จับมือ 5 ประเทศ ลดปัญหาฟันผุ

          กรมอนามัยสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย 5 ประเทศ ที่มีฟันน้ำนมผุสูงในเด็กปฐมวัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคฟันผุในฟันน้ำนม หาแนวทางการควบคุมปัจจัยเสี่ยง และพัฒนามาตรการลดโรคฟันผุที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน


/data/content/24272/cms/e_cghjnoqvz468.jpg


          ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ Early Childhood Caries Forum ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค โฮเทล กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรมอนามัยได้สร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ร่วมกับอีก 5 ประเทศ คือ ประเทศพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย ที่มีฟันน้ำนมผุสูงในเด็กปฐมวัย มากกว่าร้อยละ 70 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคฟันผุในฟันน้ำนม หาแนวทางการควบคุมปัจจัยเสี่ยง และพัฒนามาตรการลดโรคฟันผุที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เนื่องจากปัญหาฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะก่อให้เกิดความเจ็บปวด มีการติดเชื้อ และมีปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนักและการเจริญเติบโตของเด็ก โดยปัจจัยเสี่ยงของฟันผุเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงซึ่งอยู่ในรูปของอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม และขาดการดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากของเด็กโดยผู้ปกครอง


         ข้อมูลการสำรวจสุขภาพช่องปากขององค์การอนามัยโลกพบว่าฟันผุในเด็ก มีอัตราการเกิดโรคสูงโดยเฉพาะประเทศแถบเอเชีย ซึ่งผลการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่าปัญหาฟันผุในเด็กเล็กไม่ได้มีผลกระทบแค่ฟัน แต่ยังส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพโดยรวม เช่น การขาดสารอาหาร การติดเชื้อในลำคอ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก


        “สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติ Early Childhood Caries forum ในครั้งนี้ มีการนำเสนอข้อมูลโดยผู้แทนทั้ง 6 ประเทศ ระดมความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชีย และสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางให้กับประเทศต่างๆ นำไปปรับใช้แก้ปัญหาสุขภาพช่องปากเด็กอย่างเหมาะสมตามแต่ละบริบทของประเทศต่อไป”


 


 


        ที่มา: เว็บไซต์แนวหน้า


        ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code