บริหารกองทุนมัสยิดครบวงจร สู่การสร้างอาชีพ

ที่มา : มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)


ภาพประกอบจากมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)


บริหารกองทุนมัสยิดครบวงจร สู่การสร้างอาชีพ thaihealth


สสม.จัดอบรมการบริหารกองทุนมัสยิดครบวงจร สู่การสร้างอาชีพ


เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมเจบีหาดใหญ่ จ.สงขลา ศูนย์กิจกรรมภาคใต้ตอนกลางแผนงานสร้างสุขมุสลิมไทย มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) จัดกิจกรรมโครงการมัสยิดครบวงจรภายใต้หัวข้อ“การบริหารกองทุนมัสยิดครบวงจร สู่การสร้างอาชีพ” โดยมี ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวเปิดงานพร้อมบรรยายพิเศษ “พลังชุมชน สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งโดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง”


นายสุรินทร์ เหมนูกุล ผอ.สสม.ภาคใต้ตอนกลางกล่าวว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการรวมเครือข่ายมัสยิดครบวงจร 15 มัสยิดในพื้นที่ภาคใต้ หลังจากได้ดำเนินการโครงการมัสยิดครบวงจรมาแล้ว เพื่อมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของแต่ละพื้นที่ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารกองทุนมัสยิดให้เป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด


ภายในงานยังมีกิจกรรมเสวนา “แนวทางการบริหารกองทุนสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน”ซึ่งมีวิทยากรจากเครือข่ายมัสยิดบริหารกองทุนมัสยิดครบวงจร สู่การสร้างอาชีพ thaihealthครบวงจรและกองทุนซะกาตที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารกองทุนมาก่อนหน้านี้ มาบรรยายถ่ายถอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยน เรียนรู้การทำงาน หรือเรียกอีกอย่างว่า “พี่สอนน้อง”ของมัสยิดบ้านควนรุย ต.เสาธง อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราชและมัสยิดบ้านกลาง ต.โพธิ์ทอง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช


นายยูโสบ คำวิจิตร อีหม่ามประจำมัสยิดบ้านควนรุย จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า “มัสยิดของตนได้เคยเข้าร่วมโครงการมัสยิดครบวงจรเมื่อปี พ.ศ.2554 สสม.ได้เข้ามาทำและสนับสนุนกิจกรรมให้เกิดขึ้นในมัสยิดเป็นกิจกรรมที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและมัสยิด หนึ่งในกิจกรรมนั้นก็คือการจัดตั้งกองทุนมัสยิดขึ้น ปัจจุบันกองทุนออมทรัพย์มัสยิดบ้านควนรุยเป็นกองทุนฯที่สมาชิกร่วมกันออมและร่วมกันลงทุน โดยกองทุนได้เงินเงินเหล่านี้มาลงทุนซื้อ – ขายสินค้าตามความต้องการของสมาชิก เช่น รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ปุ๋ย เป็นต้น และเมื่อครบรอบปีกองทุนจะมีผลกำไร ส่วนหนึ่งจากผลจะแบ่งผลกำไรกลับคืนให้แก่สมาชิก และอีกส่วนเป็นค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่กองทุน และจ่ายเป็นเงินซะกาตเพื่อช่วยเหลือคนอยากจนขัดสนในชุมชน อีกทั้งยังได้จัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก เช่นค่ารักษาพยาบาล,ค่าเดินทางให้กับบุตรสมาชิกที่เดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่สมาชิกในโอกาสต่างๆ นอกจากนี้มัสยิดบ้านควนรุยยังมีกองทุนซะกาต กองทุนกุรบาน และกองทุนญานาซะฮ์(ช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต)อีกด้วย”


การทำงานต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่าย และคณะกรรมการกองทุนจะต้องมีอามานะฮฺ (ความรับผิดชอบ) ความซื้อสัตย์ ไว้ใจได้ และความโปร่งใส นี่คือคุณสมบัติของคณะกรรมกองทุนที่พึงมี”อีหม่ามประเสริฐ ประธานกองทุนซะบริหารกองทุนมัสยิดครบวงจร สู่การสร้างอาชีพ thaihealthกาตมัสยิดบ้านกลาง กล่าว


