บ่มเพาะเด็กไทยสร้างทักษะอยู่รอดในศตวรรษที่ 21

บ่มเพาะเด็กไทยสร้างทักษะอยู่รอดในศตวรรษที่ 21 thaihealth


การเตรียมความพร้อมให้กับเด็กต้องมี "ทักษะ" (Skill) ติดตัวเพื่อนำไปใช้ต่อการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 ถือเป็นความท้าทายที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารแบบไร้ขีดจำกัด และช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ทำให้คนเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ ยังไม่นับรวมถึงการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนปลายปี 2558 จะมีการเปิดเสรีแรงงาน เกิดการไหล่บ่าของแรงงานระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งการเตรียมความพร้อมเด็กให้มีความเท่าทันต่อเรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ครู อาจารย์ แม้แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องไม่ละเลย


ในงาน "มหกรรมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว ตอน เด็กบันดาลใจ คิดได้ คิดเป็น" จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และภาคีเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ ได้จัดเสวนาหัวข้อบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ มหัศจรรย์แห่งชีวิต คิดได้ คิดเป็น เรื่อง "การพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักการ บ่มเพาะเด็กไทยสร้างทักษะอยู่รอดในศตวรรษที่ 21 thaihealthBBL (Brain Based Learning) และทฤษฎีจิตใต้สำนึก" โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว หนึ่งในผู้บุกเบิกงานวิจัยเรื่องสมองเด็กไทย และ รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก


แนวทางการบ่มเพาะเด็กเพื่อให้พร้อมก้าวสู่การเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 นั้น พญ.จันทร์เพ็ญอธิบายว่า การพัฒนาเด็กต้องเริ่มต้นจากสมอง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของเด็ก ในช่วงอายุ 0-6 ปี หรือช่วงปฐมวัย เป็นช่วงสำคัญที่สมองของเด็กจะจดจำ เก็บเกี่ยวจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันที่สัมผัสทีละเล็กละน้อยไว้ในเซลล์สมอง เปรียบเหมือนลิ้นชักเก็บข้อมูลต่างๆ เมื่อสิ่งที่เก็บไว้ถูกนำมาเชื่อมโยงได้มากเท่าไหร่ สมองก็ทำงานได้มากเท่านั้น ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้


เพราะฉะนั้น ช่วงอายุ 0-6 ปี ถือเป็นโอกาสทองที่พ่อแม่ไม่ควรละทิ้ง แต่ที่ผ่านมาพ่อแม่มักฝากความหวังการพัฒนาลูกของตนเองไว้ที่ครูและโรงเรียน หลงลืมว่าแท้จริงแล้ว พ่อแม่คือ ครูคนแรกของลูก เป็นต้นแบบในความเป็นมนุษย์ที่คิดแบบมีเหตุมีผลที่สำคัญกว่าใครทั้งสิ้น สิ่งที่พ่อแม่จะต้องทำคือ สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกและอย่าใช้วิธีการโยนแท็บเล็ตให้ลูกหรือให้โทรทัศน์เลี้ยงลูกแทน เพราะจะเป็นการตัดโอกาสพัฒนาการสมองของเด็ก


สำหรับการพัฒนาการสมองของเด็กตามหลักการของ BBL พญ.จันทร์เพ็ญระบุ เริ่มจากที่พ่อแม่นำสิ่งที่ทำเป็นกิจวัตรมาทำซ้ำๆ เช่น ทัก ทายลูกทุกเช้า กอดและหอมแก้ม ใช้นิทานมาเป็นสื่อในการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา การรับรู้ การบ่มเพาะเด็กไทยสร้างทักษะอยู่รอดในศตวรรษที่ 21 thaihealthจำ เป็นต้น


"ทุกวันนี้คนไทยไม่มีชนชั้น ไม่ว่าจะคนจนคนรวยต่างเลี้ยงลูกเป็นเทวดา ทำให้ลูกทุกอย่าง ไม่ยอมให้เขาทำอะไร จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้เด็กมีปัญหาสมาธิสั้น เพราะสมองไม่สามารถจัดระบบความจำได้ ดังนั้นพ่อแม่ต้องปรับใหม่ฝึกฝนให้แต่เด็ก จะจดจำและสืบสานต่อเนื่อง เช่น อยากให้เขาทำเกษตรกรรมต้องปลูกฝังถ่ายทอดอาชีพไปสู่ลูก เช่นเดียวกับสถานศึกษาเวลานี้ต้องปรับตัวสร้างทักษะให้เด็ก ไม่ใช่สอนแค่ตามหลักสูตร หากพบจุดอ่อนในตัวเด็กต้องเข้าไปเสริม ไปแก้ไข ต้องไม่ตามใจ ไม่ใช่ให้เด็กโตมาแค่สอบแข่งขัน จะต้องเติบโตเป็นมนุษย์ที่มีทักษะที่เหมาะสมติดตัวเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้" นายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าว


ขณะที่ รศ.ดร.สายฤดีกล่าวถึงทฤษฎีจิตใต้สำนึกว่า แท้จริงแล้ว "จิตใต้สำนึก และ BBL" มีความเหมือนกัน เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ใต้สมองต้องมีการบ่มเพาะ สร้างการจดจำ และเรียนรู้มาจากสิ่งที่เราทำซ้ำๆ ผ่านการเรียนรู้จากการสัมผัส โดยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ตั้งแต่วัยเด็กและถูกฝังเก็บไว้อัตโนมัติ กลายเป็นวิถีชีวิตที่สะท้อนออกมาเป็นตัวตนของเรา ซึ่งการตัดสินใจของเราในแต่ละวัน อาทิ เลือกสีเสื้อผ้า กินข้าว ล้วนตัดสินมาจากจิตใต้สำนึกทั้งสิ้น ฯลฯ แต่เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ทำงานเราจะใช้จิตสำนึกเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนั้นการจะฝึกฝนเด็กให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนมีเหตุมีผล รู้จักคิด ต้องเริ่มต้นจากการบ่มเพาะแต่วัยเด็กและพัฒนาในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสม ให้เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อฝึกใช้บ่มเพาะเด็กไทยสร้างทักษะอยู่รอดในศตวรรษที่ 21 thaihealthสมองทุกวัน ให้เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ


"ปัจจุบันเมื่อเรามีเทคโนโลยีเข้ามาตรวจสอบการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เรารู้ว่าจิตใต้สำนึกนั้นเป็นส่วนหลักของการตัดสินใจในชีวิตกว่า 90% หากกล่าวถึงการเตรียมพร้อมของเด็กในศตวรรษที่ 21 คือการที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่มีการแข่งขันการทำอาชีพ การอยู่รอดในสังคม การเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้หากเด็กไม่มีทักษะ ไม่สั่งสมและเรียนรู้จะเอาตัวรอดได้ยากในสังคมโลก เพราะลำพังแค่ทักษะกดคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ไม่สามารถทำอะไรหากตกอยู่ในสภาวะที่ไร้อุปกรณ์เหล่านี้" รศ.ดร.สายฤดีกล่าว


รู้เช่นนี้ยังไม่สายที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะหันกลับมาใส่ใจและปรับกระบวนการวิธีในการดูแลลูกหลาน เพราะหากวางรากฐานที่สมบูรณ์แข็งแรงได้แต่เล็กๆ เด็กก็จะสามารถเติบโตและดำรงชีวิตท่ามกลางกระแสโลกที่เปลี่ยนผันได้.


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Shares:
QR Code :
QR Code