ปลุกอีสานสร้างชุมชนน่าอยู่ นำร่อง 20 จังหวัด

ปลุกอีสานสร้างชุมชนน่าอยู่ นำร่อง 20 จังหวัด thaihealth


แฟ้มภาพ


สสส. ปลุกพลังอีสานสร้างชุมชนน่าอยู่ คัดเลือกต้นแบบนำร่อง20จังหวัด


เมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงแรมเจริญธานี จ.ขอนแก่น สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเครือข่ายชาวบ้านชุมชนน่าอยู่ภาคอีสาน ร่วมกันจัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่อีสาน "ฮักแพง แบ่งปัน อีสานสร้างสุข ปี 2" ขึ้น เพื่อนำเสนอผลงานและความสำเร็จของการทำงานร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ภาคอีสาน รวมทั้งเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานระหว่างชุมชนเพื่อยกระดับการทำงานให้ชุมชนเข้มแข็ง น่าอยู่ยิ่งขึ้น


ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม กล่าวว่า การทำงานสร้างชุมชนให้น่าอยู่ของ สสส. ใช้โมเดล "สภาชุมชนเข้มแข็ง" โดยกำหนดให้ทุกชุมชนจัดตั้งคณะกรรมการสภาชุมชน ที่เป็นตัวแทนคนในชุมชน ทั้งเด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้นำตามธรรมชาติ ผู้นำในระบบ อสม. กลุ่มสตรี หรือกลุ่มอื่นๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมคิดปัญหา ผลกระทบ และแนวทางที่จะนำสู่การอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชน แล้วลงมติยึดถือปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้ปลุกอีสานสร้างชุมชนน่าอยู่ นำร่อง 20 จังหวัด thaihealthคนในชุมชนได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็น และร่วมกันแก้ปัญหาในชุมชนของตัวเอง


นายสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านจาก จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ปัจจุบันภาพความสุขของคนอีสานได้หายไป อีสานเปลี่ยนไป 99% ทั้งที่แผ่นดินอีสานเต็มไปด้วยทรัพยากร คนอีสานทำร้ายตัวเอง เผาฟาง เผาแม่ธรณี หว่านปุ๋ยเคมี ฉีดยาฆ่าหญ้า ทำนาด้วยมือถือ แล้วออกจากถิ่นฐานตัวเอง ซึ่งถ้าวันหนึ่งหวนกลับมาก็ทำอะไรไม่เป็น เหมือนคนเป็นง่อย เพราะได้ทิ้งองค์ความรู้ไปหมดแล้ว ทางออกคือคนอีสานต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนการ กระทำ อีสานจึงจะอยู่รอด


นายอวยพร พิศเพ็ง หัวหน้าทีมสนับสนุนวิชาการภาคอีสาน กล่าวว่า หากคนอีสานใช้ชีวิตแบบเดิมๆ เท่ากับการเดินเข้าไปสู่กับดัก วันที่อุตสาหกรรมปิดตัว ลูกหลานกลับคืนถิ่น สิ่งที่ทำคือการขายที่นา วันนี้คนอีสานต้องเปลี่ยนวิธีคิด ลุกขึ้นมาจัดการตัวเอง ชุมชนอีสานจึงจะอยู่รอด


นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอเคล็ดลับการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ในเรื่อง วิถีเกษตรพอเพียง ปลอดสารเคมี การลดละเลิกเหล้า เยาวชนช่วยสร้างชุมชนน่าอยู่ และชุมชนน่าอยู่ด้วยการจัดการขยะ จากตัวแทนชุมชน ที่ทำงานเพื่อเปลี่ยนชุมชนที่เต็มไปด้วยปัญหาให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยคัดเลือกชุมชนต้นแบบในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสาน จำนวน 38 ชุมชน จากทั้งหมด 168 ชุมชน


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

Shares:
QR Code :
QR Code