ชุมชนน้ำเกี๋ยน จ.น่าน ปั้น 42 ขุนศึกหยุดพนัน

ค้นหาชุมชนตัวอย่างแก้ไขปัญหาพนันในชุมชนได้สำเร็จ พบชุมชนน้ำเกี๋ยน กิ่งอ.ภูเพียง จ.น่าน 1 ใน 11 ชุมชนจากชุมชนทั่วประเทศ พลิกวิกฤติชุมชนล่มสลาย เป็นชุมชนแห่งความสุขปลอดพนัน รักษ์ป่าและต้านยาเสพติด ชุมชนเฝ้าระวังปัญหาด้วยการรวม บ้าน วัด โรงเรียนและสถานีอนามัย (บวรส) เป็นหนึ่งเดียว

ชุมชนน้ำเกี๋ยน จ.น่าน ปั้น 42 ขุนศึกหยุดพนัน

ต้านภัยอิทธิพลในท้องถิ่น ผูกแกนนำชุมชนขุนศึก 42 คนดูแลชุมชนให้ปลอดพนัน แกนนำเสนอกลเม็ดเด็ดสาธิตการเล่นหวยสอนบทเรียนราคาแพง “เล่นกี่ชาติไม่มีวันรวย” โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนสังคมปลอดพนัน  ภายใต้มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ได้จัดเวทีขยายผลการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนปลอดพนัน ณ ชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน ร่วมกับชุมชนถึงตอง ชุมชนบัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน เพื่อบอกต่อชุมชนรอบข้างที่ยังจัดการปัญหาการพนันไม่ได้ผล และตอบโจทย์เรื่องยากว่า “ชุมชนแข็งแรงจัดการปัญหาได้ทุกอย่าง”

นายชูศิลป์ สารรัตนะ รวมพลังเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ต.น้ำเกี๋ยนมีจำนวน 5 หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 3,000 คน รวม 600 กว่าหลังคาเรือน มีวัด โรงเรียน สถานีอนามัยอยู่อย่างละหนึ่งแห่ง ซึ่งรวมกันทั้งหมดเป็น 1 ตำบล นายชูศิลป์ สารรัตนะ นายก อบต.น้ำเกี๋ยน เล่าให้ฟังว่า ช่วงแรก เป็นชุมชนที่ไม่น่าอยู่ มีกลุ่มอิทธิพลมาก 5 หมู่บ้านต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างแก้ไขปัญหาตัวใครตัวมัน ถึงปี 2540 เกิดวิกฤติ ขยายเป็น 3 ปัญหาใหญ่ ทั้งการพนันเป็นอันดับ 1 ของ จ.น่าน ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และปัญหายาเสพติด ส่งผลให้ครอบครัวและชุมชนล่มสลาย จากปัญหาภาวะวิกฤติเรื่องการพนัน ทำให้นายกอบต. ท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หันหน้าเข้าหากัน จนเกิดขบวนการ บวรส. คือ บ้าน วัด โรงเรียน สถานีอนามัย มาช่วยกันแก้ไขปัญหา 3 ประเด็นหลัก โดยสัญจรประชุมชาวบ้านทั้งตำบล 5 หมู่บ้านเพื่อทำความเข้าใจกับสมาชิกให้ไปในทิศทางเดียวกัน ไปเขย่าชาวบ้าน ให้ตื่นมารับรู้ปัญหา จนในที่สุดแกนนำชุมชนทุกคนได้เรียนรู้ว่า หากจะแก้ปัญหาต้องแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวมและเป็นระบบ

ชุมชนน้ำเกี๋ยน จ.น่าน ปั้น 42 ขุนศึกหยุดพนันใน ปี 2541 จึงจัดตั้งองค์กรพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยใช้งบประมาณของ อบต. ร่วมกับฐานอำนาจของผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้สองฐานอำนาจนี้ผนวกเข้าด้วยกันอย่างเป็นปึกแผ่น จึงมีวิสัยทัศน์เดียวกันที่ทำให้ชุมชน กินอิ่ม นอนอุ่น ฝันดี  หมายถึง การให้ชาวบ้านมีเงินใช้ มีเศรษฐกิจพอเพียง

