ชีวิตหวานไปหรือไม่ ?
ที่มา : กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณสร้างเอง โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
แฟ้มภาพ
มนุษย์ทำงานที่ไม่หนักหนาแต่สาหัส ตื่นเช้ากลับมืด กินมื้อดึก อดมื้อเช้า เฝ้าหน้าจอ ติดไอถือ ไอแชร์ วันว่างๆ กินกับนอน ตื่นก็เครียด ใช้ชีวิตติดสะดวก อิ่มสะดวก อ้างไม่มีเวลา …นี่แหละการใช้ชีวิตพื้นฐานของมนุษย์ NCDs
ชีวิตหวานไปหรือไม่ ?
– ฉี่บ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
– น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
– เป็นแผลแล้วหายยาก
– เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน 126 มก/ดล. (โดยวัดได้จากตอนหลังอาหาร 8 ชั่วโมง) เนื่องจากการขาดอินซูลิน หรือ ดื้อต่อฤทธิ์ของอินซุลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปใช้ได้หมด จึงเหลือน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นประจำจะทำให้เป็นโรคเบาหวาน และในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ทำลายระบบประสาทส่วนปลาย นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ ได้
สาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน
– แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มจะทำให้เซลล์ตับอ่อนระคายเคืองจนเกิดการอักเสบและสร้างอินซูลินได้ลดลง จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วก็ทำให้อาการยิ่งแย่ลง หรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมา
– การสูบบุหรี่จะลดแระสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของอินซูลินซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น ส่วนผู้ที่เป็นอยู่แล้วก็ทำให้อาการยิ่งแย่ลง หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
– การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเป็นปริมาณมากๆ ร่างกายจะไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้หมด ที่เหลือจึงต้องถูกสะสมเป็นไขมันและหากเราปล่อยให้เกิดแบบนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานได้
ส่วนการกินอาหารไขมันสูงจะทำให้เกิดการสะสมไขมันในร่างกาย ไขมันส่วนเกินที่ร่างกายใช้ไม่หมดจะสร้างสารที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดีหรือนัยหนึ่ง ทำให้เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน เมื่อน้ำตาลไม่สามารถถูกนำไปเผาผลาญได้หมดตกค้างในกระแสเลือดมาก ก็จะนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด
– ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมทางการน้อย จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น เพราเซลล์อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานน้อย ร่างกายใช้พลังงานน้อย จึงดึงน้ำตาลไปเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงานน้อย ทำให้น้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก จึงเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานนั้นเอง
ผลกระทบของโรคต่อร่างกาย
หารเฉียบพลันคือ อาจมีอาการหมดสติ มีอันตรายถึงชีวิต อาการแทรกซ้อนทำให้เกิดภาวะไตวาย ไตเสื่อม ระบบประสาทชา แผลหายยาก แผลเน่า ลุกลามจนต้องตัดอวัยวะ ตามัว จอตาเสื่อม สมรรถภาพทางเพศเสื่อม อัมพาตโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง