ดูแลข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ดูแลข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ thaihealth


แฟ้มภาพ


โรคข้อเข่า ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ทางทีมแพทย์จิตอาสา จึงลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และช่วยผ่าตัดรักษาให้ฟรี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา พบว่า โรงพยาบาลเบตงมีความร่วมมือกับมูลนิธิศัลย์ฯสร้างข้อต่อชีวิต ที่มี ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช รองคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธานมูลนิธิ และเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดข้อเข่าระดับประเทศ ได้นำทีมแพทย์จิตอาสาและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ มาช่วยผ่าตัดข้อเข่าให้แก่ผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเบตง ซึ่งโรคข้อเข่าถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเบตง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แม้กระทรวงสาธารณสุขจะมีการจัดบริการแต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากภาคเอกชนและมหาวิทยาลัย


"การมาช่วยผ่าตัดผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่โรงพยาบาลเบตง ทำให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนแพทย์ ได้รับการดูแลรักษาด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจาก ผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยแล้วหลายสิบราย และทำให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ของแพทย์กระทรวงสาธารณสุขด้วย" นพ.สุขุม กล่าว


ศ.นพ.กีรติ กล่าวว่า มูลนิธิต้องการช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้จะอยู่พื้นที่ห่างไกล ก็ไม่ต้องเสียโอกาส ได้รับการผ่าตัดรักษาที่มีศักยภาพไม่แตกต่างจากโรงเรียนแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับการผ่าตัดข้อที่โรงพยาบาลเบตงเมื่อวันที่ 4 ก.ย. ถือเป็นครั้งที่ 3 มีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด 10 ราย รวม 14 ข้อ ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ควรผ่าตัด คือข้อเข่าเสื่อมหรือข้อสะโพกเสื่อมระยะสุดท้าย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ช่วยเหลือตัวเองได้ยาก โดยแพทย์ของโรงพยาบาลเบตงจะคัดกรองเบื้องต้น จากนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของมูลนิธิ จะประเมินเรื่องความเสี่ยงต่ออันตราย


พญ.ปัทมพันธ์ อนันตาพงศ์ ผอ.ร.พ.เบตง กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่อำเภอเบตง มีการขึ้นลงเขาเพื่อทำการเกษตร ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม หลายรายประสบปัญหาการเดินทาง เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลไม่ได้มารับการรักษา ทำให้มีอาการเรื้อรัง ขณะที่แพทย์ออโธปิดิกส์เรามีเพียงท่านเดียว และไม่มีวิสัญญีแพทย์ ทำให้ไม่เพียงพอต่อการผ่าตัดรักษา แต่จากการประสานงานกับทางมูลนิธิศัลย์ฯ สร้างข้อต่อชีวิต ที่ได้นำทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น thaibet55 betder เครดิตฟรี

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