“งดเหล้าตะวันออก” ตกผลึก ดันเยาวชนรณรงค์งดเหล้า
เมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคตะวันออก ได้จัดการประชุมผู้ประสานงาน 9 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครนายก สระแก้ว ตราด และปราจีนบุรี ซึ่งจัด ณ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมงดเหล้าภาคตะวันออก ภายในศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ต.พลับพลา อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยมี อาจารย์ธีระ วงศ์เจริญ ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม น.ส.
การประชุมในครั้งนี้ มีวาระสำคัญคือ การเปิดเวทีพัฒนาศักยภาพ ที่หนุนเสริมและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาคมงดเหล้าภาคตะวันออก โดยให้ผู้ประสานงานแต่ละจังหวัด ฝึกเขียนโครงการ ในประเด็นงดเหล้าเข้าพรรษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการวางแผนงาน พัฒนาทักษะในการปรับประยุกต์ใช้ความรู้ หรือแนวทางเพื่อสามารถนำไปพัฒนารูปแบบกิจกรรมในปีต่อไป และในประชุมครั้งนี้ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนปรึกษาหารือ ในการวางตำแหน่งของป้าย สคล.เพื่อประชาสัมพันธ์และเป็นที่รู้จักให้กับบุคคลทั่วไป
นอกจากนี้ ทางที่ประชุมได้มีกิจกรรมในการถอดบทเรียนของ “โครงการเข้าพรรษา ชวนครอบครัวเลิกเหล้า” โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ในเรื่องของรูปแบบ หรือแนวทางการปฏิบัติงาน ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดโครงการ รวมไปถึงการรายงานความก้าวหน้า และสถานการณ์ของโครงการที่ได้ทำมา พร้อมกันนั้นยังมีกิจกรรมเพื่อกำหนดวาระของเยาวชน ในเรื่องการวางแผนจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนงดเหล้าภาคตะวันออก โดยเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบกิจกรรม การใช้สื่อรณรงค์ในขณะเดินขบวนรณรงค์ จากการร่วมปรึกษาหารือกันในครั้งนี้
พ.ต.ท.
ด้าน อาจารย์ธีระ วงษ์เจริญ ได้ให้คำแนะนำในการทำงานรณรงค์งดเหล้าไว้ 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก เรื่องของเยาวชน เป็นการนำเยาวชนมาเป็นแรงขับเคลื่อนในการรณรงค์ โดยที่เยาวชนต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการทำงาน ต้องปรึกษาหารือกับทางผู้ใหญ่ก่อนลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ ผู้ใหญ่จะต้องให้การหนุนเสริม ให้คำแนะนำในการทำงาน ประกอบกับการสร้างหลักสูตร เพื่อฝึกเยาวชน ให้เยาวชนรู้จักการสังเคราะห์ และวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ ได้ และสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ฝึกเยาวชนให้เป็นนักจัดการให้ได้ เพื่อที่จะนำไปสู่ความสามารถในการวางกลยุทธ์ของการทำงานได้ในอนาคต
ประเด็นที่สอง ในเรื่องของการทำงาน ซึ่งการทำงานของสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า มีการทำงานที่ใช้มาตรการทางสังคม โดยการทำสื่อรณรงค์ออกไปตามพื้นที่ เพื่อสร้างกระแสให้พื้นที่ที่ยังไม่เข้มแข็งนัก ที่เราต้องเน้นปฏิบัติการเชิงรุก เพื่อให้พื้นที่เกิดแรงกระตุ้นในการทำงาน โดยที่ทางเราจะต้องใช้งานเป็นตัวตั้ง เอาความลำบากเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างกิจกรรมให้ชุมชนเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยแต่ละชุมชนต้องมีฐานที่มั่นของตัวเองให้ได้ งานที่เราทำนี้ เรียกว่าเป็นปิดทองหลังพระ เป็นลักษณะการทำงานของสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ทำงานเพื่อสังคม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการทำงาน ถึงแม้จะไม่มีใครเห็นคุณงามความดีของเรา แต่เรานี่แหละจะเห็นคุณงามความความดีของตัวเราเอง
จากการร่วมประชุมผู้ประสานงานระดับจังหวัดของภาคตะวันออกในครั้งนี้ ทำให้มองเห็นทิศทางการทำงานได้ว่า ทางทีมผู้ประสานงานจังหวัดภาคตะวันออกทั้ง 8 มีแนวทางในการทำงานในทิศทางเดียวกัน และพร้อมที่จะเชื่อมประสานงานในการทำงานระหว่างเครือข่ายอื่นๆ ในพื้นที่เพิ่มเติม เช่น กลุ่มเยาวชน พระสงฆ์ และทหาร พร้อมกันนั้นก็ได้มีการนำข้อคิดเห็นจากผู้มาร่วมประชุมไปสังเคราะห์ เพื่อกำหนดทิศทางการทำงานอีกด้วย ซึ่งได้แก่ การทำงานด้านรณรงค์ ด้านป้องกัน รุกคืบ สื่อสาร และวิชาการ ซึ่งแนวทางดังกล่าว หากได้นำไปปรับใช้ในการทำงานครั้งต่อไป ก็น่าสนใจว่า พื้นที่การทำงานของเครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันออก จะเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ๆ น่าสนใจจะเข้ามาเรียนรู้การรณรงค์งดเหล้าสำหรับภูมิภาคอื่นๆ ได้ต่อไป
เรื่อง : มานิตย์ กงมน (นักศึกษาฝึกงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าส่วนกลาง)
ที่มา : สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
update : 14-12-53
อัพเดทเนื้อหาโดย : ศิรินทิพย์ อิสาสะวิน