ต้นแบบ อบต.เหล่าดอกไม้ ตั้งกองทุนฌาปนกิจขยะ

ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ต้นแบบ อบต.เหล่าดอกไม้ ตั้งกองทุนฌาปนกิจขยะ  thaihealth


"ขยะ" เป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกพื้นที่ต้องเผชิญ แต่ในพื้นที่ชุมชนจะนำขยะเหล่านี้มาเปลี่ยนแปลงให้เกิดมากขึ้น


ล่าสุดที่โรงแรมตักสิลา จ.มหาสารคาม สภาฮักแพง เบิ่งแงง คนมหาสารคามร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานมหกรรมรวมพลคนจัดการขยะ จ.มหาสารคาม ในงานมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และเครือข่ายจัดการขยะร่วมโชว์ผลงานกันอย่างคึกคัก


ดร.โชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบว่า ปี 2556 จ.มหาสารคามมีขยะมูลฝอย เพิ่มขึ้นวันละ 960 ตัน หรือ 350,389 ตันต่อปี ซึ่งขยะมูลฝอยเป็นทรัพยากรที่ต้นแบบ อบต.เหล่าดอกไม้ ตั้งกองทุนฌาปนกิจขยะ  thaihealthสามารถนำกลับมาใช้ ประโยชน์ใหม่ได้ถึง 70%ที่ผ่านมา เครือข่ายฮักแพง เบิ่งแงง คนมหาสารคาม อปท.ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันวิเคราะห์และออกแบบกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมใน 23 อปท. และได้เห็นรูปธรรมความสำเร็จของแต่ละพื้นที่ที่สามารถนำมาขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆจ.มหาสารคาม จึงได้มอบให้ท้องถิ่นจังหวัดขับเคลื่อนให้ เกิดนโยบายสาธารณะ ในการจัดการขยะมูลฝอยในท้องถิ่นทั้ง 170 แห่ง เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนทั้งจังหวัดในการลดปริมาณขยะ


ด้าน ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส.อธิบายว่า การทำงานของ สสส. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่จ.มหาสารคาม ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และความคิดเห็นของคนในจังหวัด ซึ่งพบว่าปัญหาขยะเป็นวิกฤติใหญ่ที่คนในพื้นที่ ตระหนักว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องร่วมกันจัดการ เพราะพื้นที่รับขยะ กำลังจะเต็มแล้ว ทุกฝ่ายได้มองเห็นร่วมกันว่าต้องมีการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางโดยใช้หลัก "3 R" คือ Reduce-ลดการใช้  Reused-นำกลับมาใช้ใหม่ และ Recycle-รีไซเคิล โดยให้มีทีมนักวิชาการทำงานร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดและเครือข่ายท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง


ส่วนนายจรัส ชิฌเฮือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เหล่าดอกไม้ อ.ชื่นชมเล่าว่า เนื่องจาก อบต.เหล่าดอกไม้ มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะไปทิ้งนอกพื้นที่สูงถึงปีละ 2 ล้านบาท แต่ละวันจะมีปริมาณขยะถึง 3 ตันต้นแบบ อบต.เหล่าดอกไม้ ตั้งกองทุนฌาปนกิจขยะ  thaihealthจึงเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการขยะในปี2557 ด้วยการจัดทำประชาคมร่วมกับ 11 หมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากชาวบ้านในการคัดแยกขยะจากต้นทางโดยแบ่งขยะเป็น3 กลุ่มคือ 1.ขยะรีไซเคิลที่ขายได้ 2.ขยะเปียกและกิ่งไม้ใบไม้ที่ขายไม่ได้ ก็จะแปรรูปเป็นปุ๋ยชีวภาพ และ 3.ขยะอันตราย ซึ่ง อบต.จะเป็นผู้จัดเก็บ โดยงบประมาณ จาก สสส.เข้ามามีส่วนสนับสนุนด้านพี่เลี้ยงที่ช่วยกระตุ้นและพัฒนาแกนนำนักจัดการขยะในชุมชน และการอบรมให้ความรู้กับประชาคมในหมู่บ้าน


"มีการตั้งกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์จากขยะรีไซเคิล โดยครอบครัว ที่ขายขยะให้กับกองทุนฯ ครบ 6 เดือนอย่างต่อเนื่อง หากมีผู้เสียชีวิตในครอบครัวจะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนรายละ 12,000 บาท โดยทุกเดือน แต่ละครัวเรือนต้องนำขยะรีไซเคิลมาขายให้ได้ยอดเงินและเหลือ คงไว้ในสมุดคู่ฝาก ไม่น้อยกว่า 300 บาท ซึ่งจะมีพนักงานของ อบต. ออกไปรับซื้อขยะ ตามวันเวลาที่ตกลงกัน ปัจจุบันมีเงินในกองทุนฯถึง 500,000 บาท และปริมาณ ขยะในชุมชนก็ลดน้อยลง จากเดิมวันละ 3 ตัน เหลือเพียง 500-600 กิโลกรัมต่อวัน ทำให้มีรายจ่ายการจัดการขยะลดลง"นายก อบต.เหล่าดอกไม้ กล่าว

Shares:
QR Code :
QR Code