ปลูกกล้าน้อยกลางเมืองแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน

ปลูกกล้าน้อยกลางเมืองแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน thaihealth


แฟ้มภาพ


การเรียนรู้ของเยาวชนในสถานศึกษา ยังมีจุดบกพร่องอีกมากมาย ที่นักการศึกษาจะต้องคำนึง แม้ว่าจะมีการปฏิรูปการศึกษากันมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่า ช่องว่างที่ปรากฏอยู่ในแวดวงการศึกษา ยังไม่เคยถูกถมให้เต็มอย่างสมบูรณ์เลยสักครั้ง โดยเฉพาะ ในเรื่องของการปลูกฝังด้านสุขอนามัยให้กับเยาวชนของชาติ


ทุกวันนี้เราจะพบว่าเด็กและเยาวชนของเรา ที่เติบโตมาในเมือง ท่ามกลางกระแสการบริโภคแบบทุนนิยม ทำให้พวกเขารู้สึกคุ้นชินกับการบริโภคอาหารจานด่วน ปฏิเสธผัก ผลไม้ โดยมีสาเหตุสำคัญคือ การขาดความรู้ เรื่องอาหาร และที่มาของอาหาร และไม่เพียงพบลักษณะนี้ ในเด็กเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ที่เกี่ยวข้องด้วย


ดังนั้นการเชื่อมโยงเรื่องสวนผักกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กจะมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ บริโภคของเด็กได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจให้เด็กด้วย รวมไปถึง ผู้ที่ทำงานกับเด็ก ได้ตระหนักถึงความสำคัญ เห็นแนวทาง และต้นแบบในการทำเชื่อมโยงเรื่องของผักกับกระบวน การเรียนรู้ให้เด็กมากปลูกกล้าน้อยกลางเมืองแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน thaihealthขึ้นอีกด้วย


นางสุภา ใยเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรม ยั่งยืน (ประเทศไทย) กล่าวในงาน เทศกาลสวนผักคนเมือง ตอน ปลูกกล้าน้อยกลางเมือง ตามโครงการสวนผักคนเมือง ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ว่า การปลูกผักไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญของผู้ใหญ่เท่านั้น เพราะจากปัญหาการบริโภคผักที่น้อยลงของเยาวชนไทย สะท้อนให้เห็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องพัฒนาให้เด็กเข้าใจว่าผักมีความสำคัญผ่านการลงมือเรียนรู้การปลูกผักจริง เพราะการปลูกผักเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพื้นที่ สีเขียว สร้างคุณภาพการกิน และวิถีชีวิตที่ดีมีคุณภาพได้ ซึ่งโครงการสวนผักคนเมืองจะเป็นส่วนหนึ่งในการพยายามสนับสนุนสร้างพื้นที่การเรียนรู้เพิ่มขึ้นในหลายช่องทาง เพื่อให้คนไทยเข้าถึงที่มาของอาหารปลอดภัยเพิ่มยิ่งขึ้นต่อไป


นางพอทิพย์ เพชรโปรี หรือ ป้าหน่อย เจ้าของ บ้านสวนเรียนรู้ Organic Way กล่าวถึงเรื่องการจัดกระบวน การเรียนรู้เรื่องสวนผักกับเด็กภายในงาน ว่า กลุ่มผู้สนใจให้เด็กเข้ามาเรียนรู้กับเรา มีทั้งเป็นครอบครัว และโรงเรียน มักจะให้เหตุผลที่พาเด็กมาเรียนรู้ว่า "อยากให้เด็กกินผัก" ทำให้มีคำถามตามมาว่า "เมื่อผู้ใหญ่อยากให้กิน แต่เด็กไม่อยากกินจะต้องทำอย่างไร"


ป้าหน่อย ขยายความให้ทราบต่อไปว่า เมื่อความคิด ของเด็กสวนทางกับผู้ใหญ่ การสร้างกระบวนการการเรียนรู้ จึงต้องให้เด็กเป็นที่ตั้ง คำนึงถึงพัฒนาการของแต่ละวัย ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ลองทำ ให้ความสำคัญในการออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันกับเด็ก เช่น การปลูกผักกาด ลองให้เด็กได้เขียนคำถามที่เกิดขึ้น ต่อผักกาด แล้วนำมาพิจารณา จะเข้าใจว่าอะไรคือ สิ่งที่เด็ก อยากรู้ เมื่อเด็กได้เรียนรู้จากความอยากรู้อยากเห็นของ ตนเอง ทำให้มีความสุข เกิดทัศนคติที่ดีต่อผัก จนกลายเป็น เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง


ป้าหน่อย ยืนยันหนักแน่นว่า จุดเริ่มต้นที่จะทำให้เด็กเริ่มหันมากินผักได้นั้น ต้องเริ่มต้นจากที่บ้าน นอกจากการเรียนรู้ปลูกกล้าน้อยกลางเมืองแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน thaihealthที่มาของผัก สิ่งสำคัญที่พ่อ-แม่ต้องทำ คือ การจัดโต๊ะอาหารที่มีผักสดอยู่ทุกมื้อ และกินผักเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น จะช่วยให้เด็กซึมซับการกินผัก นำผักที่ร่วมกันปลูกมาประกอบอาหาร เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วน ในการคิด เลือกเมนูจะช่วยให้ลูกรู้สึกดีกับผักมากขึ้น ร่วมลงมือทำ จะช่วยให้เด็กเริ่มมีนิสัยการกินผักได้เอง


เมื่อกระบวนการเรียนรู้จากสถาบันการศึกษา ยังไม่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมองเห็น ความสำคัญในคุณประโยชน์ของผักอย่างจริงจัง "ปานมณี" ว่า เราในฐานะผู้ปกครองที่อยากเห็นพัฒนาการที่สมบูรณ์ของลูกหลาน น่าจะหันมาช่วยตัวเองอย่างที่ "ป้าหน่อย"แกพูดก็ดีเหมือนกันนะคะ


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Shares:
QR Code :
QR Code