‘ตราด’ นำร่องจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้

         ตราด จังหวัดนำร่องปฏิรูปการเรียนรู้ ยกระดับคุณภาพการศึกษาภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่ใช้จังหวัดเป็นฐาน


/data/content/26531/cms/e_acgkluvwxy38.jpg


          สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมกันจัดทำโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ในพื้นที่นำร่องจำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ชลบุรี ตราด นครราชสีมา สุรินทร์ อำนาจเจริญ ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี เพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษาภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่ใช้จังหวัดเป็นฐาน หรือ Area-Based Education (ABE) โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของพื้นที่ทั้งในมิติความเป็นธรรม และคุณภาพของการศึกษาร่วมกัน ซึ่งการรณรงค์สื่อสารกลายเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความร่วมมือจากคนทุกภาคส่วน โดยได้จัดเวทีเสริมศักยภาพ “สักสื่อสารรณรงค์” ในจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทิศทางในการขับเคลื่อนงานจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมบัดดี้ ริเวอร์ไซด์ โฮเทล ปากเกร็ด


          สำหรับการจัดเวทีในครั้งนี้ฯ กิจกรรมประกอบด้วย การกล่าวต้อนรับและกล่าวถึงความคาดหวังต่อนักรณรงค์สื่อสารในการช่วยขับเคลื่อนงานในกลุ่มจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ โดย นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค. , แนะนำแนวคิด “จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้: กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่ โดย ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ,จากนั้นเป็นการแบ่งปันประสบการณ์และยุทธศาสตร์การณรงค์จากบุหรี่ถึงงานสร้างสรรค์ โดยนายแพทย์ประกิจ วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และนายสันติ จิตระจินดา ผู้อำนวยการทางศิลปะ สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา (มายา) มีนายประสาน อิงคะนันท์ ผู้ดำเนินรายการ ในภาคบ่ายได้เรียนรู้กรณีศึกษาจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ : “Road Mapการศึกษาล้านนาสไตล์”โดยนายไพรัช ไหมชมพู เลขานุการภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูปการศึกษา มีนายพัฒนพงษ์ สุขมะดัน เป็นผู้ดำเนินรายการ, มีการแบ่งกลุ่มร่วมกันคิดร่วมกันฝันยุทธศาสตร์การสื่อสารรณรงค์ “พลังการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย ประเด็นการศึกษาเพื่อการมีงานทำ


          ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา ชลบุรีและเชียงใหม่,ประเด็นเด็กด้อยโอกาส ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี และสุรินทร์ ประเด็น อื่น ๆ ได้แก่ ตราด ภูเก็ต น่าน และอำนาจเจริญ ส่วนวันที่ 2 ของเวที ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานสื่อสารเพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้เยาวชนในพื้นที่ พลังนักสื่อสารขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา “ชวนคิด คำสำคัญ…จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้” โดยรศ.ดร.บุษบา สุธีธร อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งผู้เข้าร่วมเวที จะได้นำมาวางแผนการรณรงค์เผยแพร่การดำเนินการขับเคลื่อนจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ในจังหวัดของตนเองต่อไป โดยให้แต่ละจังหวัดมาจัดทำโครงการณรงค์สื่อสารจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้และนำเสนอ สสค.เพื่อขออนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการต่อไป โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ ธันวาคม 2557-พฤษภาคม 2558


 


          ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์


          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code