ทำอย่างไรห่างไกลสมองเสื่อม
ที่มา: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
แฟ้มภาพ
การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สำหรับ ผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้ ควรเลือกการเต้นแอโรบิก กายบริหาร ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือเดินเร็ว
การฝึกสมองประลองเชาวน์ ฝึกหัดทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดและเพิ่มความสามารถ การทำงานของสมองด้านต่าง ๆ เช่น บวกลบคูณหารตัวเลข หรือวาดรูปเพื่อกระตุ้นความคิด ฝึกความจำ ความคิด สมาธิ และการแก้ปัญหาด้วยการเล่นเกมลับสมองที่ไม่ยากจนเกินไปจนทำให้เกิดความเครียดตามมา หรือฝึกสรุปใจความสำคัญของข่าวสารต่าง ๆ ที่ได้ยินจากวิทยุหรือโทรทัศน์ ฝึกทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น ฝึกเล่นดนตรี เต้นรำ ลองเขียนหนังสือ หรือแปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ทั้งหมดนี้ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นสมองได้ดี และผู้สูงอายุสามารถทำได้ไม่ยาก
มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาทิ ผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุรา พยายามไม่ให้ศีรษะได้รับบาดเจ็บ มีกิจกรรมทางกาย เช่น ทำงานบ้าน เดินแทนการนั่งรถ ทำสวน ฯลฯ มีกิจกรรมทางสังคม ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนอาการนอนไม่หลับ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาคุณภาพการนอนที่ลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่สดชื่น โดยมีสาเหตุจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามวัย รวมถึงอาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล อาการปวดต่าง ๆ กรดไหลย้อน ปัญหาการหายใจ หรือโรคนอนกรน ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ผลข้างเคียงจากยา