ถอดบทเรียนรับมือน้ำท่วมภาคใต้

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากสุขภาวะชุมชน


ถอดบทเรียนรับมือน้ำท่วมภาคใต้ thaihealth


น้ำท่วมล่าสุดในพื้นที่ภาคใต้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สิน เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกของอุทกภัย หากมองโลกในแง่บวกในความสูญเสียได้สร้างบทเรียนในการปรับตัวที่จะอยู่กับธรรมชาติในอนาคต


"ประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมรอบนี้ว่าเป็นเหตุการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์รอบ 50 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นว่าภาพรวมนับตั้งแต่ เหตุการณ์สึนามิ 2547 ภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ทวีความรุนแรงทั้งความถี่และความเสียหายที่ขยายวงกว้างมาก หรือหากเจาะจงเฉพาะเรื่องน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้นั้นเกิดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2554 เกือบทุกปี จนมาครั้งนี้ที่หนักที่สุด


โกเมศร์ ทองบุญชู ผู้จัดการโครงการขับเคลื่อนการจัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน โดยคณะกรรมการพัฒนาตำบล และผู้ประสานงานเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจากธรรมชาติพื้นที่ภาคใต้ โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บอกเล่าโกเมศร์ บอกตามถอดบทเรียนรับมือน้ำท่วมภาคใต้ thaihealthนักวิชาการที่พูดกันเสมอว่า สาเหตุมาจาก 2 ส่วนสำคัญคือ 1.การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก หรือภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้เกิดน้ำป่า น้ำท่วม น้ำแล้ง  2.เกิดจากน้ำมือมนุษย์ที่ทำลายป่า ทั้ง ถมที่ ตัดถนน ขวางทางน้ำ และชุมชนขยายตัวโดยไม่มีการวางแผน เช่นที่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ชาวบ้านไปปลูกบ้านแถวคลองชะอวดพอน้ำไหลลงมาจากเทือกเขาบรรทัดก็ต้องไหลไปตามลำคลองเมื่อมาเจอกับคอขวดก็ทำให้เกิดภาพอย่างที่เห็น


"ครั้งนี้หนักที่สุดถือเป็นภัยพิบัติที่รุนแรง ที่ อ.ชะอวด น้ำที่มาจากเทือกเขาบรรทัด ฝั่งตะวันออก พอลงมาผ่านชะอวดซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำจากนั้นก็จะขยายวงกว้างไปสู่พื้นที่ อ.เฉลิม พระเกียรติ อ.หัวไทร อ.เชียรใหญ่ อ.ปากพนัง  ถึงขั้นวิกฤติ ส่วนหนึ่งมาจากน้ำท่วมไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปลายปียังไม่ทันระบายหมด ทิ้งช่วงไม่กี่วันฝนตกลงมาเพิ่มเหมือนปริมาณน้ำบวกสอง คือน้ำต้นทุนเดิมที่มีอยู่ และน้ำตกลงมาใหม่" โกเมศร์อธิบาย


ในฐานะคนในพื้นที่รู้ปัญหานี้ดีและพยายามที่จะป้องกัน แต่ธรรมชาติเอาคืนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ความเสียหายจึงเพิ่มขึ้น โกเมศร์เล่าให้ฟังว่าก่อนเกิดเหตุทางเครือข่ายได้ประสานงานกับทางฝ่ายปกครอง อ.ชะอวด มีการเฝ้าระวังตลอดจนแจ้งเตือนทางหอกระจายข่าว ขณะที่ทางกรมชลประทานได้แจ้งเตือนให้ประชาชนขนของขึ้นที่สูง แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะประชาชนคือเตรียมตัวเท่าเดิมไม่คิดว่าน้ำจะมามากกว่าปกติ


ถอดบทเรียนรับมือน้ำท่วมภาคใต้ thaihealthถอดบทเรียนรับมือน้ำท่วมภาคใต้ thaihealth


ความสูญเสียจากเหตุการณ์น้ำท่วม โกเมศร์ชี้ให้เห็นปัญหาอีกด้านหนึ่งว่า อยู่ที่การแจ้งเตือนในพื้นที่ ซึ่งเมื่อหน่วยงานราชการไม่มีการแจ้งเตือนจากระดับบนทำให้ในพื้นที่ก็ไม่กล้าสั่งอพยพหรือเตรียมการได้อย่างทันท่วงที พอสิ้นเสียงเตือนน้ำก็มาถึงพอดี อีกส่วนคือข้อมูลวิชาการที่กรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่าฝนตกประมาณ 40-70% ภาคใต้ฝั่งตะวันออก แต่มันก็กว้างตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาส การเฝ้าระวังจึงทำได้ยาก ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงเรื่องข้อมูลให้ชัดเจนละเอียดขึ้น


สิ่งที่สำคัญในการรับมือภัยพิบัติคือต้องปลุกภาคชุมชนให้ลุกขึ้นมาร่วมมือจัดการกับปัญหาในพื้นที่ เพราะไม่สามารถพึ่งหน่วยงานภายนอกได้ในระยะเร่งด่วนวิกฤติ ยกตัวอย่างที่อ.ชะอวด มี 3 ตำบล ที่มีการตั้งอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ เขาก็ไม่เดือดร้อนเพราะเตรียมตัวรับมือมีกระบวนการเรียนรู้วิเคราะห์สถานการณ์ ว่าต้องอพยพไปจุดไหน มี การซ้อมทุกปี อาสาสมัครต้องขับเรือ ขับรถบรรทุกได้ มีการเตรียมอาหาร กำหนดพื้นที่ ตลอด โกเมศร์ จนลานจอดเฮลิคอปเตอร์กรณีฉุกเฉิน


ถอดบทเรียนรับมือน้ำท่วมภาคใต้ thaihealth


สำหรับข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ เบื้องต้นเมื่อมีเสียงเตือน ต้องอพยพก่อน เริ่มจากเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ชุมชนจะต้องมีข้อมูลว่าบ้านไหนมีผู้ป่วยติดเตียง เด็ก คนชราเท่าไหร่ เพื่อจะได้อพยพได้ ซึ่งจะต้องเลือกพื้นที่พักพิงเป็นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง มีเส้นทางสัญจรเข้าถึงได้ เพื่อให้หน่วยงานที่จะเข้าไปช่วยเหลือทำได้สะดวก ซึ่งเวลานี้มีเครือข่ายจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้เพียงแค่ 40 ตำบลเท่านั้น แต่มีชาวบ้านบางส่วนไม่อพยพเพราะเป็นห่วงทรัพย์สิน


"ในการสร้างกระบวนการเครือข่ายฯ ซึ่งสร้างได้ยากเพราะการสร้างเครือข่ายอาสาจัดการภัยพิบัติมันต้องเอาจิตใจคนเป็นที่ตั้ง แม้จะมีทรัพยากรพร้อมก็ไม่ใช่ตั้งได้ง่าย เราต้องเอาผู้ที่ประสบภัยมาเรียนรู้ บทเรียนจากครั้งนี้เชื่อว่าคนที่จะเข้ามาเรียนรู้น่าจะเพิ่มมากขึ้น" โกเมศร์ ทิ้งท้าย.

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