ชูบทบาทพยาบาล ‘นักสร้าง’ สุขภาพ

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ชูบทบาทพยาบาล \'นักสร้าง\' สุขภาพ thaihealth


จากสถิติสุขภาวะคนไทยหลายปีที่ผ่านมา ผู้ป่วย โรคต่างๆ เริ่มมีอายุน้อยลง ทั้งเบาหวาน ความดัน หัวใจ


คนป่วยมีมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนด้านรักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น ถึงเวลาที่คนไทยต้องปฏิรูปการดูแลสุขภาพจาก "รักษา" เป็นการ "ส่งเสริมสุขภาพที่ดี" โดยเริ่มต้นจากเพิ่มบทบาทพยาบาลในการเป็น "นักซ่อม" เป็น "นักสร้าง" สุขภาพ


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับ สภาการพยาบาล และ 5 สถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ "แนวทางการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพและข้อเสนอเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับวิชาชีพการพยาบาล"


นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพ สสส.กล่าวว่า พยาบาลถือเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มวิชาชีพสุขภาพ ถือเป็นกลุ่มที่ อยู่กับผู้ป่วยมากที่สุด หากพยาบาลให้น้ำหนักการทำงานที่ การสร้างเสริมสุขภาพจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของระบบสุขภาพ  ชุดความรู้สำหรับบทบาทพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้เป็นการชี้นำการพัฒนาหลักสูตรและระบบการเรียนรู้สำหรับสร้างพยาบาลนักส่งเสริมสุขภาพ ให้เป็นกลไกที่สำคัญของการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป


มาตรการ 3 ไม่ ลดเบาหวาน "ไม่ดื่มน้ำอัดลม ไม่จิ้มพริกเกลือ ไม่เติมน้ำปลา" หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจจากปฏิบัติการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ โดยการริเริ่มของ สมยงค์ ทุ่งสาร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลมหาสวัสดิ์ นครปฐม เนื่องจากคนในชุมชนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันสูงขึ้น และเมื่อตรวจคัดกรองพบผู้ป่วยอายุ 13-14 ปี กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น


"การรักษาเป็นงานหนัก เพราะต้องเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน จึงต้องใช้มาตรการเชิงรุกเข้าถึงชุมชนด้วยการเยี่ยมบ้าน เพื่อหาพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ความพยายามทำให้ชุมชนมหาสวัสดิ์ลดการบริโภคหวาน ทำให้ขยายสู่งานเลี้ยงที่จัดโดยแกนนำชุมชน หรือแม้แต่งานบุญ งานเลี้ยงภายครอบครัวของกลุ่มอสม. ก็จะใช้มาตรการ 3 ไม่ เพื่อเป็นแบบอย่างในชุมชน ทำให้ทุกวันนี้กลุ่มผู้ป่วย เบาหวานที่มารักษาไม่ต้องพึ่งยาอีกต่อไป และกลุ่มเสี่ยงที่นำมาปรับพฤติกรรมก็ไม่กลายเป็นผู้ป่วยหน้าใหม่ 


Hero on the Road รอบรั้วอนุสาวรีย์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการทำงานเชิงรุกเพื่อ "ป้องกัน" ความสูญเสียทางสุขภาพ  อุบล ยี่เฮ็ง พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์กู้ชีพนเรนทร รพ.ราชวิถี เล่าว่า การปั้มหัวใจรอมีโอกาสรอดสูง แต่มักเจอปัญหาคนที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยปั้มหัวใจรอไม่เป็น ขณะที่รอบอนุสาวรีย์ก็มีปัญหา การจราจร จึงออกแบบการทำงานตั้งแต่การให้ความรู้การปั้มหัวใจ อย่างถูกต้องแก่ครอบครัวผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง รวมทั้งทำงานกับอาสาสมัคร เครือข่ายรถแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซด์ วินรถตู้ ทหารที่คุมรถตู้รอบอนุสาวรีย์ และงานจราจรบก.02 ให้มีทักษะ การกู้ชีพ เมื่อเปิดไฟรั้วอนุสาวรีย์เครือข่ายเหล่านี้จะรู้กันว่าต้องช่วยกันหลีกทาง และยังเป็นเนวิเกเตอร์คอยนำทางเพื่อให้ รถฉุกเฉินมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็ว 


พยาบาลเป็นบุคลากรที่ใกล้ตัวผู้ป่วย การเพิ่มบทบาทจาก "นักซ่อม" เป็น "นักสร้าง" สุขภาพ เป็นจุดเปลี่ยนวงการเป็นตู้เย็นทุกบ้านมีแต่น้ำอัดลม ข้างตู้เย็นมีน้ำอัดลมพร้อมแช่เป็นลัง ชอบเติมพริกน้ำปลาบนโต๊ะอาหาร และชอบจิ้มพริกเกลือเมื่อทานผลไม้ เลยขอจากให้ปรับพฤติกรรมจากเรื่องใกล้ตัว 3 เรื่องนี้คือ ไม่ดื่มน้ำอัดลม ไม่เติมน้ำปลา และ ไม่จิ้มพริกเกลือ" สมยงค์ กล่าวสาธารณสุขไทย เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีคนไทยในวันหน้า

Shares:
QR Code :
QR Code