‘ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ’ ขออากาศคืนปอดให้คนไทย

          /data/content/25299/cms/e_dklrtuvxy145.jpg


         วันนี้เมื่อเดือนที่ผ่านมา "ปานมณี" จำภาพประทับใจได้แน่นแฟ้น ยิ่งกว่าจำภาพ "แผลเก่า"ที่เคยประทับใจมาในอดีต วันนี้ของวันนั้น บนถนน ตลอดเส้นทางจากสวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ ไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและสิ้นสุดที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถาน ต่างคลาคล่ำไปด้วยนักปั่นจักรยานหลายร้อยชีวิต ที่รวมพลังมาร่วมกันถีบสองล้อคู่ใจ เพื่อป่าวประกาศ และ แจกสติ๊กเกอร์รณรงค์กระตุ้นเตือนให้ประชาชนคนเมืองทั่วไปหันมาใส่ใจต่อสุขภาพปอดของตัวเอง ในกิจกรรม "วิ่ง ปั่น : รวมพลัง ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ"นอกจากคาราวานของ บรรดาจักรยานสองล้อแล้ว ยังมีนักวิ่งอีกหลายร้อยชีวิตเช่นกันที่มาร่วมวิ่งรณรงค์จากสวนรถไฟไปยังศูนย์การค้าเจเจมอลล์ ซึ่งนับเป็นอีกโปรเจกท์หนึ่งที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความสำคัญ ในการสร้างสรรค์อากาศบริสุทธิ์ให้กับคนเมืองหลวง


          ต้นสายปลายเหตุที่ต้องเกิดกิจกรรมให้ คนกลุ่มใหญ่ต้องรวมตัวกันมารณรงค์ ก็เพื่อทวงสิทธิ์ห้ามสูบ(บุหรี่)กันในสถานที่สาธารณะตามที่กฎหมายได้วางเอาไว้ …. เพราะปัจจุบันนี้มีการละเมิดกฎหมายด้วยการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะกันเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น หากไม่มีใครออกมา ทวงสิทธิ์ ตามกฎหมายที่สาธารณชนจะต้องได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ในสถานที่ สาธารณะต่างๆ


          ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. ให้ข้อมูลว่า แม้จะมีการออกประกาศให้พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ปลอดควันบุหรี่ แต่กลับ พบว่ามีการละเมิดเป็นจำนวนมาก อย่างสวนสาธารณะมีการ ฝ่าฝืนถึง 60% แต่ที่หนักที่สุดคือ บริเวณตลาด มีการละเมิด มากถึง 75% ส่วนสถานีขนส่ง ร้านอาหารไม่มีเครื่องปรับอากาศมีการละเมิดอยู่ที่ 50-60% ซึ่งการที่ตลาดมีการละเมิดมาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ตามกฎหมาย เพราะเป็นสถานที่ล่าสุดที่เพิ่ง มีการประกาศเป็นพื้นที่ปลอดควันบุหรี่ หลังจากที่ก่อนหน้านั้น ประกาศห้ามสูบในพื้นที่สถานพยาบาล โรงเรียน และ สวนสาธารณะ


          เรียกได้ว่าเป็นการสูบบุหรี่แบบหน้าซื่อๆ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำผิดกฎหมายอยู่ หนทางแก้ปัญหา จึงต้องทำให้ คนทั่วไปรู้ให้ได้ ว่า เวลานี้เรามีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เพิ่มมากขึ้น และวิธีหนึ่งที่สื่อสารได้ชัดเจนก็คือ การติดป้าย ห้ามสูบ ณ สถานที่นั้นๆ ซึ่งเชื่อว่าคนสูบบุหรี่ส่วนใหญ่เมื่อรับรู้ว่า พื้นที่นี้เป็นสถานที่ห้ามสูบก็จะไม่สูบ


          ดังนั้น หากมีการติดป้ายห้ามสูบตามที่สาธารณะเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ผู้สูบบุหรี่หาที่สูบยากขึ้น จนเลิกสูบไปได้ในบางกรณี นอกจากนี้ จะต้องรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปรับรู้ด้วยว่าพื้นที่ใดเป็นที่ห้ามสูบ เพื่อคนที่ไม่สูบจะได้หันมาช่วยประกาศว่าพื้นที่สาธารณะนี้เป็นที่ห้ามสูบ และช่วยให้คน ที่สูบบุหรี่รู้ตัวว่า พื้นที่ใดที่เขาสูบได้บ้างหรือสูบไม่ได้ เรียกว่า กิจกรรมรณรงค์ทวงสิทธิ์ห้ามสูบ ในครั้งนี้ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งกุศล คือ ทำให้คนติดยา เลิกติดยา และ ทำให้คนอยู่กันในสังคมแห่งความสุขที่ปราศจากอากาศพิษ