ด้านนายประเสริฐ สันองค์ อีหม่ามมัสยิดบ้านกลางและประธานกองทุนซะกาตมัสยิดบ้านกลาง กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.2557 ตนและกรรมมัสยิดได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรม บรรยายโครงการซะกาต ที่ มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) ร่วมกับกรรมการอิสลามแห่งประเทศจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช โดยมี ดร.วิสุทธิ์ กรรมกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ


ในปี พ.ศ.2558 สสม.ได้มีโครงการจัดตั้งกองทุนซะกาตลงมาสู่ชุมชน และสสม.ได้เสนอผ่าน ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ มาในขณะนั้นและก็ได้โทรศัพท์มาประสานกับผมในฐานะอีหม่ามประจำมัสยิดว่าสนใจเข้าร่วมโครงการจัดตั้งกองทุนซะกาตหรือไม่


ในปีแรก(2558)กองทุนซะกาตมัสยิดบ้านกลางสามารถเก็บและรวบรมซะกาตที่เป็นซะกาตเงิน ทอง สิ่งเพาะปลูก และซะกาตฟิตเราะห์ได้นำเงินทั้งหมดมาแบ่งเป็นสัดส่วนเพื่อนำไปช่วยคน 8 ประเภทอิสลามได้กำหนดไว้


50% นำมาให้แก่คนยากจนและขัดสนใจชุมชนที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้


30% เป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชนในชุมชน


20% นำมาสร้างอาชีพใก้กับคนจนในชุมชน



ปัจจุบันกองทุนซะกาตมัสยิดบ้านกลางสามารถรวบรมเงินซะกาตได้ส่วนหนึ่งแล้วนำไปส่งเสริมอาชีพให้กับคนจนในชุมชน เช่นซื้อวัว ให้ชาวบ้านที่มีความต้องการเลี้ยง ซื้อรถจักรยายนต์ 3 ล้อให้ชาวบ้านประกอบอาชีพ และให้เงินเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพแก่คนจน


นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการสาธิตอาชีพต่างๆจากชุมชนโดยมีนายซัยฟุดดีน เหร็มอะวิทยากรจากชุมชนบ้านเขานาบริหารกองทุนมัสยิดครบวงจร สู่การสร้างอาชีพ thaihealth ต.คลองทรายขาว อ.นาทวี จ.สงขลา มาสาธิตอาชีพการเพาะเลี้ยงไส้เดือน การขยายพันมะนาวแบบวิธีควบแน่น การทำเครื่องฟักไข่ และการปลูกพืชแบบไม่ได้ใช้ดิน (ไฮโดรโปนิกส์)และยังได้ไปศึกษาดูงานชุมชนสวนผักคนเมือง ณ สวนเบญจพฤกษ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา


สำหรับโครงการดังกล่าวมีตัวแทนเครือข่ายมัสยิดครบวงจรในพื้นที่ภาคใต้จำนวน 15 มัสยิด เข้าร่วมกิจกรรมกรรม อาทิ มัสยิดบ้านท่าโพธิ์ อ.สะเดา จ.สงขลา,มัสยิดบ้านเขานา อ.นาทวี จ.สงขลา,มัสยิดบ้านป่าโอน อ.เทพา จ.สงขลา,มัสยิดบ้านแสน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา,มัสยิดบ้านทอนตรน อ.กงหรา จ.พัทลุง,มัสยิดนายวน อ.กงหรา จ.พัทลุง,มัสยิดบ้านเกาะลิบง จ.ตรัง,มัสยิดบ้านเขาขาว อ.เมืองจ.กระบี่,มัสยิดดารู้ลมุตตากีน จ.กระบี่,มัสยิดบ้านทุ่งคา อ.คลองท่อม จ.กระบี่,มัสยิดซอลาฮุดดีน จ.นครศรีธรรมราช,มัสยิดดารุลเกาษํร อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส,มัสยิดนูรุลฮิลาล อ.เมือง จ.ยะลา


ซึ่งแต่ละมัสยิดยังได้นำเสนอกิจกรรมที่มัสยิดได้ดำเนินการไปแล้ว และได้แลกเปลี่ยนความคิด ถ่ายถอดประสบการณ์การทำงานของมัสยิดแต่ละแห่งเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป….

Shares:
QR Code :
QR Code