ชุมชนจัดการตนเอง แบบเศรษฐกิจฐานรากประชารัฐ

ต่อยอด "ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง"ผ่านแนวคิด "เศรษฐกิจฐานรากประชารัฐ"


ชุมชนจัดการตนเอง แบบเศรษฐกิจฐานรากประชารัฐ thaihealth


แฟ้มภาพ


ครบกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการ "เวทีชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ของสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)อย่างสมศักดิ์ศรี เพราะเพียง 5 ปี (2554-2558) ที่ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมไม้ร่วมอย่างตั้งใจ ทำให้ประเทศไทยมีชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนจาก 30 แห่ง ในจังหวัดภาคใต้ กลายเป็นเครือข่ายเข้มแข็งที่แผ่ขยายถึง 2,000 ชุมชนทั่วประเทศ


ทว่า นอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ ภายในงาน "เวทีชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่17-18 ต.ค. 2558 ที่ผ่านมา ซึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กำธร  ถาวรสถิตย์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ผู้นำโครงการอย่าง สมพร ใช้บางยางประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ ๓ สสส. และ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. ต่างระบุไปในทิศทางเดียวกันว่า เวทีชุมชนท้องถิ่นฯ จะสืบสานต่อเนื่อง โดยมีโครงการ "ประชารัฐ" เพื่อเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลเป็นตัวขับเคลื่อน


เกี่ยวกับเรื่องนี้ สมพรระบุว่า ที่ผ่านมาเราได้ยกระดับราษฎรให้เป็นพลเมือง เพื่อสร้างเป็นทรัพยกรคุณภาพในทุกด้าน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ให้กับประเทศไทย ฉะนั้น เมื่อโครงการประชารัฐจะเข้ามาต่อยอด เพื่อเคลื่อนไปข้างหน้าชุมชนจัดการตนเอง แบบเศรษฐกิจฐานรากประชารัฐ thaihealthสู่ประเทศเข้มแข็งก็สามารถทำได้ทันที


"ถือเป็นเรื่องดีที่ความเข้มแข็งของชุมชนจะถูกหนุนเสริมด้วยภาคธุรกิจในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาเป็นเรื่องของการทำงานแบบ 2 ขา คือประชาชนกับภาครัฐในการจัดการชุมชนเข้มแข็ง โดยมี สสส.เข้ามาช่วยเรื่องบริหารจัดการ ทำแผน และช่วยสอนช่วยสร้างเครื่องมือ จนเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ที่ผู้คนพึ่งพาตัวเองมากขึ้น รอให้รัฐเข้าช่วย


เหลือน้อยลง แต่ต่อจากนี้จะกลายเป็นการทำงาน 3 ขา ซึ่งหมายถึงความมั่นคงที่เพิ่มพูนที่จะทำให้ชุมชน ตำบล จังหวัด และประเทศเข้มแข็ง"ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ ๓ สสส.กล่าว  ส่วนการต่อยอดชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยโครงการประชารัฐให้ประสบความสำเร็จนั้น ดวงพร ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. เผยเคล็ดลับว่า เศรษฐกิจฐานรากหรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนก็คือ "ตลาดชุมชน" ฉะนั้น ชุมชนที่มีความพร้อมเดินตามโครงการประชารัฐอาจเริ่มจากตรงนี้


"ที่ผ่านมาชาวบ้านเขาก็ทำกันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีระบบระเบียบหรือใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อมาต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์หรือจัดระบบสินค้า ให้โดดเด่นกลายเป็นของดีแบบหลายผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ซึ่งตรงนี้หากพัฒนาและทำได้กับการจัดชุมชนจัดการตนเอง แบบเศรษฐกิจฐานรากประชารัฐ thaihealthระบบใหม่ เม็ดเงินจะไหลเข้าสู่หมู่บ้านและชุมชน ชาวบ้านหมดหนี้หมดสิน เป็นความยั่งยืนจากตัวเอง" ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชนแจงเพิ่ม


อย่างไรก็ดี ดวงพรยังอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นด้วยการยกตัวอย่าง โดยเธอระบุว่า ธุรกิจขายผักในชุมชน หากมีการวางแผนให้คนและร้านค้าในชุมชนหันมาซื้อผักในท้องที่ โดยไม่ต้องเสียเงินให้กับตลาดภายนอก ด้วยการใช้เทคโนโลยีซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตและจัดส่งถึงบ้าน หรือจัดระบบผูกปิ่นโตส่งผักตามฤดูกาล และอาจพัฒนาให้ร้านอาหารซึ่งเป็นลูกค้ากลายเป็นแหล่งวางขายสินค้าเพิ่ม เมื่ออยู่ตัวแล้วค่อยขยายออกไปสู่ภายนอก ก็นับว่าประสบความสำเร็จ


"เพื่อให้ทุกอย่างชัดเจนเข้าใจรตรงกัน ภายในงาน สสส.จึงประกาศรับสมัครชุมชนต้นแบบ 200-300 ชุมชนทั่วประเทศ ที่จะก้าวไปอีกขั้นกับการเป็นชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจฐานรากโดยประชารัฐใน 12 ด้าน เช่น การขาย องค์กรการเงิน ชุมชน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะเฟ้นหาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนจากทั่วประเทศมาพัฒนาเพิ่ม" ดวงพรกล่าว  ขณะที่ ชวนชื่น ศรศักดา เลขานุการกลุ่มสายใยปอ ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่คิดสร้างสรรค์นำปอที่มีคุณสมบัตินิ่มกว่าป่าน มาฝานตอกและถักเป็นผลิตภัณฑ์หมวก กระเป๋า ฯลฯ โดนใจวัยรุ่นเพราะดีไซน์น่ารักทันสมัย แสดงความคิดเห็นต่อนโยบายเศรษฐกิจฐานรากโดยประชารัฐว่า ช่วงเวลา 2 ปี ที่ สสส.เข้ามาช่วยเหลือจัดการเรื่องสุขภาพของกลุ่มสมาชิก และอีก 1 ปีที่ได้เข้าสู่โครงการชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่าคุณภาพชีวิตของกลุ่มสมาชิกดีขึ้น ระบบเรื่องการเงินก็มีระเบียบขึ้น โดยที่ยังคงการค้าขายในแบบชุมชนที่ไม่เน้นเศรษฐกิจกำไรจนเกินไป


"กว่าจะรวมกลุ่มและทำให้สมาชิกซึ่งเป็นชาวบ้านไว้ใจซึ่งกันและกันไม่ใช่เรื่องง่าย  รวมถึงการประกอบธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งหมายถึงกำไรเป็นที่ตั้งเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น หากโครงการประชารัฐจะเข้ามาทำให้ตรงนี้เปลี่ยนแปลงไปคิดว่าไม่โอเค แต่ถ้าหากมาช่วยหนุนเสริม ภาคธุรกิจเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ช่วยพัฒนาสินค้า หรือเปิดช่องทางขายไปยังต่างประเทศ ในแบบร่วมสร้างชุมชนยั่งยืนไปด้วยกัน คิดว่าเป็นเรื่องดี" เลขานุการกลุ่มสายใยปอ จ.ขอนแก่น กล่าวในที่สุด


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Shares:
QR Code :
QR Code