ซองยา ต้องมีชื่อยา’กินยา ไม่รู้ชื่อยา อันตรายกว่าที่คิด
การใช้ยาฟุ่มเฟือยและไม่เหมาะสม ถือเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยขณะนี้ แต่ละปียอดค่าใช้จ่ายการใช้ยาคนไทยยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 42.80 ของรายจ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด ซึ่งสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีค่าใช้จ่ายด้านยาเพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้น
แม้ว่าประเทศไทยจะเข้าถึงยาได้สูงแต่ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยร้อยละ 18-30 ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปัญหาอันเนื่องจากยา ทั้ง้ที่สามารถป้องกันได้ ขณะที่สิทธิผู้บริโภคเป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างมากช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการอย่างรอบด้าน ซึ่ง “ยา” ก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้น แต่ประชาชนยังรับรู้สิ่งที่ควรทราบน้อย เช่น ชื่อยา สรรพคุณ วิธีการใช้ และข้อระวัง เพราะไม่ว่าจะเป็นคลินิก ร้านขายยา หรือสถานพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ข้อมูลยาแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ บนซองยาจะมีเพียงแค่ขนาด และวิธีใช้ แต่ไม่มีธีใช้ แต่ไม่มีชื่อยาในฉลากยา
เครือข่ายเภสัช–ทันตะบุคลากรเพื่ออพัฒนาระบบสุขภาพพชุมชน จึงร่วมกับเครือรือข่ายเภสัชกรชุมชนคุ้ม คุ้ม ครองผู้บริโภค จ.ลพบุรี พบุรี เครือข่ายผู้บริโภคภาคภาคประชาชน จ.ลพบุรี และและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ริโภค จ.สมุทรสงคราม ภายใต้ายใต้การสนับสนุนของสำนักงานนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างรสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระดม ระดมความคิดและร่วมหารือ ถึงรือถึงประเด็นสิทธิที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบเมื่อได้รับยา เพื่อย้ำว่า “ซองยา ต้องมีชื่อยา”
การไม่ทราบชื่อยา ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ตามมาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแพ้ยาซ้ำ เพราะเมื่อแพ้ยาสิ่งที่ต้องทำคือไม่ใช้ยาดังกล่าวซ้ำ เพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจอันตรายถึงชีวิต
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการได้ยาเกินขนาด เพราะการรับยาจากคลินิกหรือร้านขายยาหลาย ๆ แห่ง หากไม่ทราบชื่อยาก็ทำให้จะเกิดโอกาสที่จะรับยาชนิดเดียวกันซ้ำ ทำให้เสี่ยงต่อการรับยาเกินขนาดได้ หรือทำให้ต้องใช้ยาที่แพงขึ้นเพราะไม่ทราบประวัติการใช้ยาที่ใช้มาก่อน
แล้วความสิ้นเปลืองก็จะตามมา เพราะผู้ป่วยบางราย เมื่อรับยาจากที่ใดแล้วอาการดีขึ้น ก็มักจะกลับไปรับยาซ้ำ หากมีการย้ายถิ่นฐานก็ไม่สามารถเปลี่ยนที่ซื้อยาได้ เพราะไม่ทราบชื่อยา ก็จำเป็นต้องกลับไปที่เดิมเพื่อให้ยาตัวเดิมที่ใช้แล้วมีอาการดีขึ้น
ภก.เด่นชัย ดอกพองด เครือข่ายเภสัช-ทันตะบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน อธิบายถึงผลการสำรวจ เรื่อง “การให้ข้อมูลยาของคลินิกและร้านขายยาแก่ผู้ป่วย จังหวัดศรีสะเกษ” เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้ข้อมูลยาของคลินิกแพทย์และร้านขายยา หลังทำการสำรวจ 20 แห่ง พบว่า คลินิก 8 แห่ง และร้านขายยา 10 แห่ง ไม่ให้ชื่อยาในฉลากยา โดยระบุเพียงขนาด และวิธีใช้เท่านั้น โดยมีคลินิกและร้านขายยาเพียงอย่างละ 1 แห่ง เท่านั้นที่ระบุชื่อยาในฉลากยา และส่วนใหญ่ก็มิได้ให้คำแนะนำผลข้างเคียง อาการไม่พึงประสงค์ ข้อควรระวัง และการปฏิบัติตัวขณะใช้ยา
“เมื่อเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ จะพบว่า มีการใส่ชื่อยาสามัญ หรือชื่อทางการค้าเสมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากหากคลินิกหรือร้านขายยาจะทำ แต่ส่วนใหญ่จะอ้างว่าไม่มีเวลาหรือยากที่จะปฏิบัติ ในอนาคตการแก้ปัญหานี้จะทำได้โดยทำให้เกิดสมุดบันทึกการรักษาการใช้ยาประจำตัวผู้ป่วย หรือสมาร์ทการ์ด ไม่ว่าจะรับยาจากไหน ก็ต้องมีประวัติบันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยทุกคน”
สิ่งที่ประชาชนควรได้รับจากคลินิกแพทย์และร้านขายยา เมื่อต้องรับยา เพื่อให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คือ ชื่อยาเป็นภาษาไทยหรือชื่อภาษาอังกฤษ เป็นชื่อสามัญทางยาหรือชื่อการค้า, ข้อบ่งใช้ของยาในแต่ละตัวว่ามีคุณสมบัติในการรักษาอย่างไร, ขนาดและวิธีใช้เพื่อบอกปริมาณยาที่ใช้ วิธีการบริหารยาเพื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิผลในการรักษาที่ดี, ผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา, ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติในขณะใช้ยา และการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยา
แน่นอนว่าถ้าปัญหาเหล่านี้มิได้รับการแก้ไข นอกจากผู้บริโภคจะต้องประสบกับภาวะเสี่ยงแล้ว ปัญหานี้จะยังไปถึงการเปลี่ยนยาบ่อย ๆ ใช้ยาซ้ำซ้อน กลายเป็นปัญหาการใช้ยาฟุ่มเฟือย ไม่เหมาะสม สุดท้ายปัญหาก็ตกไปเป็นของทุกคน คือ ภาระค่ายาที่สูงขึ้นในที่สุด
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์