ทำความเข้าใจ ‘อาการโรคจิต’
ที่มา : หนังสือการปฐมพยาบาลด้านสุขภาพจิต
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
อาการโรคจิตเป็นอาการที่คนทั่วไปจะคิดว่าเป็นอาการที่น่ากลัว คนที่มีอาการนี้ไม่ควรเข้าใกล้ บางคนเกิดอาการอายเมื่อมีคนรู้จักหรือคนในครอบครัวมีอาการนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ ต้องการความเข้าใจจากคนรอบข้าง ดังนั้น มาทำความเข้าใจกันสักหน่อยว่าอาการโรคจิตเป็นอย่างไร
รู้อย่างไรว่าใครมีอาการโรคจิต
สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้สัญญาณเตือนของโรคจิต แม้ว่าแต่ละอาการจะไม่โดดเด่น แต่ถ้าดูรวมๆ แล้วจะพบว่าไม่ปกติซึ่งเราไม่ควรเพิกเฉย บางคนอาการเตือนเหล่านี้จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือไม่ชัดเจน และไม่ควรเหมารวมว่าบุคคลนั้นอาการดีขึ้นหรือเป็นอาการจากการใช้แอลกอฮอล์หรือยาหรือคิดว่าอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเอง
อาการที่พบบ่อยเมื่อเกิดโรคจิต
- อารมณ์และแรงจูงใจ เปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวลหงุดหงิดง่าย ระแวง สงสัย อารมณ์ เฉยเมย ไม่ยินดียินร้ายหรือแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม ไม่อยากกินอาหาร หรือไม่มีเรี่ยวแรงและขาดแรงจูงใจ
- ความคิดและการรับรู้ เปลี่ยนแปลงไม่สามารถจดจ่องานหรือไม่มีสมาธิ การรับรู้ตนเอง คนอื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเปลี่ยนแปลง(เช่น รู้สึกว่าตัวเองหรือคนอื่นเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรที่แตกต่างออกไป) มีความคิดประสบการณ์รับรู้แปลกๆ (หูแว่ว) ประสาทหลอน รับรู้กลิ่นเสียงสีมากขึ้นหรือลดลง)
- พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ปัญหาการนอน แยกตัวไม่เข้าสังคม หรือทำงานไม่ได้หรือไม่เสร็จ (อาการอาจแตกต่างในแต่ละคน อาจต้องพิจารณาถึงความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นของพฤติกรรมบางอย่าง)
เข้าช่วยเหลือผู้ที่อาจมีอาการโรคจิตอย่างไร
ผู้ที่มีอาการโรคจิตมักไม่ได้รับการช่วยเหลือ บางคนมีอาการชัดเจนเปลี่ยนแปลงอย่างมาก บุคคลและครอบครัวมักเก็บอาการไว้เป็นความลับ ถ้าหากคุณต้องการช่วยเหลือควรเข้าไปช่วยด้วยความห่วงใยและไม่ตัดสินคุณค่า บอกถึงความห่วงใย บุคคลนั้นอาจไม่ไว้วางใจหรือกลัวว่าคนอื่นจะรู้ว่าตนแปลกๆ ไปและอาจไม่เปิดเผยอาการ คุณควรพบกับบุคคลนั้นและพูดคุยเป็นการส่วนตัวในสถานที่ไม่หันเหความสนใจง่าย การช่วยเหลือจะต้องปรับตามแต่บุคคล เช่น ผู้ที่มีความระแวงสงสัยมักจะหลบสายตา คุณจะต้องไวหรืออ่อนไหวกับสิ่งนี้ ควรมีช่องว่างหรือมีพื้นที่ส่วนตัวระหว่างคุณและบุคคลนั้น ไม่ควรแตะหรือสัมผัสตัวบุคคลนั้นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต และคุณควรบอกว่าห่วงใยพฤติกรรมอะไรและไม่ควรคาดเดาเรื่องการวินิจฉัยโรค แต่คุณยินยอมให้บุคคลนั้นพูดถึงประสบการณ์ความเชื่อของเขา (ถ้าเขาต้องการ) คุณให้บุคคลนั้นทำตัวตามสบายตามแต่ลักษณะของบุคคล แต่ต้องตระหนักว่า บุคคลนั้นอาจตระหนกหรือตื่นกลัวกับความคิดและการรับรู้นั้น ถามว่าจะให้ช่วยอะไรที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยและควบคุมตนเองได้ ซึ่งทำให้บุคคลนั้นรู้สึกมั่นใจว่าคุณจะช่วยเหลือและสนับสนุนเขาได้ และเสนอทางเลือกเพื่อช่วยให้บุคคลนั้นควบคุมสถานการณ์ได้บ้าง สื่อถึงความหวังว่ามีการช่วยเหลือที่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าบุคคลนั้นไม่ต้องการพูดกับคุณก็ไม่ควรบังคับให้พูด แต่ถ้าต้องการพูดคุณพร้อมรับฟัง
เพียงแค่ทำความเข้าใจและเปิดใจยอมรับคนกลุ่มนี้ แล้วปฏิบัติกับคนกลุ่มนี้เหมือนมนุษย์คนหนึ่ง มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกัน ทุกคนอยู่ร่วมกันได้