ปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุข

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข


ภาพประกอบจาก สสส.


ปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุข


สสส. จับมือ อิมเมจิน ไทยแลนด์ฯ ปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน ดึง ศิลปินแห่งชาติ – ปราชญ์ – ผู้นำชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุข 


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ อิมเมจิน ไทยแลนด์ มูฟเมนท์ จัดกิจกรรมขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ เปิดห้องปฏิบัติการปลุกพลังผู้ก่อการดี  8 ชุมชน ภายใต้โครงการ “พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ” สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน 


ปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุข


ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้นำการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ Imagine Thailand Movement สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า เป้าหมายการจัดกิจกรรมต้องการเห็นคนไทยมีสังคมสุขภาวะ “Well being society” เพื่อป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” เข้ามามีอิทธิพลด้านลบต่อการใช้ชีวิต จนส่งผลกระทบกับเด็กและเยาวชน ผ่านการถอดบทเรียนสร้างพื้นที่สุขภาวะ ที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างวัย สร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยเสี่ยง เช่น เหล้า บุหรี่ สารเสพติด ให้มีความพร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ โดยปี 2565 มีพื้นที่ต้นแบบ 8 ชุมชนที่เข้าร่วม ได้แก่ 1.ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จ.นครปฐม 2.ชุมชนวัดโพธิ์เรียง กรุงเทพมหานคร 3.ศูนย์การเรียนรู้เสริมทรัพย์ ต.เจดีย์ชัย จ.น่าน 4.ศูนย์การเรียนรู้ลำตัดหวังเต๊ะ – คุณแม่ศรีนวล ขำอาจ จ.นครปฐม 5.ชุมชนบ้านท่ามะพร้าว จ.กระบี่ 6.สวนศิลป์บ้านดิน ชุมชนเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี 7.โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ 8.ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว จ.นครปฐม 


ปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุขปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุข


“กิจกรรมครั้งนี้นำกระบวนการชื่อ ห้องปฏิบัติการทางสังคม Social Lab ชวนให้ผู้นำในพื้นที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อทำให้มองเห็นโอกาสในชุมชนของตัวเอง และดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ภูมิปัญญา วัฒนธรรม กีฬา วิถีการทำเกษตร ประวัติศาสตร์ จุดท่องเที่ยว ความรู้ พร้อมสร้างคนที่มีจิตอาสาเป็นผู้ก่อการดี มาวาง Road Map เพื่อพัฒนาขับเคลื่อนด้วยกันต่อไป” ดร.อุดม กล่าว


ปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุข


ครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ผู้ก่อตั้งโรงเรียนภัทราวดี หัวหิน กล่าวว่า “ศิลปศาสตร์” สามารถขับเคลื่อนโรงเรียนให้เป็น Education Hub  ที่เปิดพื้นที่ให้โรงเรียนในระบบและนอกระบบได้ทุกเพศ ทุกวัย เพราะองค์ความรู้ “ศิลปศาสตร์” เป็นจุดแข็งและต้นทุนสำคัญที่พัฒนาเด็กและเยาวชนได้ โดยกิจกรรมที่ดำเนินการตอนนี้ คือ “Walk Rally” ที่ชวนเด็กนักเรียนชั้นมัธยมและประถมมารู้จักโรงเรียนที่ใช้ศิลปะขับเคลื่อน โดยมีภารกิจหลัก 6 ข้อ ดังนี้ 1.จัดกิจกรรมที่พัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา 2.จัดกิจกรรมที่พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการและพื้นฐาน วิชาชีพอย่างเต็มศักยภาพ 3.จัดสภาพแวดล้อมสื่อและบรรยากาศการเรียนการสอน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ศิลปศาสตร์สื่อสารถ่ายทอดและเสริมความรู้ความเข้าใจในแต่ละวิชา 4.พัฒนาครูให้มีศักยภาพ ในการนำหลักการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักของกระทรวงศึกษาธิการ มาบูรณาการให้เกิดนวัตกรรมการเรียนการสอน 5.จัดทำหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลา และการจัดการเรียนรู้ และ 6.จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่มุ่งการศึกษาแบบเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ 


ปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุขปลุกพลังผู้ก่อการดี 8 ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องกัน “โซเชียลมีเดีย” ทำร้ายเด็ก-เยาวชน เข้าสู่วงจรอบายมุข


“การใช้ศิลปศาสตร์ในการเรียนรู้ จะทำให้เด็กและเยาวชนค้นพบความถนัดของตัวเอง สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถไปถึงขีดสุดแห่งศักยภาพได้ เพราะศิลปะทำให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking จึงยินดีอย่างยิ่ง ที่หลายภาคส่วนมาช่วยกันสร้างเด็กและเยาวชน ที่เปรียบเสมือนดอกไม้เล็กๆ ให้เติบโต ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก Imagine Thailand Movement” ครูเล็ก ภัทราวดี กล่าว

Shares:
QR Code :
QR Code