จัดทำคู่มือเวชปฏิบัติ เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies CRG)

ที่มา : ข่าวสด


จัดทำคู่มือเวชปฏิบัติ เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies CRG) thaihealth


แฟ้มภาพ


วันที่ 28 กันยายนของทุกปีเป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ซึ่งตรงกับวันที่ล่วงลับของหลุยส์ ปาสเตอร์ ผู้คิดค้นวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า โดยเป็นวันรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยจากโรคร้ายดังกล่าว


ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระปณิธานที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า และ ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว ให้หมดไปจากประเทศไทย จึงได้ทรงริเริ่มโครงการ "สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า"


โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนองพระปณิธานจัดทำแผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปีพ.ศ.2573 (ค.ศ.2030) ซึ่งผลจากการดำเนินงานทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงเป็นอย่างมาก จนในปีพ.ศ.2563 นี้ พบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยเพียง 2 รายเท่านั้น


นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2550 เป็นต้นมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กระทรวงการ เกษตรและสหกรณ์ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมประชาสัมพันธ์สัตวแพทย สภา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัตวแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย และสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัด โรคสัตว์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมวันป้องกัน โรค พิษสุนัขบ้าโลก World Rabies Day เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยจากโรคดังกล่าว


กรมปศุสัตว์ เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลกทางออนไลน์ ภายใต้คำขวัญ "End Rabies : Collaborate, Vaccinate" โดย รศ.ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับ ศ.ดร.สัตวแพทย์หญิงสันนิภา สุรทัตต์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.สัตวแพทย์หญิงมนชนก วิจารสรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และผศ. นายสัตวแพทย์รุ่งโรจน์ โอสถานนท์ คณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดล เสวนาเรื่อง "Rabies, Immunities and Practices" ทางเฟซบุ๊ก 'วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก : World Rabies Day 2020'


รศ.ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินีเปิดเผยว่า จริงๆ แล้วเรบีส์ (Rabies) เกิดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ทุกชนิด ไม่จำกัดเฉพาะสุนัขซึ่งหากคนถูกกัดและได้รับเชื้อแล้ว  ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีตั้งแต่การรักษาแผลควบคู่ไปกับการใช้วัคซีนและเซรุ่ม ก็มีโอกาสเสียชีวิตได้ โดยตนได้รับการแต่งตั้งจากสัตวแพทยสภาให้ดำรงตำแหน่งอนุคณะกรรมการและเลขานุการ จัดทำคู่มือ เวชปฏิบัติเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies CRG) ตามโครงการ "สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า" ซึ่งเป็นโครงการตามพระปณิธานแห่งศาสตราจารย์ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี


คู่มือเวชปฏิบัติเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies CRG) จัดทำขึ้นสำหรับให้สัตวแพทย์ที่ปฏิบัติงาน ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชนต่างๆ ได้ยึดเป็นหลักการเบื้องต้นในการช่วยควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามแนวทางปฏิบัติที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ และปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้นำไปใช้ประกอบการแนะนำประชาชนที่เลี้ยงสัตว์ ผู้ถูกสุนัขกัด รวมทั้งผู้ที่สัมผัสสุนัขที่สงสัยว่าจะเป็นสุนัขบ้า ให้รู้แนวทางปฏิบัติเบื้องต้น ทั้งแก่ตนเอง และสุนัขที่เลี้ยงไว้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า (ติดตามคู่มือเวชปฏิบัติเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies CRG) ได้จากลิงก์ https://www.flipbookpdf.net/web/site/cacce101a2ab490349a28b64f99e 34d00bb45b26202009.pdf.htmlX


จากคำขวัญ "End Rabies : Collaborate, Vaccinate" รองศาสตราจารย์ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่า ในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย นอกจากความร่วมมือ ในการพัฒนาวัคซีนแล้ว สิ่งสำคัญคือการให้ความรู้เพื่อสร้างบรรทัดฐานในความเข้าใจโรคพิษสุนัขบ้าให้กับประชาชน นอกจากนี้ ยังควรให้ความสำคัญเรื่องการสร้างจิตสำนึกใน การเลี้ยงสัตว์ด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งการไม่ทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงให้เป็นภาระสังคม และการควบคุมจำนวนประชากรสัตว์เลี้ยงจรจัด จะช่วยลดปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าได้ "หากยัง ไม่สามารถควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยงจรจัดได้ ฉีดวัคซีนเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ"


โดยในปีพ.ศ.2564 คณะสัตวแพทย ศาสตร์ ม.มหิดล จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก : World Rabies Day 2021 ต่อจากกรมปศุสัตว์ ซึ่งที่ผ่านมา ม.มหิดลได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อขยายผลสู่นโยบายวางแผนรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าระดับชาติ


โดยในงานวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลกปีนี้ ผศ.ดร.นายสัตวแพทย์อนุวัตน์ วิรัชสุดากุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข และประจำศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการแบบจำลองการระบาดและการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขประเทศไทยได้ร่วมนำเสนอโครงการวิจัยซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยมีระยะเวลาแล้วเสร็จภายใน 2 ปี (พ.ศ.2562 -2564) โดยนักวิจัยจากสหสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้แก่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ดำเนินการวิจัยร่วมกับ กรมปศุสัตว์


โครงการวิจัยที่นำเสนอในงานวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก : World Rabies Day 2020 ได้แก่ แบบจำลองการระบาดและการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขในประเทศไทย, การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการผ่าตัดทำหมันสุนัขเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า, ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของผู้เลี้ยงสุนัขในประเทศไทย, การสร้างแบบจำลองทางสถิติเพื่อหาพื้นที่เสี่ยงของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข, การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์และการดำเนินการเพื่อสร้างสถานการณ์จำลองการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า    ในจังหวัดร้อยเอ็ด ในระหว่างปี พ.ศ.2558-2562 และ Mathematical modelling of dog dynamics and Inter ventions for rabies prevention and control in Thailand


 

Shares:
QR Code :
QR Code