‘นับเราด้วยคน’ เริ่มที่ใจ ก้าวไปด้วยกัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


'นับเราด้วยคน'  เริ่มที่ใจ ก้าวไปด้วยกัน thaihealth


แม้ดูเหมือนจะแตกต่างกัน คนละขั้ว ทั้งแนวดนตรี  สไตล์การแต่งตัว การใช้ชีวิต คนหนึ่งมาในเสื้อสูทมาดเท่ เป็น 'ซุปตาร์' เรียกเสียงกรี๊ดจากสาวๆ เมื่อเอ่ยชื่อ "ก้อง" สหรัฐ สังคปรีชา ส่วนอีกคนมาในมาดเข้ม  เซอร์ๆ แบบฉบับศิลปินชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอที่ชื่อ "ชิ" สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์


แต่การโคจรมาทำงานร่วมกันครั้งแรกของศิลปินทั้งคู่ กลับกลายเป็นเสน่ห์ความแตกต่างของบทเพลง "นับเราด้วยคน"  ที่มีเนื้อหาจุดประกายสร้างสรรค์สังคม


มิวสิควีดิโอเพลงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัวแคมเปญ "นับเราด้วยคน" ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) เพื่อสื่อสารปรับทัศนคติที่สังคมมีต่อ "ประชากรกลุ่มเฉพาะ" ได้แก่ กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มแรงงาน  กลุ่มสตรีผู้ต้องขัง กลุ่มไร้สถานะ คนไร้บ้าน กลุ่มมุสลิมชายแดนใต้ ที่ขาดโอกาสในการ มีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการถูกมองข้าม  ไม่มีตัวตน และการยอมรับในสังคม


ศิลปินปกาเกอะญอ อย่าง "ชิ สุวิชาน" ซึ่งเป็นหนึ่งในนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ตัวยง เล่าติดตลกว่า "ตอนแรกได้ยินว่าต้องทำเพลงกับก้อง ผมก็ถามว่าก้องไหน ?  พอรู้ว่าเป็นพี่ก้อง สหรัถ ผมตื่นเต้นนะ  นึกภาพถ้าพี่ก้องมาโซโล่กีตาร์กับ 'เตหน่ากู' มันจะไปด้วยกันได้มั้ย"


"เตหน่ากู" ที่ชิเอ่ยถึงนั้น คือ เครื่องดนตรี ชิ้นเอกของปกาเกอะญอที่มีเสียงคล้ายๆ พิณ ชิ ยอมรับว่า แรกๆ ที่ทำงานร่วมกับดาราดังอย่างก้อง เขารู้สึกหวั่นเกรงอยู่บ้าง แต่เมื่อซุปตาร์ชื่อดังเป็นฝ่ายเปิดใจชวนคุย จนทำให้รู้ว่า อีก'นับเราด้วยคน'  เริ่มที่ใจ ก้าวไปด้วยกัน thaihealthฝ่ายพูดกะเหรี่ยงได้ เพราะก้องชอบไปเที่ยวสังขละบุรีบ่อยๆ จนมีเพื่อนเป็นชาวกะเหรี่ยงที่สนิทสนมเหมือนคนบ้านเดียวกัน นั่นคือจุดเปิดใจจากเรื่องเล็กๆ ที่ทำให้กำแพงเส้นแบ่งบางๆ ในใจทลายลงทันที


"พี่ก้อง ถือเป็นตัวแทนคนในเมือง ส่วนผมเป็นตัวแทนคนชนเผ่า ถึงแม้จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นดนตรีมันได้หล่อหลอมความแตกต่างเข้าไว้ด้วยกัน การที่ดนตรีชนเผ่าของเราได้เข้ามาส่วนร่วมในบทเพลงโครงการนี้ มันทำให้เกิดความรู้สึกว่า เราได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของสังคม" ศิลปินปกาเกอะญอ เผยความรู้สึก


