ทุกข์คนไร้สถานะ เหมือนโรคที่รอยา
“บางคนอยู่ในแผ่นดินไทยมาหลายชั่วคนแล้วแต่ยังไม่ได้รับการดูแล” นพ.ประทีปบอก
นพ.
เพื่อความมั่นคงทางสุขอนามัยทั้งของคนไร้สถานะทางทะเบียน และคนไทยเอง นพ.ประทีป บอกว่า จำเป็นต้องมีเยียวยาคนไร้สถานะ เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาโรคระบาด และปัญหางบประมาณของโรงพยาบาลไม่เพียงพอ
ปัจจุบันประจักษ์แล้วว่า โรงพยาบาลที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดน อย่าง รพ.ทองผาภูมิ และ รพ.สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สถานะทางการเงินย่ำแย่ งบประมาณไม่เพียงพอ จนกลายเป็นภาระหนี้สินผูกพันจนแทบจะทำอะไรไม่ได้
นพ.ประทีป บอกว่า คนไร้สถานะทางทะเบียนยากจน และยังไม่มีบัตรประกันสุขภาพใดๆ ทำให้โรงพยาบาลในย่านที่อาศัยอยู่รับภาระหนัก เพราะเมื่อผู้ป่วยเข้ามารักษา ก็ต้องให้การรักษา ตามหลักสิทธิมนุษยชน
ผู้ใหญ่ทรงบุญ อรุณทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านไหล่น้ำ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี บอกว่า คนในพื้นที่สังขละบุรี การปกครองได้แยกประเภทไว้ โดยให้บัตรสีต่างๆ คือ บัตรสีฟ้า ได้แก่ พวกชาวเขา ส่วนใหญ่เป็นพวกกะเหรี่ยง บัตรสีเขียวขอบแดง ได้แก่ บุคคลบนพื้นที่สูง บัตรสีชมพู ได้แก่ พวกพลัดถิ่นสัญชาติพม่า บัตรสีส้ม ได้แก่ พวกหลบหนีเข้าเมือง และบัตรที่รหัสขึ้นด้วยเลข “0” คือผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน
คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่มีประกันสุขภาพใดๆ
ทางออกในเรื่องช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ นพ.
“บางคนไม่มีแม้กระทั่งค่ายา เมื่อเริ่มป่วยจะไม่ยอมมาพบหมอ เนื่องจากไม่ค่อยมีค่ารักษาพยาบาล จะมาหาหมอก็ต่อเมื่อหนักมากแล้ว ทำให้การรักษาเยียวยาเป็นไปอย่างยากลำบาก และต้องมีค่าใช้จ่ายแพง” นพ.พงศธรบอก
พงศธร – ประทีป
เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย และการเข้าตรวจสุขภาพที่ นพ.พงศธรบอกนี้ สอดพ้องกับคำของนายจูด “ผมไม่ต้องไปโรงพยาบาล เป็นอะไรเล็กๆ น้อยๆ มันก็หายไปเอง ผมร่างกายแข็งแรง”
นาย
ส่วนร่างกายของนายจูดที่ไม่ได้ตรวจเลยนั้น ไม่มีใครบอกได้ว่า กำลังบ่มเพาะเชื้อโรคอะไรอยู่หรือไม่ อาจด้วยเหตุนี้ ตัวเลขค่าใช้จ่ายของคนไร้สถานะ ปี พ.ศ. 2551 จาก รพ.ของรัฐ 172 แห่ง ใน 15 จังหวัด ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายถึง 468 ล้านบาท
ทางออกของปัญหานี้ สปสช.เสนอว่า การประกันสุขภาพสำหรับคนที่ไร้สถานะทางทะเบียน หรือคนที่รอพิสูจน์สถานะบุคคล เป็นโครงการของสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดทำขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550
มาตรา 52 ที่บัญญัติว่า ให้ชนชาวไทยมีสิทธิเสมอกัน ในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ
และยังมีมาตรา 82 บัญญัติว่า ให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุข ให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
ด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ เคยเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2548 แต่สำนักงบประมาณไม่เห็นด้วย ด้วยเห็นว่าเกินกว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552 ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมการปกครอง ตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และอีกหลายหน่วยงาน มีมติให้ สปสช.เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการ การสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลที่รอการพิสูจน์สถานะ
