ถอดรหัสจังหวะการเต้น เสริมสร้างสุขภาพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ถอดรหัสจังหวะการเต้น เสริมสร้างสุขภาพ thaihealth


แฟ้มภาพ


ถอดรหัสจังหวะการเต้นหัวใจ เช็คอาร์ทเรทโซน สริมสร้างสุขภาพตามเป้า


"จังหวะการเต้นของหัวใจ" เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพพัฒนาตัวเอง ยกระดับไปให้ถึงเป้าหมายด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย มร.หลุยส์ ลายย์ ผู้จัดการประจำประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มร.อเล็กซานเดอร์ ฮีลีย์ผู้จัดการการตลาดบริหารด้านผลิตภัณฑ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัว "ฟิตบิทอัลธ่า เอชอาร์" สายรัดข้อมือฟิตเนสรุ่นเพรียวบางที่สุดแห่งยุค เพิ่มเทคโนโลยีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อให้ออกกำลังกายได้อย่างพอเหมาะพอดี รวมถึงปริมาณแคลอรีที่ต้องการใช้และเผาผลาญในแต่ละวัน นอกจากนี้ ยังสามารถดูข้อมูลการนอนเชิงลึก โดยสามารถประเมินผลให้คำแนะนำส่วนบุคคลเพื่อปรับปรุงการนอนหลับและสุขภาพโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ในโอกาสเดียวกันนี้ พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ แพทย์ชะลอวัยทางด้านสุขภาพของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ รพ.บำรุงราษฎร์ ร่วมพูดคุยถึงความสำคัญของการนอนหลับ รวมถึงประสิทธิภาพของการนอนในแต่ละคืนว่า แต่ละคนมีความต้องการมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ รูปแบบการใช้ชีวิต โดยเฉลี่ยการพักผ่อนที่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงจะทำให้ร่างกายขาดความกระตือรือร้น ตอบสนองช้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอารมณ์แปรปรวน นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น


ปกติแบ่งวงจรการนอนเป็นช่วง ๆ ได้แก่ช่วงหลับตื้น ช่วงหลับลึก และช่วงหลับ REM ซึ่งจังหวะการหายใจจะไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อผ่อนคลายมาก ในช่วงวงจรการนอนในแต่ละคืนจะมีช่วงที่สะดุ้งตื่น หรือช่วงที่สมองยังไม่ได้พักผ่อนอย่างสนิท ทำให้อาจรู้สึกเพลียหรืออ่อนล้าในวันต่อมา หากสามารถทราบข้อมูลเชิงลึกของการนอนแต่ละคืนว่า เรามีการนอนแบบไหน จะช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ตรงจุดมากขึ้น


ถอดรหัสจังหวะการเต้น เสริมสร้างสุขภาพ thaihealth


ด้านเทรนเนอร์หนุ่มสุดฮอต โค้ชโอ๊ต-ภคพงศ์ วิเศษสินธุ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. นำทีมเวิร์กช็อปการออกกำลังกายพร้อมแนะนำเทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่สัมพันธ์กับอัตราการเต้นหัวใจ ว่า การออกกำลังกายที่ดีนั้นต้องคำนึงถึงอัตราการเต้นของหัวใจเป็นหลัก หากออกกำลังกายแล้วอัตราการเต้นมีระดับสูงจนเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เพราะเส้นเลือดจะสูบฉีดมาก หัวใจเต้นเร็วทำให้ช็อกหมดสติ หรือเส้นเลือดแตกได้ โดยระหว่างหรือหลังการออกกำลังกายควรเช็ก "ฮาร์ทเรตโซน" หรือระดับอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในการออกกำลังกายของแต่ละคน คำนวณได้จากสูตร (220-อายุ) คูณเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของการออกกำลังกาย (โดยเฉลี่ยแนะนำให้อยู่ระหว่างร้อยละ 60-70


นอกจากความเหมาะสมกับสภาพร่างกายแล้ว การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะพอดี ยังส่งผลให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายที่หนักจนเกินกว่าร่างกายรับไหว หรือทำให้มีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้เกิดภาวะโอเวอร์เทรนนิ่ง ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย ส่วนหนึ่งของผลที่ตามมาคือ อาจทำให้เกิดการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก เพราะร่างกายยังคงสภาพตื่นตัวอยู่นั่นเอง.

Shares:
QR Code :
QR Code