          "การรณรงค์วิ่ง ปั่น ในครั้งนี้ จึงเหมือนเป็นการปกป้องคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะคนไม่สูบบุหรี่มีสัดส่วนกว่า 80% ของประเทศ คนสูบบุหรี่มีเพียง 20% เท่านั้น แต่การสูบในที่สาธารณะ จะทำให้คนส่วนใหญ่ที่ไม่สูบได้รับควันบุหรี่มือสองเข้าไปด้วย ซึ่งมีผลวิจัยชัดเจนว่าก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพไม่แพ้ ผู้ที่สูบเอง" ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล กล่าวยืนยันสอดคล้องกับหนุ่มนักวิ่งอย่าง นายกรสรรค์ เอนกศักยพงศ์หนุ่มรักสุขภาพที่มาร่วมกิจกรรมการวิ่งต่างๆ อยู่สม่ำเสมอ สะท้อน ความเห็นให้ฟังว่า คนส่วนใหญ่มักทราบแค่ว่าพื้นที่สาธารณะห้ามสูบบุหรี่ แต่รายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ว่าจุดใดที่ห้ามสูบบ้าง หรือมีโทษอย่างไรจะไม่ทราบเลย แม้แต่ตนซึ่งเป็นคนที่ไม่สูบบุหรี่ ยังไม่ทราบเลยว่าจุดไหนบ้างที่เป็นพื้นที่ห้ามสูบ ซึ่งการมาร่วมวิ่งรณรงค์ในครั้งนี้จะมีการปฐมนิเทศให้ความรู้เราก่อน ว่าจุดใดบ้าง ที่ห้ามสูบ/data/content/25299/cms/e_abortxyz1568.jpgบุหรี่ ซึ่งนอกจากทำให้ตัวเองมีความรู้แล้ว ระหว่าง วิ่งรณรงค์ยังนำความรู้นี้ไปบอกต่อกับประชาชนทั่วไปได้ด้วย เป็นการช่วยให้คนทั่วไปรับรู้สิทธิ์ตัวเองมากขึ้นว่า หากพบคนสูบบุหรี่ ในที่ห้ามสูบ เรามีสิทธิ์ที่จะทวงพื้นที่ปลอดควันบุหรี่นี้คืนได้ เพราะคุณกำลังทำผิดกฎหมายอยู่


          ทางด้าน นายนิพนธ์ บุญญภัทโร อายุ 82 ปี ประธานที่ปรึกษาชมรมจักรยานพับได้แห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นขาประจำของการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่คนหนึ่ง แสดงทรรศนะว่า การรณรงค์ในครั้งนี้เป็นเรื่องที่ดี แต่ยังไม่จุใจควรที่จะต้องมีการจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง จะยิ่งช่วยให้คนสูบบุหรี่รู้ตัวมากขึ้นว่า พื้นที่ไหนที่เขาจะสูบบุหรี่ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว และยังช่วยทำให้คนที่ไม่สูบบุหรี่และอยากบอกแก่ผู้สูบบุหรี่มาตลอดได้มีพื้นที่ในการ บอกหรือแสดงออก อย่างตนเคยสูบบุหรี่มาก่อนก็พบว่าป่วยบ่อย ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ตนหยุดสูบและหันมาปั่นจักรยานออกกำลังกายก็พบว่าสุขภาพดีขึ้น แม้จะอายุเลย 80 แล้วก็ตาม ยังสามารถขี่ได้ 10 กว่ากิโลเมตร ร่างกายมีสุขภาพดี ไม่ค่อย เจ็บป่วยเหมือนเคย นอกจากนี้ เวลามาปั่นจักรยานกับคนในชมรม ก็จะมีเด็กรุ่นใหม่เข้ามาดูแล สุขภาพจิตก็ดีด้วย ซึ่งหากทุกคน มาช่วยกันรณรงค์นอกจากได้มิตรภาพใหม่ๆ แล้ว ยังได้สุขภาพ ที่ดีด้วย


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า


          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code