ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 18 "บุหรี่เผาปอด"
ที่มา : ไทยโพสต์
ภาพโดย สสส.
คีย์แมน สธ. สสส. ศจย.มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ฯ จัดบุหรี่เผาปอด : The Tobacco Endgame in Thailand
ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 18 Theme WHO "บุหรี่เผาปอด" สสส. กระทรวงสาธารณสุข ศจย. มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ภาคีเครือข่ายจัด รร.เซ็นทราฯ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ คุณเลือกได้ ควันบุหรี่สาเหตุมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง วัณโรคปอด คีย์แมนสาธารณสุขประกาศก้อง The Tobacco Endgame in Thailand หมอเบิร์ทอภิสมัย MC ในงาน สิงห์อมควันไทย 10.7 ล้านคน เสียชีวิตเฉียด 6 หมื่นคน/ปี แม่สูดควันลูกในท้องเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด เป็นหอบหืด หลอดลมอักเสบ ควันบุหรี่ตกค้างในอากาศ 5 ชั่วโมง
Smoke free Zoneผลกระทบควันบุหรี่มือ 2 มือ 3
อภิปรายกลุ่มเรื่อง Smoke free Zone ผลกระทบควันบุหรี่มือ 2 มือ 3 ในเขตสถานที่สาธารณะ วิชชุดา คงพร้อมสุข ผอ.กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์ รศ.ดร. Jeremiah Mock California Sanfrancisco USA รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แวยูโซ๊ะ แวหะยี กัลยาณา วาจิ มูลนิธิสร้างสุขไทยมุสลิม ประธาน: รศ.ดร.จักร์กริช หิรัญเพชรรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ม.มหิดล รองประธาน: รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ ผู้ดำเนินรายการ: ประจักษ์ มะวงษา ผู้ประกาศข่าวช่อง Spring 26
วิชชุดา คงพร้อมสุข ผอ.กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า กรมราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ควบคุมผู้ต้องขังอย่างมืออาชีพ แก้ไขพฤติกรรมผู้ต้องขังให้กลับตัวเป็นพลเมืองดี มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ให้ทำผิดซ้ำและกลับเข้ามาอยู่ในเรือนจำ ใช้ชีวิตอยู่ภายนอกได้ปกติโดยสังคมให้การยอมรับ แต่เดิมนั้นเรือนจำอนุญาตให้ผู้ต้องขังสูบบุหรี่ได้ แม้ในห้องนอน เพื่อคลายความเครียด แต่เนื่องจากมีผู้ต้องขังหลายคนที่ไม่สูบบุหรี่และต้องรับควันบุหรี่มือ 2 มือ 3 ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด ต่อมาทางเรือนจำออกประกาศราชทัณฑ์งดจำหน่ายบุหรี่ให้เป็นเรือนจำปลอดบุหรี่ 142 แห่ง และไม่ให้นำเข้ามาจำหน่ายภายในเรือนจำ
ปี 2547 กรมราชทัณฑ์ กรมควบคุมโรค สสส. ทำโครงการสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ในเรือนจำ ขยายทัณฑสถานที่มีการเลิกบุหรี่ภายในเรือนจำคลองเปรมแดน 4 ขยายไปในกลุ่มเจ้าหน้าที่ใน รพ.ผู้ต้องขัง เมื่อเลิกบุหรี่ไม่มีปัญหาลงแดงในเรือนจำ มีเป้าหมายให้ผู้ต้องขังพัฒนาสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ขยายเข้าไปในหลายจังหวัดด้วย จัดจุดสูบบุหรี่ ลดการเข้าถึงบุหรี่ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมราชทัณฑ์แจ้งทุกเรือนจำจัดพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ หากผู้ต้องขังสูบบุหรี่จัดพื้นที่ให้สูบ ถ้าสูบนอกพื้นที่มีบทลงโทษ ปรับ 4 หมื่นบาท
