นักสืบสายน้ำเยียวยาแม่วัง ฟื้นคุณภาพชีวิต
เกาะคาอาศัยสายน้ำจากแม่น้ำวังเป็นที่หล่อเลี้ยงเกษตรกรรม ตลอดจนวิถีชีวิตโดยทั่วไป แต่จากการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของชุมชน การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองในด้านต่างๆ เช่น การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จากพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพาะปลูก และที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในด้านทรัพยากรน้ำ ได้แก่ ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำเสียโดยสรุปภาพรวมปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำวังในปัจจุบัน ดังนี้
การขาดแคลนน้ำมีความวิกฤติสูงสุดในฤดูแล้ง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตุ๋ย แม่น้ำวังตอนกลาง แม่น้ำจาง แม่น้ำต๋ำ แม่น้ำวังตอนล่าง
การขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค มีปัญหาปานกลางในจังหวัดลำปาง และจังหวัดตาก พื้นที่เกษตรขยายตัวไปจนเกินศักยภาพของทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ โดยเฉพาะมีการเพาะปลูกที่มีการใช้น้ำในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อการเกษตรมาก ทั้งในพื้นที่จังหวัดลำปาง จังหวัดตาก
น้ำท่วมในเขตลุ่มน้ำวังซึ่งมีโอกาสน้ำท่วมสูง ได้แก่แม่น้ำวังตอนล่าง คือ จังหวัดตาก
ด้านการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำวังมีปัญหาการขาดแคลนน้ำต้นทุน เนื่องจากเขื่อนกิ่วลมที่กั้นลำน้ำวัง มีพื้นที่เก็บกักน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการด้านคุณภาพน้ำ มีปัญหาสูงที่สุดในจังหวัดลำปาง รองลงมาเกิดขึ้นในจังหวัดตาก
ด้านทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในลุ่มน้ำเช่น ป่าไม้ถูกทำลายอย่างมาก และดินริมฝั่งตลิ่งถูกกัดเซาะอาสาสมัคร นักสืบสายน้ำ แสงเดือน สุริยงค์ ชี้ไปที่แม่น้ำวังซึ่งกำลังไหลเอื่อยๆ ก่อนบอกว่า “เรามีหน้าที่สำรวจคุณภาพของน้ำ มีเครื่องมือ น้ำยา 3 ตัว คือ ดูค่าออกซิเจนในน้ำ สำรวจกันทุกเดือน แล้วส่งผลให้กับทางเทศบาลเอาเยาวชน ชาวบ้านมาช่วยกันทำ เพราะก่อนหน้านี้ น้ำเสีย ปลาตาย เราไปอบรมแล้วก็กลับมาทำเลย”
เป็นการช่วยกันระหว่างคนในชุมชนกับทางเทศบาล เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความหมายของน้ำเสียตาม พ.ร.บ.ส่งเสริม และรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หมายถึง ของเสียที่อยู่ในสภาพที่เป็นของเหลว รวมทั้งมวลสารที่ปะปน หรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น โดยลักษณะของน้ำเสียแบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านเคมี และด้านชีวภาพ
การตรวจสอบความเน่าเสียของน้ำ หรือการวัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำนิยมหาได้ 2 แบบ คือ
1. หาปริมาณออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ทั้งจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายได้และไม่ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทางเคมี
2. หาปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ในน้ำเสีย วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีทางชีววิทยา ส่วนอีก 2 แบบ คือการหาปริมาณจุลินทรีย์ในน้ำ และการวัดความเข้มข้นของสารต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ อีกทั้งคนในชุมชนยังมีการปลูกหญ้าแฝก เพื่อลดปัญหาการกัดเซาะของตลิ่ง ซึ่งทำติดต่อกันมา 3 ปีแล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้น้ำซัดบ้านพังมา 1 หลัง
ที่มา : เว็บไซต์ปันสุข สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน