จัดประชุม ‘Safety 2018’

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน


ภาพประกอบจาก สสส.


จัดประชุม 'Safety 2018' thaihealth


โลกชมระบบการแพทย์ฉุกเฉินไทย ในงานประชุม 'Safety 2018'


"งานประชุมระดับโลกด้านการป้องกันการบาดเจ็บและส่งเสริมความปลอดภัย ครั้งที่ 13 หรือ World Safety 2018-The 13th World Conference on Injury Prevention and Safety Promotion" หรือรู้จักกันในชื่องานประชุม Safety (เซฟตี้) เป็นอีกงานสำคัญระดับโลกที่นานาชาติต่างให้ความสนใจ ปัจจุบันประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญต่อปัญหาการป้องกันอาการบาดเจ็บ และส่งเสริมความปลอดภัยมากขึ้น หลังจากปัญหาเรื่องโรคติดเชื้อและโรคติดต่อร้ายแรงในอดีต บรรเทาความรุนแรงลง


งานประชุมเซฟตี้ จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยครั้งแรกเมื่อปี 2532 ที่องค์การอนามัยโลกร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อเปิดให้บรรดานักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ และนักเคลื่อนไหวทางสังคมทั่วโลก ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานป้องกันอาการบาดเจ็บและส่งเสริมความปลอดภัย ทั้งการแก้ปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาพ การจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน การป้องกันความรุนแรงในเด็กและสตรี การป้องกันการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ ความปลอดภัยจากการกีฬา ครอบคลุมภัยด้านอื่น เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฯลฯ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น)


ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับโลก ครั้งที่ 13 นับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีหน่วยงานหลัก ได้แก่ องค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2561 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากทั่วโลก


นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. เปิดเผยว่า ปีนี้มีผลงานวิชาการจากทั่วโลกมากกว่า 1,300 ชิ้น ทุกชิ้นล้วนให้ความสำคัญต่อความปลอดภัย โดยผลงานถูกจำแนกออกเป็นหลายหมวดหมู่ ตั้งแต่ภัยระดับโลกอย่างปัญหาโลกร้อน ระดับสังคม เช่น ความปลอดภัยบนท้องถนน และระดับครัวเรือนอย่างปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว ตลอดจนองค์กรเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ยังร่วมส่งผลงานและเข้าร่วมประชุมด้วย ปีนี้เน้นความปลอดภัยทางถนน ความรุนแรงและความปลอดภัยในครัวเรือน สอดคล้องกับสถิติรายงานภัยทั่วโลก และสอดคล้องกับไทยที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าว


จัดประชุม 'Safety 2018' thaihealth


นายสุปรีดา กล่าวว่า ไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลกที่มีอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดหลายปีซ้อน ส่วนใหญ่เกิดจากรถจักรยานยนต์ เป็นปัญหาเฉพาะของไทยที่ยังแก้ไม่ได้ และต่างกับประเทศอื่น ทว่าช่วง 10 ปีหลัง รัฐบาลเริ่มหันมาสนใจและใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าว เริ่มเอาจริงเอาจัง ทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มดีขึ้น และเห็นควรให้เดินหน้าต่อ


นายสุปรีดา กล่าวว่า ขณะที่ปีนี้ สสส.เน้นความปลอดภัยของเด็ก เนื่องจากเด็กปกป้องตัวเองได้อย่างจำกัด โดยผู้ปกครองและสังคม ต้องช่วยกันดูแล เข้าใจถึงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันยังคงขาดความรู้ และปัจจัยอื่นเหนือการควบคุม รวมถึงความจำเป็นของเด็กยากไร้ที่ต้องหารายได้ จึงต้องมีหน่วยงานกลางเข้ามาช่วยดูแล เพราะเด็กยังต้องการให้สังคมปกป้อง ทั้งนี้ ข้อมูลพบอัตราเด็กเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมีจำนวนมาก เฉลี่ยปีละ 2,000 คน สวนทางกับอัตราเกิด ทั้งที่เด็กจะเป็นผู้สร้างสังคมและอนาคต สาเหตุการเสียชีวิต มาจากจมน้ำ รองลงมาเป็นอุบัติเหตุทางถนน แต่ภัยไม่เพียงเกิดขึ้นกับเด็กอย่างเดียว ยังเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ทุกวินาที ซึ่งเราสามารถป้องกันภัยเหล่านั้นได้ แต่บางเรื่องต้องอาศัยหลักวิชาการและองค์ความรู้เข้าช่วยครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่เฉพาะในเขตเมือง


จัดประชุม 'Safety 2018' thaihealth


นายสุปรีดา กล่าวว่า ขณะนี้ สสส.กำลังรวบรวมข้อมูลเป็นนโยบายส่งต่อรัฐบาลชุดใหม่ โดยทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งสนับสนุนเชิงวิชาการ นโยบาย รวมถึงสร้างจิตสำนึก พร้อมสนับสนุนคณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ร่วมกับองค์การส่วนท้องถิ่น (อปท.) สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ 30 แห่ง และยังร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก (CSIP) พัฒนาศูนย์เด็กเล็กปลอดภัย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์ไม่ให้เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น สนามเด็กเล่นปลอดภัย และของเล่นปลอดภัย รวมถึงดำเนินการป้องกันจากอุปกรณ์ไอที การป้องกันเด็กจมน้ำ และไม่สนับสนุนให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยทั้งหมดเป็นการผลักดันของ สสส.ที่ต้องการให้นำไปสู่นโยบายรัฐ และยังมีส่วนร่วมเสนอต่อที่ประชุมระดับโลกครั้งนี้ด้วย


"การเป็นเจ้าภาพร่วมจะประชุม คาดจะช่วยสร้างประโยชน์ให้วงวิชาการทั่วโลกอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ ยังร่วมกันประกาศปฏิญญากรุงเทพมหานครพร้อมกัน เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการ สธ. ยังมีความเห็นให้คำประกาศ เข้าสู่สมัชชาองค์การอนามัยโลกในปีต่อไป เพื่อช่วยสังคมโลก ให้ภาคีเครือข่ายตื่นตัวมากขึ้น เพื่อจะช่วยผลักดันนโยบายเหล่านั้น กลับมาสู่รัฐบาลไทย"นายสุปรีดากล่าว


จัดประชุม 'Safety 2018' thaihealth


ด้าน นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร รองประธาน สอจร. กล่าวว่า ล่าสุดภาพรวมสถานการณ์ภัยทั่วโลกพบมีประชากรเสียชีวิตจากความรุนแรง 1.6 ล้านคน จากอุบัติเหตุรถชน 1.3 ล้านคน ผู้สูงวัยเสียชีวิตจากการลื่นล้มกว่า 600,000 คน และเด็กจมน้ำเสียชีวิตอีกกว่า 300,000 คน ขณะที่ประเทศไทยในช่วง 5 ปี ระหว่างปี 2555-2559 อุบัติเหตุทางถนนทำให้ประชากรเสียชีวิตสูงสุด รองลงมา เป็นการพลัดตก หกล้ม การทำร้ายตัวเอง การถูกทำร้าย การตกน้ำจมน้ำ สัมผัสกับแรงเชิงวัตถุสิ่งของ สัมผัสกระแสไฟฟ้า รังสี สัมผัสความร้อนควันไฟ เปลวไฟ สัมผัสพิษจากสัตว์หรือพืช ตามลำดับ โดยอุบัติเหตุรถชนของไทย ประเมินมูลค่าความเสียหาย คาดกว่า 20,000 ล้านบาท คิดเป็นตัวเลขจีดีพีร้อยละ 5-6


"ไทยไม่ควรสูญเสียมากกว่านี้อีกแล้ว หากป้องกันได้จะช่วยลดภาระเงินและนำไปใช้ด้านอื่นได้อย่างมากมาย ซึ่งการออกเหตุกู้ชีพพบปีละประมาณ 1.5 ล้านครั้ง และต้องออกไปเหตุช่วยรถชนถึง 3-4 แสนครั้ง ส่วนวัยของกลุ่มคนที่เสียชีวิต มีอายุ 15-40 ปี เป็นช่วงวัยที่จะเข้ามาขับเคลื่อนประเทศในอนาคต ประกอบกับไทยยังมีอัตราการเกิดต่ำลง"นพ.อนุชากล่าว


จัดประชุม 'Safety 2018' thaihealth


นอกจากนี้ นพ.อนุชา กล่าวว่า การประชุมเซฟตี้ครั้งที่ 13 ยืนยันว่าการจัดประชุมทุก 2 ปี จะทำให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าแต่ละประเทศใช้วิธีการใดแก้ไขภัย อาทิ การเก็บข้อมูล การออกนโยบาย ฯลฯ ต่อมาจะเห็นแนวหนังสือพิมพ์มติชนรายวันโน้มของโลก ระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วกำลังประสบปัญหาใด ทุกครั้งจะจัดประชุมย่อย เพื่อให้นักวิชาการแต่ละสาขาของการบาดเจ็บ ร่วมถกเถียง (Discussion)


แต่ละประเด็นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นพิสูจน์ได้ว่าอุบัติเหตุสามารถป้องกันได้ ดังนั้น ผลลัพธ์ประชุมที่เกิดขึ้น พบประเทศพัฒนาแล้ว จะนำพาให้เกิดการลดการบาดเจ็บ ตามเป้าหมาย SDGs ยกตัวอย่าง กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก จะสามารถนำกลไกความปลอดภัยระดับชุมชนมาเป็นหลักในการชี้นำ ลดเจ็บ ลดตาย บนถนน ให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมมากที่สุด เกิดเป็นวินัย จากนั้นให้นโยบายของภาครัฐเข้ามาแก้ปัญหา โดยกฎหมายมีความเข้มข้น แม้ถนนบางเส้นกายภาพไม่ดี แต่คนใช้รถ ขับขี่อย่างระมัดระวัง ลดการสูญเสียได้มากในแต่ละปี


จัดประชุม 'Safety 2018' thaihealth


นพ.อนุชา กล่าวว่า ดังนั้น ไทยจะต้องขับเคลื่อนตามเป้าหมาย SDGs โดยยูเอ็นประกาศให้ทั่วโลก จะต้องมีองค์กรหลักในการดูแลความปลอดภัยทางถนน ภายในปี 2563 ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่มีหน่วยงานดังกล่าว แต่ละองค์กรถูกแบ่งออกไป ดำเนินการไปตามวิธีการของหน่วยงานนั้น ไม่เกิดการบูรณาเท่าที่ควร ยังคงถกเถียงกันเรื่องตัวเลขเจ็บตาย ทั้งนี้ ในปี 2573 สหประชาชาติ ตั้งเป้าว่าทั่วโลกต้องมีถนนในระดับคะแนน 3 ดาวขึ้นไป ตามโปรแกรมประเมินถนนนานาชาติ (iRAP) แต่ขณะนี้มาตรฐานถนนไทยผ่านการประเมินระดับ 2 ดาวเท่านั้น


ส่วน นพ.เอเตียน กรุก ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการโรคไม่ติดต่อ ทุพพลภาพ ความรุนแรง และการป้องกันการบาดเจ็บ องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า นับเป็นความก้าวหน้าของประเทศไทย ที่เร่งดำเนินงานแก้ไขปัญหาจากอุบัติเหตุ โดยมีนโยบายที่ชัดเจน เช่น การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การป้องกันความรุนแรงในเด็ก และการป้องกันเด็กจมน้ำ เป็นต้น แต่การขับเคลื่อนยังดำเนินไปค่อนข้างช้า เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ รวมถึงต้องมีการสื่อสารและเพิ่มฐานข้อมูล เพื่อการบริหารจัดการให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม


นพ.เอเตียน ยังกล่าวถึงตัวอย่างที่ดีหลายประเทศ อาทิ อินเดีย จัดงบให้กับโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงถนนดีขึ้น ส่วนกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม มีความก้าวหน้าและบริหารจัดการได้ดีกว่าไทย มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนและบรรลุเป้าหมายในการลดอัตราผู้เสียชีวิต ส่วนไทยชื่นชมงานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถปฏิบัติการฉุกเฉินถูกวิธี และส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที


เป็นบทพิสูจน์ว่า อุบัติเหตุสามารถป้องกันได้…

Shares:
QR Code :
QR Code