นั่นเพราะดนตรี ไม่มีการแบ่งแยก ความเป็นคนก็เช่นเดียวกัน นักขับเคลื่อนงานด้านมนุษยชนอย่าง "ชิ" มองว่า สิทธิมนุษยชน จะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มที่ "หัวใจ" และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เพราะถ้าไม่ได้ทำด้วยหัวใจ มันก็เป็นแค่กิจกรรมที่ไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว


"สังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยคนที่มีความหลากหลายทาง เชื้อชาติ วัฒนธรรม ความเชื่อ สถานะทาง สังคม และการอยู่ร่วมกัน ถ้าเราทำให้คนๆ หนึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติ สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนอีกคนหนึ่งที่แตกต่างกันได้ นั่นแหละครับ สันติภาพ และความเป็นธรรมจึงจะเกิดขึ้น เพราะเมื่อเรายอมรับและเคารพความแตกต่าง ความหลากหลาย นั่นคือ การยอมรับในความเป็นมนุษย์  การเลือกปฏิบัติก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะจะมีแต่คำว่า 'เรา' ไม่มีแบ่งว่านี่คือฉัน นี่คือเธอ"


ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะ ประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. เล่าถึงที่มาของ โครงการ "นับเราด้วยคน" ในวันเปิดตัว โครงการว่า โครงการนี้ ถือเป็นก้าวแรกของสร้างสื่อสารสร้างการรับรู้สู่สังคมว่า ยังมีประชากรกลุ่มเฉพาะที่ถูกลืมและ'นับเราด้วยคน'  เริ่มที่ใจ ก้าวไปด้วยกัน thaihealthขาดสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงโอกาสและการใช้ชีวิต อย่างมีสุขภาวะอยู่ในสังคมเป็นจำนวนมาก ได้แก่ กลุ่มคนพิการ, กลุ่มผู้สูงอายุ, กลุ่มแรงงาน, กลุ่มไร้สถานะ, กลุ่มสตรีผู้ต้องขัง, กลุ่มมุสลิมชายแดนใต้และกลุ่มคนไร้บ้าน


ประชากรกลุ่มนี้ขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการถูกมองข้าม ไม่มีตัวตน ขาดการยอมรับจากสังคม การสื่อสารผ่านแคมเปญนับเราด้วยคน จะเป็นการเปิดพื้นที่ ให้เห็นการคงอยู่ การมีตัวตน และสร้างทัศนคติ เชิงบวกต่อประชากรกลุ่มเฉพาะ โดยอาศัย การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นทิศทาง และเป้าหมายหลักของแผนสุขภาวะประชากร กลุ่มเฉพาะ ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ บนฐานสังคมสวัสดิการ สังคมสัมมาชีพ และสังคมไร้การกีดกัน เพื่อลดความแตกต่างในการเข้าถึงสิทธิและโอกาสที่จะเข้าถึงทรัพยากร และการสนับสนุนทางสังคมและสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพเพื่อดำรงชีพอย่างมีสุขภาวะ


"ก้าวแรกของการสื่อสาร คือ การเข้าไป นั่งอยู่ในใจก่อนแล้วมองปัญหาจากมุมของพวกเขา ไม่ใช่จากมุมที่เรานั่งอยู่ สิ่งที่เราพบ คือ ประชากรกลุ่มเฉพาะเหล่านี้ บางคนขาดตัวตน ขาดการมองเห็น ถูกมองข้ามละเลยจากสังคมเป็นเวลานาน บางครั้งจึงเหมือนมีกำแพงที่กั้นตัวเองอยู่ นั่นคือคนข้างนอกก็มองไม่เห็นพวกเขา ในขณะที่คนที่อยู่ข้างหลังในกำแพงก็รู้สึกยากลำบากที่จะกล้าก้าวออกมาในสังคม"


