ดึงนักเรียน-ผู้ปกครอง ฝึกทักษะเอาตัวรอด

ที่มา : สปริงนิวส์ 


ภาพประกอบจากสปริงนิวส์ 


ดึงนักเรียน-ผู้ปกครอง ฝึกทักษะเอาตัวรอด thaihealth


สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินฯ จัดค่ายรู้รอดปลอดภัย ดึงนักเรียน-ผู้ปกครอง ฝีกทักษะเอาตัวรอด-กู้ชีพฉุกเฉิน หวังต่อยอดสร้างโมเดลพัฒนาเด็กไทย


เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน เวลา 09.30 น.ที่โรงเรียนจำนงค์วิทยา สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ร่วมกับ รพ.ราชวิถี สำนักกิจการลูกเสือและกิจการนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง มูลนิธิร่วมกตัญญู ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้และฝึกทักษะ “ค่ายรู้รอดปลอดภัย” ครั้งที่ 6 ภายใต้โครงการส่งเสริมและป้องกันคนไทยไม่ให้เจ็บป่วยฉุกเฉิน สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และผู้ปกครองจากโรงเรียนจำนงค์วิทยา โรงเรียนสามัคคีบำรุงวิทยา และโรงเรียนอำนวยวิทยากว่า 68 คน เข้าร่วมกิจกรรม


นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการประชุมเชิงนโยบายเพื่อให้เด็กไทยรู้รอดปลอดภัย ที่จัดร่วมกับกระทรวงศึกษา (ศธ.) เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค ที่ผ่านมา อีกทั้งทางผู้อำนวยการโรงเรียนจำนงค์วิทยา ได้เข้าร่วมรับฟังข้อมูล เห็นว่า โรงเรียนเป็นย่านชุมชนที่มีเด็ก ประชาชนทุกวัยอาศัยหนาแน่น หากมีเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือพบผู้ป่วยเป็นลม หมดสติ ลมชัก อาหารติดคอ อาการบาดเจ็บแขนหักขาหัก น่าจะได้รับประโยชน์ หากมีการจัดสอนให้ความรู้ช่วยเหลือหรือเอาชีวิตรอดได้ หรือประสานแจ้งเหตุได้ทันท่วงที


“การสอนเด็กป.1-3 ให้เข้าใจและจำได้นั้นเป็นโจทย์หนัก เราจึงใช้วิธีนำผู้ปกครองมาร่วมบูรณาการ เชื่อมโยงเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก อย่างน้องจะนำความรู้ที่ได้ กลับไปสอนเด็กได้ กิจกรรมสุดท้ายเป็นการบูรณาการร่วมกันทั้งหมดโดยจำลองสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ เพื่อดูว่าหลังจากที่ฝึกปฏิบัติไป ทั้งเด็กและผู้ปกครองจะเอาตัวรอด หรือช่วยเหลือผู้อื่นได้ถูกต้องหรือไม่ เช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ หรือเหตุการร์แผ่นดินไหวในโรงหนัง การข้ามถนนที่ปลอดภัย ซึ่งต้องเอาความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดมาใช้ให้เกิดประโยชน์” นายแพทย์ไพโรจน์ กล่าว


ดึงนักเรียน-ผู้ปกครอง ฝึกทักษะเอาตัวรอด thaihealth


นายแพทย์ไพโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรม 2 วันที่ผ่านมา แรกๆ เด็กและผู้ปกครองมีความกล้าๆ กลัวๆ แต่ถือว่าปรับตัวได้เร็วมาก เริ่มสนใจ อยากเรียนรู้ สนุกสนาน ต้องขอบคุณวิทยากรภาคีทุกท่านที่ช่วยเหลือจนสำเร็จ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สอนวันนี้ไม่ได้หวังให้เด็กทำหรือจดจำได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยพ่อแม่ผู้ปกครองที่มาด้วยจะได้เห็น ได้ทำ เกิดกระบวนการคิดและสอนลูก ซึ่งเด็กจะค่อยๆ ซึมซับไปเรื่อยๆ จนสามารถเอาไปใช้ในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังมีทีมครูพี่เลี้ยง เด็กรุ่นพี่พี่เลี้ยง ที่ได้มาร่วมสังเกตุการณ์เพื่อที่ช่วยขยายความรู้ต่อไป อย่างไรก็ตาม หวังว่ากิจกรรมค่ายรู้รอดปลอดภัยจะมีส่วนช่วยต่อยอดเกิดเป็นโมเดลที่ใช้พัฒนาเด็กให้เกิดความรู้ความเข้าใจให้แก่โรงเรียนต่างๆ ได้ต่อไป เพื่อเด็กเหล่านี้เมื่อโตขึ้นจะพัฒนาตัวเองไปในทางดีได้


ดึงนักเรียน-ผู้ปกครอง ฝึกทักษะเอาตัวรอด thaihealth


ขณะที่ นางสาวธิติมา สำเนียงดี ผู้ปกครองของ “น้องคุณ” ด.ช.สิทธิคุณ เสาวภานนท์ อายุ 6 ขวบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสามัคคีบำรุงวิทยา กล่าวภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมว่า ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ นำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้จริง เพราะก่อนหน้านี้เคยประสบเหตุไฟไหม้ที่คอนโด ย่านประตูน้ำเวลาตี 1 ซึ่งห้องพักอยู่ติดกับห้องที่เกิดเหตุ ตอนนั้นตกใจทำอะไรไม่ถูกและไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะหนีไปทางไหน เพราะเกิดควันไฟปกคลุมทุกทาง และหลายคนสำลักควันไฟ ที่น่าหดหู่ใจที่สุดคือมีคนเสียชีวิต 1 ราย และนับว่ายังโชคดีที่ตนไม่ได้รับบาดเจ็บมาก ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนั้นจึงไม่เคยประมาทอีกเลย โดยการเข้าค่ายทำกิจกรรมในลักษณะนี้ จึงเกิดทักษะและมีความรู้เพิ่มขึ้น และอยากให้มีกิจกรรมดีๆ แบบนี้ทุกโรงเรียนด้าน


“น้องคุณ” กล่าวเสริมว่า ที่โรงเรียนไม่มีการเข้าค่ายหรืออบรมลักษณะนี้และ 2 วันที่อยู่ในค่าย ชอบและสนุกที่ได้เรียนรู้ ได้ฝึกปฏิบัติทุกฐาน เช่น เหตุการณ์จำลองแผ่นดินไหว ไฟไหม น้ำท่วม CPR เรียกรถฉุกเฉินต้องทำอย่างไร ช่วยอย่างไรตัวเองและคนอื่นถึงจะรอดปลอดภัย หลังจากนี้จะนำความรู้ที่ได้รับกลับไปใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และเล่าให้เพื่อนๆ คุณครู ที่โรงเรียนฟังด้วย

Shares:
QR Code :
QR Code