แวยูโซ๊ะ แวหะยี มูลนิธิสร้างสุขไทยมุสลิม กล่าวว่า สสส. ศจย.มีบทบาทสำคัญให้เกิดเวทีเลิกบุหรี่ ทำให้เครือข่ายภาคีแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่ "ผมมาจากปัตตานีเมืองไทย ไม่ได้มาจากต่างประเทศ ผมมาดี ปลอดภัยทุกอย่าง ขอให้สบายใจ 100% มาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล โครงการเลิกบุหรี่ต้องเริ่มต้นจากที่บ้านต้องเลิกบุหรี่ให้ได้ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต"
ผลงานวิจัยศึกษาพฤติกรรมสถานการณ์การสูบบุหรี่ สถานศึกษามุสลิม รร.ปอเนาะ รร.ราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ปี 2558 ตัวเลขที่น่าตกใจ คนสูบบุหรี่เป็นบุคลากรทางด้านศาสนา 33.38% อัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ 20.8% จากงานวิจัยเห็นแนวโน้มคนสูบบุหรี่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ลดลง และแนวโน้มวัยรุ่นมีอัตราการสูบบุหรี่สูงขึ้นเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ และที่สหรัฐแนวโน้มผู้หญิงจะสูบบุหรี่สูงกว่าผู้ชาย วัยรุ่นที่อายุ 18 ปีขึ้นไปจะสูบบุหรี่มากยิ่งขึ้น ถ้ามองตัวเลขนี้ก็คาดการณ์ได้ว่าอนาคตอัตราคนที่จะเป็นโรคจากการสูบบุหรี่สูงขึ้น ผลที่ตามมาคือรัฐบาลจัดงบประมาณระบบสุขภาพสูงขึ้น
คนมุสลิมส่วนใหญ่โยงกับข้อบัญญัติศาสนาในชีวิตประจำวันเรื่องบุหรี่ กลุ่มผู้นำศาสนามีแนวโน้มติดบุหรี่ 48.46% เกือบครึ่งหนึ่งเห็นว่าการสูบบุหรี่ไม่สามารถตัดสินเป็นสิ่งต้องห้าม มีผลต่อการทำงาน โต๊ะครูใหญ่ผู้นำศาสนามีอิทธิพลทางความคิดเผยแพร่ผ่าน youtube ว่าเขาจำเป็นต้องสูบใบจากก่อนสอนศาสนา มิฉะนั้นจะปวดหัว
กัลยาณา วาจิ มูลนิธิสร้างสุขไทยมุสลิม กล่าวว่า งานวิจัยเป็นข้อมูลที่เราได้มาทำให้การวางแผนเลิกบุหรี่เริ่มต้นที่บ้าน ผู้นำศาสนามีบทบาทเลิกบุหรี่ได้ ภริยาและบุตรมีผลต่อหัวหน้าครอบครัวทำให้เลิกบุหรี่ได้ ส่วนใหญ่พ่อเลิกบุหรี่ได้เพราะลูกเป็นผู้ขอร้องให้พ่อเลิกบุหรี่ เมื่อลูกขออะไรก็ได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเกรงใจภริยา บางคนบอกว่าที่เลิกบุหรี่เพราะภริยาชอบบ่น บทบาทสตรีมีส่วนสำคัญในการรณรงค์โครงการไม่สูบบุหรี่ การวางแผนให้ภริยา บุตรมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน อาสาสมัครเลิกบุหรี่เริ่มต้นที่บ้าน สร้างแรงกระตุ้นให้คนที่สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ได้ อสม.ในชุมชนเข้าถึงคนในชุมชนมากที่สุด
โครงการเลิกบุหรี่ในช่วง 3 ปีแรก ปี 58-59 มีผู้เลิกบุหรี่ได้ 70 คน ด้วยการสร้างอาสาสมัครขับเคลื่อนเข้าไปในชุมชนให้เลิกบุหรี่ เครือข่ายอาสาสมัครในชุมชนเลิกบุหรี่ เป็นประสบการณ์ที่เราวางแผนเก็บข้อมูลครัวเรือนผู้สูบบุหรี่ คนที่จะเลิกบุหรี่ได้เด็ดขาดต้องเลือกวิธีการหักดิบ สิ่งสำคัญคนในบ้านต้องให้กำลังใจ เมื่อทำได้แล้วก็ขยายออกไปยังชุมชน ขยายไปทั่วทั้งประเทศ
ทั้งนี้ ประจักษ์ มะวงษา พิธีกร สรุปว่า "ต้องใจร่ม ๆ อย่าใจร้อน เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี"
รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เคยมีการสรุป 12 ประเด็นคนที่ได้รับควันบุหรี่มือ 2 มือ 3 ได้รับอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เป็นทั้งมะเร็งปอด หัวใจ คนที่อยู่ในบ้านเดียวกับคนที่สูบบุหรี่ตายก่อนวัยอันควร ดังนั้นต้องกำจัดตั้งแต่ต้นตอ ผลจากงานวิจัยขอทุนเรื่องควันบุหรี่มือ 2 มือ 3 เริ่มต้นจากร้านอาหาร จึงเกิดนโยบายห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ คลับ บาร์ สนามบิน คนที่อยู่ในบ้าน อยู่ในสถานที่ทำงานที่มีคนสูบบุหรี่ พิษภัยบุหรี่มือ 2 มีเป็นล้าน ๆ ที่ตายก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะเด็กมีความเสี่ยงสูงจากควันบุหรี่มือ 2 โรคทางเดินหายใจ การอักเสบในหูและกระจายไปที่อวัยวะอื่น ผู้ปกครองที่สูบบุหรี่โอกาสที่เกิดโรคทางเดินหายใจ หัวใจ หลอดเลือด มะเร็งปอด มีประจักษ์พยานตอกย้ำว่ามีความเสี่ยงไม่ปลอดภัยแม้จะมีเครื่องฟอกอากาศ แต่ไม่ได้กำจัดที่ต้นตอ สมัยก่อนร้านอาหารจะกำหนดโซนปลอดบุหรี่ 75% พื้นที่สูบบุหรี่ 25% รวมทั้งบนเครื่องบิน
ผลงานวิจัยหลายเรื่องผลักดันให้เกิดนโยบายห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ คลับ บาร์ สนามบันเทิง รวมทั้งการตรวจจับ PM 2.5 ห้องสูบบุหรี่ท่าอากาศยานภายในประเทศ ห้องสูบบุหรี่สนามบินนานาชาติไม่ให้มีสถานที่สูบบุหรี่ในเดือน ต.ค.เป็นต้นไป ขณะนี้ในสหรัฐมีการตรวจวัดเศษบุหรี่ตามชายหาดหลายแห่ง สวนสาธารณะเป็น Smoke-Free Environment ห้ามการสูบบุหรี่เป็นมาตรการ FCDC กม.โลก ที่องค์การอนามัยโลกปกป้องสุขภาพควันบุหรี่มือสอง เริ่มทำโครงการตรวจวัด PM 2.5 ห้ามสูบบุหรี่ในยานพาหนะส่วนบุคคล "งานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสังคมเมื่อสำรวจชายหาดหลายแห่งในเมืองไทย, ญี่ปุ่น, สหรัฐ พบก้นบุหรี่แฝงขยะอันตรายมีสารเคมี 7,000 ชนิด ได้ข้อสรุปควันบุหรี่มือ 2 มือ 3 เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากมาย มะเร็งปอด หัวใจ"
รศ.ดร. Jeremiah Mock California Sanfrancisco USA กล่าวว่า กม.ไทยมีความเข้มแข็งกว่าสหรัฐ บางอย่างมีการพัฒนาในเมืองไทยได้ดีกว่าสหรัฐ มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับเรื่องบุหรี่ แต่ละประเทศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพสังคม งานวิจัยที่แคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก มีการพัฒนา กม.ห้ามสูบบุหรี่ภายในอาคาร ในโรงเรียน โรงแรม ในช่วงที่ทำงานวิจัยและสำรวจก้นบุหรี่ตามชายหาด สวนสาธารณะ ฯลฯ ทุกปีมีจำนวนก้นบุหรี่มากมายถึง 5 พันล้านด้วยการสำรวจจากชายหาดหลายแห่ง พบ 88 ตัวอย่างจาก 83 สถานที่ ชายหาดบางแสน ชายหาดชะอำ นักท่องเที่ยวนอนบนเก้าอี้ผ้าใบ กินอาหารแล้วสูบบุหรี่
ด้วยเหตุนี้เมืองไทยตัดสินใจห้ามสูบบุหรี่บนชายหาดที่มีชื่อเสียง อุทยานแห่งชาติ 147 แห่ง ฯลฯ ขณะนี้ที่ชายหาดโกเบมีป้ายห้ามสูบบุหรี่ สหรัฐมีชายหาด 550 กม. ทุกที่สำรวจเจอก้นบุหรี่เป็นเรื่องอันตรายมาก ขณะนี้มีบุหรี่ยี่ห้อหนึ่งที่ดังมากในสหรัฐเป็นที่นิยมของเด็กไฮสกูลในสหรัฐ สูบและทิ้งก้นบุหรี่ในบริเวณ รร. สารเคมีในบุหรี่ยังอยู่ เป็นฆาตกรที่เรามองไม่เห็นยังคงอยู่