จากประสบการณ์ของการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะ ดร.ประกาศิต มองว่า  การสร้างเงื่อนไขในการดำรงชีวิตที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นปัจจัยที่มีส่วนอย่างมากต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงยกระดับสุขภาวะ ตราบใดที่เงื่อนไขในการดำรงชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะเหล่านี้ ยังมีข้อจำกัดอย่างมาก การแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ จะไม่สามารถทำได้สำเร็จ จึงเป็นที่มา ของการขับเคลื่อนแผนงานสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ด้วยกลไกที่แตกต่างเพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนกลุ่มนี้


โครงการ "นับเราด้วยคน" จึงเป็น โครงการที่สสส. มุ่งผลักดันให้เกิดเป็นแพลตฟอร์มของพื้นที่กลาง เพื่อสร้างคอนเซปต์ของการแบ่งปัน และการสร้างการมีส่วนร่วมของประชากรกลุ่มเฉพาะ สามารถมีโอกาส  มีตัวตนในสังคม ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม


'นับเราด้วยคน'  เริ่มที่ใจ ก้าวไปด้วยกัน thaihealthตัวอย่างเช่น โครงการ "วิ่งด้วยกัน  มินิมาราธอน" ซึ่งถือเป็นงานวิ่งครั้งแรกของเมืองไทยที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการทุกประเภทได้ร่วมกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการวิ่งเพื่อสุขภาพที่ดี โดยการจับคู่คนพิการเป็นบัดดี้ร่วมวิ่งคู่ไปกับคนไม่พิการซึ่งทำหน้าที่ไกด์รันเนอร์จับคู่กันวิ่งเข้าเส้นชัยไปด้วยกันนับร้อยคู่ที่สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา


ดร.ประกาศิต บอกว่า นี่เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมเล็กๆ ที่ทำให้เห็นว่า ร่างกาย ไม่ใช่ข้อจำกัดสำหรับ "คนพิการ" ในการ เข้ามาส่วนร่วมในแคมเปญออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป


อีกหนึ่งตัวอย่างกิจกรรมภายใต้แนวคิด "นับเราด้วยคน" เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวก ต่อประชากรกลุ่มเฉพาะ โดยอาศัยกระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชน คือ โครงการรับบริจาคการรับบริจาคยา และให้อาสาสมัคร แยกยา และนำยาไปส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก และโรงพยาบาลในชายแดนเพื่อชาวบ้านชายแดนที่ขาดแคลนยารักษาโรคโดยการเชื่อมประสานเครือข่ายทั้งธนาคารจิตอาสา เครือข่ายเภสัชกรอาสา เครือข่าย มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ทหาร รวมทั้งประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ


ตามมาด้วยอีกหนึ่งกิจกรรมต่อไป ที่จะได้เห็นการขับเคลื่อนในเดือนธันวาคมนี้  คือ โครงการร่วมเรียนรู้ "กลุ่มผู้มีปัญหาสถานะบุคคล" ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข โดยการลงพื้นที่ไปเรียนรู้วิถีชีวิตของคนไทยพลัดถิ่น และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่ชายแดนที่จังหวัดระนอง


ดร.ประกาศิต ฝากทิ้งท้ายว่า ภาพที่เรา อยากเห็นให้เกิดขึ้นในสังคม คือ เป็นไปได้หรือไม่? ที่เราจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง การออกกำลังกาย  โดยนับรวมกลุ่มคนที่มีข้อจำกัดปัญหา บางอย่าง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือแม้แต่เด็กเล็ก สามารถเข้ามามีส่วนร่วม ในกิจกรรมได้เช่นเดียวกัน


นี่คือก้าวต่อไปที่เราอยากสื่อสารว่าเราทุกคนในสังคมสามารถร่วมกันและก้าวเดินไปด้วยกันได้ ผ่านกิจกรรมที่ตอบโจทย์คำว่า "นับเราด้วยคน" ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงสังคมจากการก้าวข้ามอุปสรรคข้อจำกัดที่มีอยู่


ผู้สนใจสามารถติดตาม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสานความร่วมมือร่วมกับโครงการได้ผ่านทางเฟซบุ๊ค  "นับเราด้วยคน"

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