นวัตกรรมแนวใหม่ ใส่ใจคนพิการ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

งานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2554 มีบูธนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบสำหรับคนพิการ หลายบูธจัดวางเรียงรายอยู่ด้านหน้า สร้างความสนให้ผู้มาร่วมงานไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นบูธ speak up: ระบบถ่ายทอดการสื่อสารอัตโนมัติ, brain-control wheelchair, การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษามือเกี่ยวกับคำศัพท์กฎหมาย สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, การสร้างพจนานุกรมภาษามือไทยเบื้องต้นบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ และรถเข็นปรับนอนและยืนสำหรับ สิ่งประดิษฐ์ เด็กพิการทางสมอง เป็นต้น

นวัตกรรมแนวใหม่ ใส่ใจคนพิการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

งานนี้ เป็นงานที่จัดขึ้น เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านคนพิการ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนด้านคนพิการ นักวิชาการ ประชาชนทั่วไป และคนพิการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยงานวิจัยที่นำมาเผยแพร่ภายในงานในปีนี้ประกอบด้วย การติดตามผลการปฏิบัติงานของคนพิการในสถานประกอบการ, การศึกษาความสามารถช่วยเหลือเพื่อนนักศึกษาของนักศึกษาอาสาสมัคร เพื่อช่วยสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับอุดมศึกษา จากการใช้ชุดพัฒนาความสามารถในการช่วยเหลือเพื่อนนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน,การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพโดยชุดกะลาบำบัด เป็นต้น

นายแพทย์ประเวศ วะสี โดยภายในงานเริ่มจากการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” โดยนายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสและประธานสมัชชาปฏิรูป กล่าวตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันการอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขที่สำคัญที่สุด คือการมีสัมมาอาชีพ หมายถึงอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมและมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้  ซึ่งถ้าสามารถสร้างสัมมาอาชีพเต็มพื้นที่ที่เป็นเป้าหมายของชาติร่วมกันได้ นั่นคือทุกองก์กร ทุกชุมชน ทุกท้องถิ่นจังหวัด ไม่ว่าจะภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และรัฐ มุ่งสร้างสัมมาชีพไปด้วยกัน จะก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิตของคน สังคม และทางการเมือง รวมถึงต้องมีดัชนีความเป็นธรรม โดยการปฏิรูปจิตสำนึก และการปฏิรูปทิศทางใหม่ของประเทศเพื่อสร้างเป้าหมายและดัชนีชี้วัดใหม่ ซึ่งอยู่ในส่วนหนึ่งของการปฏิรูป คือทิศทางอุดมคติหรือความเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นเสมือนเข็มทิศให้ประเทศพัฒนาในทิศทางที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ภายในงานมีการอภิปรายเรื่อง การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดยมีอาจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ, นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกันอภิปราย

อาจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์โดยการอภิปรายตอนหนึ่งของอาจารย์วิริยะ กล่าวว่า ถ้าจะทำให้สังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุขต้องทำใน 4 ประเด็นก่อน คือ1.การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ 2.การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล 3.การสร้างพลังสังคมจิตอาสา  และ4.การสร้างความมั่นคงทางด้านการคลังเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งถ้าหากสังคมไทยเริ่มทำในแต่ละประเด็นไปทีละนิดๆ ก็จะสร้างกลุ่มคนและขยายออกไปเป็นเครือข่ายให้สามารถช่วยเหลือและพึ่งพาตัวเองได้

“สำหรับการสร้างงาน เพื่อหารายได้ให้กับคนพิการนั้น ในบางครั้งคนในครอบครัวก็มองว่า เป็นเรื่องยากมากที่จะให้คนพิการออกมาทำงาน เนื่องจากเกรงว่าจะถูกสังคมมองว่า ครอบครัวไม่ดูแล แต่กลับส่งให้คนพิการออกมาทำมาหากินเองอย่างยากลำบาก ซึ่งความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ครอบครัวของคนพิการต้องปรับวิธีคิดว่า การที่ให้คนพิการออกมาทำงาน ก็เพื่อทำให้สังคมเห็นว่าคนพิการมีศักยภาพ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ได้เป็นภาระให้กับคนในสังคม เพียงแต่สังคมต้องให้โอกาสในการทำงาน และจุดนี้ก็จะทำให้คนพิการเกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มากกว่าที่รัฐจะมาสงเคราะห์ ” อาจารย์วิริยะ กล่าว

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ด้าน นพ.พลเดช กล่าวตอนหนึ่งว่า การทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขได้นั้น สังคมต้องไม่มีช่องว่างระหว่างคนรวย คนจน ไม่ทอดทิ้งกัน พึ่งพาซึ่งกันและกัน ช่วยกันปรับทัศนคติ แนวคิด เพื่อให้สังคมเข้มแข็ง  ส่งเสริมให้สังคมรวมตัวกัน เพื่อทำให้เกิดสังคมคุณธรรม เห็นคุณค่า ของการทำความดี ความซื่อสัตย์ การเสียสละ แต่สังคมในประเทศไทย 10 ปีที่ผ่านมานั้นพบว่า คนทำความดีน้อยลง  ดังนั้นชุมชนท้องถิ่นจะต้องเป็นรากฐานที่เข้มแข็ง โดยสนับสนุนให้มีกองทุนสวัสดิการ กองทุนสตรี กองทุนคนพิการ และกองทุนผู้สูงอายุ เป็นต้น

ภายหลังจบการอภิปรายภายในงานได้จัดห้องสัมมนาย่อยๆ ออกเป็น 2 ห้อง ซึ่งทั้งสองห้องก็จะมีหัวข้อการอภิปรายในผลงานวิจัยต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยตัวอย่างเรื่องที่นำมาอภิปรายในห้องย่อย มีเรื่องการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพโดยชุดกะลาบำบัด โดยอาจารย์รังสิวุฒิ สุวรรณ เป็นผู้วิจัย

นวัตกรรมแนวใหม่ ใส่ใจคนพิการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม อาจารย์รังสิวุฒิ อธิบายว่า การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกะลาบำบัด และศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ หลังการใช้ชุดกะลา โดยกลุ่มตัวอย่างที่วิจัยคือบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหว อายุ 3-10 ปี ไม่เป็นผู้พิการซ้ำซ้อน วิธีการคือให้ผู้มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย เดินให้ฝึกเดิน ยืนเขย่งเท้าให้ บนชุดกะลาบำบัด โดยตลอดเส้นทางที่เดินจะมีราวที่สร้างด้วยท่อเหล็กหรือไม้ไผ่ให้จับเวลาฝึกเดิน

โดยผลจากการบนกะลาทุกวันอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของคนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับร้อยละ .05

นวัตกรรมแนวใหม่ ใส่ใจคนพิการ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ถือเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมาปรับใช้กับคนในครอบครัวที่เป็นผู้พิการทางเคลื่อนไหวได้ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทำนั้นหาได้ไม่ยากเพราะมีเพียงกะลามะพร้าว และราวไม้ไผ่ที่ใช้จับเวลาเดินบนกะลามะพร้าวเท่านั้น นอกจากงานวิจัยชิ้นดังกล่าวแล้ว ยังมีนวัตกรรมสปิ๊ค-อัพ ระบบถ่ายทอดการสื่อสารอัตโนมัติ ที่ถือเป็นการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ สามารถเข้าถึงผู้พิการที่มีความบกพร่องทางการพูด แต่ยังมีความสามารถในการฟัง เช่นผู้ที่ผ่าตัดกล่องเสียง ผู้ที่ปากแหวางเพดานโหว่ เป็นต้น ให้สามารถสนทนากับคนทั่วไปได้ โดยนำโทรศัพท์มือถือมาเชื่อกับโปรแกรมผ่านทางบลูทูธแบบ serial port profile (spp) และอุปกรณ์ที่ออกแบบ เพื่อรับ-ส่ง at  command และข้อมูลเสียตามลำดับ สปิ๊ค-อัพจะรับข้อความจากคนพิการแล้วเปล่งเป็นเสียงมนุษย์ด้วยวาจา 0.6 และ ms speech api  แล้วส่งไปยังโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับระบบ เพื่อส่งข้อมูลเสียงไปยังคู่สนทนา

นายสันติ พร้อมพัฒน์ในการณ์นี้นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ซึ่งเป็นประธานในพิธี ได้ให้คำสัญญาเกี่ยวกับการทำงานด้านคนพิการว่า “งานพัฒนาคนพิการ เป็นงานสำคัญที่กระทรวงฯ ตั้งใจที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากยังมีคนพิการอีกจำนวนมากที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ยังขาดโอกาสและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ เช่น รถวีลแชร์ ในส่วนนี้ กระทรวงฯ จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกให้ผู้ประกอบการต่างๆ มีความตระหนักในเรื่องนี้และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการให้มากยิ่งขึ้น”

สิ่งสำคัญหรับคนพิการที่ต้องการในยามนี้ คือการให้โอกาส ให้พวกเขาได้ทำงาน แสดงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเอง ดังนั้นสังคมเราต้องเปลี่ยนความพิการให้กลายเป็นพลังในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆในสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

 

ที่มา: สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ

Shares:
QR Code :
QR Code