลกๆ มานําเสนอ เลยลองสร้างซุ้มปลูกผักทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงสุ่มไก่ แล้วหาพันธุ์พืชแปลกๆ จากศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี แหล่งท่องเที่ยวบึงฉวาก สํานักงานส่งเสริมเกษตรภาคใต้ จังหวัดสงขลา แล้วยังมีของที่อุบลราชธานี กาญจนบุรีด้วย
ช่วงหลังพี่ปิยะวัฒน์ไปช่วยงานที่โครงการสัปดาห์ละ 2 วัน เขาจึงเริ่มมีเวลามากขึ้นเลยลองปลูกผักพื้นบ้านหน้าตาแปลกๆ ที่ท้องตลาดไม่มีเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ขาย และได้ลองหารือกับร้านโกลเด้นเพลส จนได้บทสรุปที่น่าพอใจ มีการทําแพ็คเกจไปเสนอ โดยทางร้านคิดค่าวางขายร้อยละ 25
พี่ปิยะวัฒน์เริ่มรวมกลุ่มทําธุรกิจนี้ตั้งแต่ปี 2557 ช่วงก่อตั้งมีสมาชิก 10 กว่าคน ไม่มีการรวมหุ้น กระจายกันไปปลูก กระทั่งในปี 2559 จึงจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักพื้นบ้านในดง พืชผักที่ปลูกมีตั้งแต่นํ้าเต้า ดอกชมจันทร์ มะเขือยักษ์ มะเขือกินใบ มะเขือจาน มะรุม หอมยาว ฟักยักษ์ฟักข้าว บวบ กระเจี๊ยบขาว หมามุ่ยอินเดีย แคแดง แคขาว เน้นปลูกตามฤดูกาล เมื่อผลผลิตได้ที่ เก็บเมล็ดพันธุ์ นํามาล้าง ตากให้แห้ง แล้วจ้างคนบรรจุ
นอกเหนือจากร้านโกลเด้นเพลส กลุ่มยังเปิดช่องทางการตลาดผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย โดยสมาชิกที่นําเมล็ดมาขายจะถูกหักร้อยละ 20 เพื่อเข้าบัญชีกลุ่มไว้ พยายามให้สมาชิกปลูกอะไรที่ไม่ซํ้ากัน บางคนปลูกสําเร็จ บางคนก็ไม่ ตอนนี้มีเมล็ดพันธุ์ประมาณ 30 ชนิด ซองหนึ่งขาย 35 บาท ส่วนถ้าซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตจะถูกลงเหลือเพียง 20 บาท