42 ขุนศึกจับมือชาวบ้านออกกฎหยุดพนัน นายกอบต.น้ำเกี๋ยน เล่าต่อว่า การจัดตั้งกลุ่มทำงานแก้ปัญหา โดยการดึงแกนนำชุมชน ทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เยาวชน และกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้านเข้ามาร่วมทำงานเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ใช้กระบวนการตั้ง 42 ขุนศึก ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของแกนนำชุมชน 42 คนในตำบล ช่วยกันวางแผนการทำงาน และประชุมชาวบ้าน ให้ชาวบ้าน 600 หลังคาช่วยกันคิด จนเกิดเป็นมาตรการของ ต.น้ำเกี๋ยน และได้พิมพ์กฎเป็นเอกสารแจก ไปติดบ้านทุกหลังคาเรือน 2 เดือนต่อมาประกาศใช้ อันดับหนึ่งเป็นกฎเกี่ยวกับการเล่นการพนัน หากบ้านไหนเล่นการพนันใน ต.น้ำเกี๋ยน ปรับคืนละ 2,000 บาท และตัดขาด ความช่วยเหลือจากผู้นำ

ชุมชนน้ำเกี๋ยน จ.น่าน ปั้น 42 ขุนศึกหยุดพนันชุมชนน้ำเกี๋ยน จ.น่าน ปั้น 42 ขุนศึกหยุดพนัน

ตั้งแต่ใช้มาตรการของชุมชน ทำให้จาก ต.น้ำเกี๋ยน ที่ขึ้นแท่นการเล่นการพนันอันดับ 1 ของ จ.น่าน มีอัตราการเล่นการพนันของตำบลลดลง 99% ถึงปัจจุบัน ไม่มีการเล่นการพนัน ยังคงเหลืออีกหนึ่งเปอร์เซ็นต์ คือการเล่นหวย แกนนำชุมชนการแก้ไขปัญหาด้วยต้องใช้การจำลองสถานการณ์การออกหวยของรัฐบาล เมื่อรวมเงินที่ชาวบ้านร่วมแทงหวย ส่วนใหญ่ตกอยู่กับเจ้ามือ เป็นการบอกให้รู้ว่า สิ่งที่กำลังหลงระเริงเป็นเหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟ 

ภาพชุมชนแห่งความสุข ต.น้ำเกี๋ยน เกิดจากความร่วมมือที่ต่อสู้กับสงครามการพนันซึ่งเป็นสงครามใหญ่ที่ทุกคนในชุมชนยอมรับว่าเป็นเรื่องความสำเร็จที่เห็นเป็นรูปธรรม การกำจัดการพนันมันหมดไปจากที่เคยมีในชุมชนน้ำเกี๋ยน การพนันทุกรูปแบบที่มีอยู่เต็มชุมชนค่อยๆ หมดไป เพราะการอยู่ร่วมกันด้วยกฎกติกาที่ร่วมกันสร้างจนเกิดกระบวนการยุติธรรม เน้นการทำงานแบบไม่มีใครเป็นพระเอก การทำงานของน้ำเกี๋ยนมีรูปแบบเป็นทีมดาหน้าเข้าสู้ปัญหา และได้พัฒนาชุมชนจนเป็นศูนย์เรียนรู้  จากชุมชนที่เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนใครเข้าไปในน้ำเกี๋ยน จนมีคำพังเพยว่า “ถ้าอยากกินมะแคว่นให้ไปเมืองลี  ใครแอ๋วสาวจี๋ให้ไปบ้านแต๋ แต่ถ้าใครอยากหัวแตกให้ไปบ้านน้ำเกี๋ยน” ไม่มีภาพนั้นอีกแล้ว
 
 

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

Shares:
QR Code :
QR Code