นิทาน สร้างแนวรบความอบอุ่นให้ครอบครัว

“สื่อมีเยอะ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป”

พี่โก๋ หรือ จันทรกานทิ์ ยมภา กลุ่มหนอนไม้อดีตสมาชิกกลุ่มมะขามป้อมที่ทำงานด้านละครเพื่อการพัฒนา ได้ผันชีวิตตัวเองออกไปทำกิจกรรมอิสระเพื่อพัฒนาเด็ก

มาดูกันว่าในนิทานมีอะไร

ถ้านึกย้อนไปตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายนิทานถือว่าเป็นความสุขของเด็ก เพราะเป็นสายใยสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกถ้ามาโรงเรียนก็จะเป็นครูกับลูก ศิษย์ เราจะใช้ตัวนิทานสอนเด็ก พอเด็กได้ฟังสอนเรื่องอะไรเด็กก็จะเชื่อในนิทาน แต่ในนิทานมักมีความเชื่อหลายอย่าง นิทานพื้นบ้านที่นำมาสอนเด็กได้

“การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่เด็กเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำ ให้เด็กรักในนิทาน พอตักอุ่นๆของพ่อแม่และ มีนิทานกับเสียงนุ่มๆ ของพ่อแม่ พอเด็กได้ฟังเด็กก็จะเป็นเพลินและหลับไปโดยมีมีนิทาน มีตักอุ่น เสียงนุ่มๆ ที่เป็นเหมือนยานอนหลับให้ลูกได้มีมีความสุขนั่นเอง”

นิทานสอนได้หลายอย่าง สอนเรื่องภาษา ศิลปะ จินตนาการ และเด็กมักจะมีจินตนาการที่มากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ใหญ่คิดไม่ถึงในจินตนาการของเด็ก ถ้าเราจะแยกจินตนาการ ก็เป็นจินตนาการแบบอิสระ และ จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์

จินตนาการแบบอิสระก็คือ เด็กในวัยเล็กๆ1-2 ขวบ เด็กอาจจะยังไม่มีประสบการ์โดยตรง จินตนาการเด็กจะมีอิสระ จินตนาการเรื่องอะไรก็ได้ที่เด็กได้ฟัง

จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เด็กโต มากหน่อย ที่ผ่านประสบการณ์และเอาประสบการณ์ที่เค้าพบเห็น พอเราเล่านิทานอะไรให้ฟัง เค้าก็จะร้อง อ๋อ และนึกเชื่อมโยงไปได้ เพราะฉะนั้น นิทานหนึ่งเรื่องสามารถสอนเด็กได้หลายอย่าง

เลือกนิทานอย่างไรให้เหมาะกับเด็ก

การเลือกนิทานเราจะต้องเลือกนิทานที่ไม่ยาวมาก ต้องสั้นๆ มีความสนุก เพราะในนิทานเด็กต้องการความสนุก ความมหัศจรรย์ ตลกขบขัน เด็กต้องการเล่นกับตัวละคร และจินตนาการของเด็กเอง

สิ่งที่เราควรคำนึงในการเลือกนิทานคือ 1.ต้องสนุก   2.เด็กต้องมีส่วนร่วม   3.ต้องมีสาระ ไม่ต้องมากแต่นิทานเรื่องนั้นจะต้องสอนอะไรเด็กได้บ้าง

 

 

 

 

 

 

 

 

เคล็ดลับการเล่านิทานให้สนุก ทำอย่างไร

การเล่านิทานมีหลายรูปแบบ เล่าปากเปล่า เล่าโดย ใช้สื่อ เล่าโดยใช้หนังสือ หรืออาจจะใช้ศิลปะเรื่องของดนตรี และก็สื่อใกล้ตัว ที่พอจะหยิบมาทำตัวละคร และดนตรีจะทำให้ตื่นเต้นมากขึ้น และถ้าใครร้องเพลงเป็น เล่นดนตรีเป็น ก็จะช่วยให้นิทานเรื่องนั้นๆสนุกมากยิ่งขึ้น

ถ้าคนเล่ามีความคิดสร้างสรรค์ แค่สวมถุงมือข้างเดียวเป็นตัวละครได้เยอะแยะเลย ถ้าใช้มือ ใส่ถุงมือเข้าไปเป็นปลาหมึก เป็นรูปอะไรก็ได้ สิ่งที่จะช่วยสร้างความสนุกจะอยู่ที่ถุงมือ ถ้าเอาถุงมือเข้ามาประกอบในการเล่านิทาน

นิทานกับโลกยุคใหม่

ถ้ามองย้อนไปในการช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและมีจินตนาการนั้นมี โครงการ Book start ให้พ่อแม่ที่ตั้งท้องเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ในท้อง เด็กก็จะซึมซับมาเรื่อยๆจนเด็กคลอดออกมา จนเด็กโต เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการทางด้านภาษาดีกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้อ่านตั้งแต่ ตั้งท้อง

“ในปัจจุบันสื่อมีเยอะ และเครื่องมือเทคโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป หนังสือเด็กจะไม่สนใจจะไม่ค่อยจับ  ถ้าพ่อแม่ปล่อยเด็กแบบนี้นานๆไปเด็กก็จะอยู่หน้าจอทีวี หน้าจอคอมพิวเตอร์ นานๆไปจินตาการเด็กจะน้อยลง ภาษาที่เค้าใช้ก็จะใช้ภาษาที่เข้ามาตามคอมพิวเตอร์ ภาษาวัยรุ่น ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ที่อยากพัฒนาเด็กหานิทานพื้นบ้าน ก็ได้ นิทานเล่มเล็กๆ ถ้าเด็กเล็กก็เลือกนิทานภาพ เพราะภาพจะทำให้เด็กสนุก และเล่านิทานให้เด็กฟังแค่วันละครั้งก่อนนอน เด็กก็จะติดนิสัยรักการอ่านขึ้นมาได้ทันที” พี่โก๋กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำคัญของนิทาน

เพราะสื่อและเทคโนโลยีที่มาเร็วจนแทบจะตั้งแนวรบด้านข้อมูลข่าวสารแทบไม่ ทันของทั้งโลกโซเชียลมีเดีย ว่าทีวีดิจิตอลที่จะเกิดอีกไม่กี่ปี แต่ไม่ว่าโลกการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปมากมายแค่ไหน ลองเชื่อมสายใยรัก ด้วยการเล่านิทานสักเรื่องก่อนนอนให้ลูกได้ฟัง เชื่อว่าแนวรบด้านความอบอุ่นของครอบครัวยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

 

ที่มา : สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

Shares:
QR Code :
QR Code