โดยมีเหตุผลว่า การบริการสาธารณสุขเป็นเรื่องต้องดูแลทั้งระบบ และการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ เป็นเรื่องความมั่นคงของสังคมและประเทศ
และที่สำคัญ กลุ่มคนด้อยโอกาสควรได้รับการช่วยเหลือตามสิทธิพื้นฐานในรัฐธรรมนูญและพันธะสัญญาระหว่างประเทศ
ดังนั้น โครงการหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลที่รอการพิสูจน์สถานะ จึงเดินหน้าต่อ ถ้าได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี การบริหารจัดการจะเป็นอย่างไร
นพ.พงศธร บอกว่า ยอดของผู้รอการพิสูจน์สถานะประมาณ 500,000 คนนั้น ถ้าเข้าหลักประกันสุขภาพ ค่าประกันต่อหัวคือ 2,400 บาท เงินจำนวนนี้จะเข้ามาอยู่ที่ สปสช. จากนั้น จะจ่ายไปยังโรงพยาบาลที่ให้การรักษา
การจ่าย สปสช.จะจ่ายให้ทั้งผู้เป็นผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ค่าวัคซีน รวมไปถึงโรคเฉียบพลันอย่างไส้ติ่ง เป็นต้น ค่าประกันหัวละ 2,400 บาทต่อปีนั้น ผู้เอาประกันสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรค และไม่จำกัดว่าค่ารักษาจะน้อย หรือมากเพียงใด
นพ.ประทีป บอกว่า การพิสูจน์สัญชาติก็ทำกันไปตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ เราต้องมาดูแลกัน โดยให้หลักประกันสุขภาพของบุคคลเหล่านี้ เป็นการเหมาจ่ายรายหัว เมื่อเจ็บป่วยขึ้นมาก็เข้ามารับการรักษาได้เลย
โรคในกลุ่มคนไร้สถานะทางทะเบียนที่พบ ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2551 นั้น สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า 10 อันดับแรก ได้แก่ อุจจาระร่วง มาลาเรีย ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ปอดปวม ไข้เลือดออก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาหารเป็นพิษ วัณโรค ตาแดง และอีสุกอีใส
“ความมั่นคงของประเทศ ผมว่าต้องขึ้นอยู่กับความมั่นคงในสุขภาพของประชาชนด้วย” นพ.ประทีปบอก
ผลดีของโครงการประกันสุขภาพ ที่คาดว่าจะได้รับ สปสช.ระบุว่า จะทำให้มีระบบการจัดการ เรื่องข้อมูลข่าวสาร การเฝ้าระวังโรคระบาด เมื่อเกิดความผิดปกติใดๆ จะได้รู้ปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงที
ลดปัญหาโรคระบาดในประเทศ อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ลดภาระค่าใช้จ่ายของหน่วยงานสาธารณสุข และที่สำคัญ จะเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ในฐานะประเทศที่ให้ความสำคัญและปฏิบัติตามข้อมติของประชาคมโลก ทั้งองค์การสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก
เพื่อให้บุคคลไร้สถานะเข้าถึงการรักษา นพ.พงศธร บอกว่า เมื่อโครงการหลักประกันสุขภาพผ่านความเห็นชอบ สปสช.จะให้ความรู้กับผู้นำชุมชนในเรื่องสิทธิการรักษา เพื่อจะได้อธิบายให้ชาวบ้านรู้และเข้าใจต่อไป
พลางสรุปว่า โครงการนี้ “คนดีช่วยคนป่วย คนรวยช่วยคนจน”
ธรรมชาติของชีวิต จริงอยู่ว่า “ไข้ต้องมีหมอ โรคต้องรอยา อยู่ในดงในป่า ใครไม่ฆ่าเขาก็ต้องตาย” อย่างที่ดำ แดนสุพรรณ ร้องเพลงบอกไว้ แต่มีปัญหาเรื่องนี้อยู่ที่ ก่อนตายเราจะดูแลกันหรือไม่ และอย่างไร
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
Update : 25-03-53
อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่