งดเหล้า ตลอดทั้งพรรษา

งดเหล้า ตลอดทั้งพรรษา thaihealth


กว่า 10 ปี ที่เกิดการรณรงค์ "งดเหล้าเข้าพรรษา" เกิดขึ้นจาก จุดเล็กๆ ของคนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง โดยมีการประชุม ร่วมกันระหว่าง 10 องค์กรรณรงค์ ที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เพื่อหาวิธีการรณรงค์ให้คนไทยดื่มลดลง คือ วันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวพุทธประพฤติปฏิบัติตนในศีลธรรมคำสอน มาตั้งแต่พุทธกาล จากจุดเริ่มต้นวันนั้น ที่มี 10 ภาคีกลายเป็นความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่มีภาคี เครือข่าย หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งรัฐและเอกชน เข้าร่วมเป็น 100 องค์กรในเวลาอันรวดเร็ว


ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษากรรมการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อธิบายว่า ความร่วมมือ ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ดี จนปัจจุบันสัญลักษณ์ "งดเหล้าเข้าพรรษา" กลายเป็นที่รู้จัก ของคนไทยเกือบทั้งประเทศ เพราะจากการสำรวจการรับรู้พบว่า คนไทยกว่า 90% รู้จักโครงการนี้  และได้มีการเพิ่มระดับ เป็นงดเหล้าให้ครบทั้งพรรษา ก่อนที่จะขยับไปเป็นการงดเหล้าทั้งปี เพราะการงดเหล้าจะทำให้คนไทยประหยัดเงินได้ปีละกว่า 2 แสนล้าน หากสมมุติว่าถ้าคนไทยทุกคนหยุดดื่มเป็นเวลา 3 ปี จะนำเงิน ที่ประหยัดได้นั้น มาสร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้อีก 2 สนามบินเลยทีเดียวเพราะปัจจุบันอัตราการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดื่มสูงถึงอยู่ที่ 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ซึ่งควรนำมาทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์จะดีกว่า


ผลสำรวจ "ผลการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2557" โดยศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) ซึ่งสำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ใน 25 จังหวัด พบว่า ผลการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ของ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคีเครือข่าย และ สสส. ในปี 2557 ถือว่าประสบความสำเร็จมากกว่าปีก่อน โดยในปี 2557 ผู้ดื่มแอลกอฮอล์มีการเปลี่ยน พฤติกรรมในช่วง เข้าพรรษา 83.4% โดยเลิก-งดดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษา 39.4% งดดื่มเป็นบางช่วง 23.2% ไม่งดดื่มแต่ลดปริมาณ การดื่ม 20.8% เมื่อเทียบกับปี 2556 พบว่า ผู้ดื่มที่เลิกตลอดช่วงเข้าพรรษาอยู่ที่ 36.2% ไม่งดดื่มแต่ลดปริมาณการดื่ม 19.1% และงดดื่มบางช่วง 13.5% โดย 92% เห็นด้วยกับการรณรงค์ งดเหล้าเข้าพรรษา โดยผู้ที่งดดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษาถือว่ามี เพิ่มสูงขึ้น จากการที่เริ่มมีการรณรงค์ที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งผู้ที่งดดื่มเหล้า ช่วงเข้าพรรษา ยังได้นำประเด็นการงดเหล้าไปคุยกับคนในครอบครัวและบุคคลรอบข้าง ทำให้คนรอบตัวเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย และเมื่อดูในกลุ่มที่เริ่มงดดื่มช่วงเข้าพรรษา ยังพบว่า แม้จะมีกลุ่มที่ จะดื่มไม่ครบทั้งพรรษาแต่กลุ่มนี้ลดปริมาณการดื่มลงจากครึ่งหนึ่ง ที่เคยดื่มทั้งในแง่ปริมาณต่อครั้ง และจำนวนครั้งในการดื่ม


ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา อธิบายว่า  ปี 2557 มีประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นงดเหล้า ตลอดทั้งพรรษา thaihealthไป ดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 20 ล้านคน มี ค่าใช้จ่ายในการดื่มเฉลี่ย 486 บาทต่อครั้ง หรือ เฉลี่ย คนละ 2,304 บาทต่อเดือน จาก การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2557 มีประชาชนเกือบ 17 ล้านคน เปลี่ยนพฤติกรรมการดื่ม ในจำนวนนี้ เกือบ 8 ล้านคนงดดื่มตลอด ช่วงเข้าพรรษา และ เกือบ 9 ล้านคนลดการดื่ม  โดย กลุ่มคนงดดื่ม- ลดดื่ม ระบุว่า ประหยัดเงินได้ตลอดช่วงเข้าพรรษาเฉลี่ยคนละ 1,455 บาท เมื่อประมาณการระดับประเทศจะเท่ากับประหยัดได้กว่า 24,557 ล้านบาท ซึ่งยังสามารถลดต้นทุนทาง สังคมที่เกิดผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุนทางอ้อมโดยเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุ ความรุนแรง ที่ต้องสูญเสียไปจำนวนมาก โดยที่สร้างผลกระทบที่ไม่สามารถประเมินค่าได้


การงดดื่มในช่วงดังกล่าวนอกจากจะได้คืนมาให้ครอบครัว หากมองในแง่ของครัวเรือนเงินจำนวนนั้น ก็ถือว่าได้นำมาใช้สอยในสิ่งที่เป็นประโยชน์ หากมองเศรษฐกิจมหภาค ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มการใช้จ่ายภาคครัวเรือนได้ และที่สำคัญที่สุดของครอบครัว คือ ได้เวลาของครอบครัวกลับคืนมา 


จากประสบการณ์ของผู้เลิกเหล้า เล่าว่า การดื่มเหล้าอย่างหนักทำให้ เป็นเหตุให้เสียการเสียงาน ทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพ แถมยังเป็นเหตุเสียเงินที่ทำงานได้มาไปกับการพนันเพราะดื่มจนเมา ในที่สุดก็ต้องออกจากงานเพราะความที่เมามาอย่างต่อเนื่อง เงินที่หาได้มาทั้งชีวิตก็ยังหมดไปกับเรื่องเหล้า จนมาถึงจุดหนึ่งมีคนที่ทำงาน ในภาคีเครือข่ายงดเหล้าเข้ามาชวนให้เลิกเหล้า โดยเริ่มต้นจาก เข้าพรรษา ก็ถือเป็นเรื่องดีที่ได้ทบทวนตัวเอง และเห็นได้ชัดว่า ที่ผ่านมา เหล้าเข้ามาทำลายชีวิตไปมากมาย ทั้งเสียเงิน เสียงาน เสียเรื่องดีๆ กับครอบครัว เพราะเมาแล้วก็มักทะเลาะเบาะแว้งกัน เมื่อไม่มีฤทธิ์น้ำเมาแล้ว ครอบครัวก็กลับมามีความสุขอีกครั้ง


จากการเข้าไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ ของคณะทำงานในโครงการ เลิกเหล้าเข้าพรรษา พบว่า มีหมู่บ้านเลิกเหล้า 300 แห่ง จาก 70,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ แม้ตัวเลขจะดูน้อยอยู่ แต่พบว่าทำให้เกิดพลังที่มีคุณค่ามหาศาลแก่ชีวิตที่จะ เปลี่ยนวิกฤติชีวิตของครอบครัวให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ได้มากขึ้น.


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code