“คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน” แก้เด็กติดมือถือ สังคมพ่อแม่ยุคดิจิทัล

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ



 แฟ้มภาพ


เมื่อ "มือถือ" กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของมนุษย์และการใช้ชีวิตของผู้คนไม่ว่าจะทำงาน เรียน ติดต่อสื่อสาร และความบันเทิงทุกรูปแบบอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต ปฏิเสธไม่ได้ที่เด็กยุคใหม่จะเกิดและเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีเหล่านี้ ทว่าทุกสิ่งย่อมมีด้านบวกและด้านลบ


ข้อมูลจากรายงานจับทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2563 (ThaiHealth Watch) สสส. พบว่าประเด็นสุขภาพเด็กและเยาวชนที่มาแรง คือ การเสพติดออนไลน์ ภัยคุกคามออนไลน์ และการติดเกม สอดคล้องกับข้อมูลจากสถาบันจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่า เด็กและเยาวชนไทย ใช้ชีวิตอยู่หน้าจอมากกว่าสถิติโลก คือ  35 ชม./สัปดาห์ ซึ่งปกติไม่ควรเกิน  16 ชม./สัปดาห์ และจากการสำรวจเด็กวัย 6-18 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน พบ 61% มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเกมออนไลน์เพราะเล่นเกมมากกว่า 3 ชม./วัน และ จากเกมออนไลน์จะนำพาเด็กและเยาวชนไปสู่ความเสี่ยงอื่นๆ อย่างการพนัน  ความรุนแรง


"คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน" แพลตฟอร์มแก้ลูกติดมือถือ รวมถึงลดการปัญหาการเล่นเกม การใช้มือถือเกินลิมิตของเหล่าเด็กเล็กไปจนถึงวัยรุ่น และปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับบริษัท ทูลมอโร จำกัด เปิดตัวโครงการ "คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน" ในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม ระบบการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับพ่อแม่และเหล่าผู้ปกครองที่มี ลูกหลานติดมือถือ



น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่าจากการสำรวจพบว่าหนึ่งในปัญหาท็อปฮิตของพ่อแม่ผู้ปกครอง คือ ลูกติดมือถือจนไม่ทำกิจกรรมอื่นๆ  ที่ควรจะทำ อย่างการไปเรียนหนังสือ และได้มีการสอบถามมายังสสส.ว่าควรจะทำอย่างไรดี และจากปีที่ผ่านมาสสส.ร่วมกับบริษัท ทูลมอโร จำกัด จัดทำรายการ รอลูกเลิกเรียน สำหรับผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่น ซึ่งได้มีการเก็บผลการศึกษา พบว่า ปัญหาลูกติดมือถือเป็นประเด็นที่พ่อแม่ ผู้ปกครองกังวลและอยากแก้ไขมากที่สุด


ดังนั้น ปีนี้ได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่อยอดโครงการ คุณเปลี่ยน  ลูกเปลี่ยน ร่วมกับภาคีอื่นๆ อาทิ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข คณะจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ศิริราชพยาบาล คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมด้วย


"เวลาเห็นลูกวัยเรียน วัยรุ่นติดมือถือ ติดเกม พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะว่ากล่าวตักเตือน โดยอาจลืมนึกไปว่าที่ลูกเป็นอย่างนั้น  เพราะการเลี้ยงดูอย่างตามใจและให้ใช้เวลากับอุปกรณ์มือถือ หรือแทบเล็ตตั้งแต่เล็กๆ อีกทั้งปัจจุบันเป็นสังคมดิจิทัล พวกเขาเกิดมาก็เห็นสื่อดิจิทัลอยู่แล้ว คนที่เลี้ยงดูเด็กต้องรู้เท่าทันวิธีการใช้ให้เหมาะสมไม่เป็นพิษเป็นภัยแต่เป็นประโยชน์ต้องทำอย่างไร เรามองว่าถ้าพ่อแม่มีความรู้เหล่านั้นตั้งแต่ลูกเล็กๆ จะทำให้เป็นการใช้อย่างถูกวิธีที่ดี สำหรับการเป็นพลเมืองดิจิทัล และหากไม่รู้ปล่อยปละละเลยอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมติดมือถือ หรืออื่นๆ ที่พ่อแม่ไม่อยากให้มี"  น.ส.ณัฐยา กล่าว


สังคมไทย เป็นสังคมดิจิทัล ซึ่งจากการสำรวจทุกครั้ง 90% คนไทยมีมือถือ และใช้มือถือเวลานาน จึงจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องสร้างความรอบรู้ ฉลาดรู้ให้แก่พ่อแม่ เพราะดิจิทัลเป็นดาบสองคมใช้ถูกวิธีจะดีมาก แต่ถ้าไม่ถูกอาจนำพาความเสี่ยงต่างๆ มาให้ สสส.มองว่าทำอย่างไรจะสร้างกระบวนการห้องเรียนพ่อแม่ยุคดิจิทัล และแพลตฟอร์มออนไลน์น่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสม เข้าถึงได้ทุกคน รวมถึงจากกระบวนการทำงานปีที่ผ่านมา พบว่าเมื่อพ่อแม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองก็ทำให้ลูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย ฉะนั้น ถ้าเริ่มต้นที่ "คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน" จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ปัญหาเด็กติดเกมได้


"เยาวชนยุคนี้ เป็นชาวดิจิทัลโดยกำเนิด โตมากับคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต โดยเรียนรู้ทั้งความรู้และบันเทิง จึงเป็นความท้าทายของผู้ปกครองที่จะต้องมีความรู้ใหม่ และสอนให้เด็กๆ รู้จักสร้างสมดุลในเรื่องของการใช้อุปกรณ์จอใสเหล่านี้" น.ส.ณัฐยา กล่าว


ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน เป็นระบบการอบรมเพิ่มศักยภาพการสื่อสารของครอบครัวผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยโครงการดังกล่าวได้มีการใช้เทคโนโลยีช่วยพัฒนาระบบจนสามารถรองรับการอบรมได้ถึง 600 คน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ เทคนิคการสื่อสารกันในครอบครัว เกิดความอยากที่เปลี่ยนแปลงตัวเองเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการใช้โทรศัพท์มือถือ


สุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งบริษัท ทูลมอโรจำกัด กล่าวว่า จะมีการสร้างแรงบันดาลใจผ่านรายการ Livestream ที่แสดงให้เห็นว่าวิธีการสื่อสารที่ใช้แก้ปัญหานั้นไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนและสามารถนำไปใช้ได้จริง พร้อมมีกิจกรรมอบรมเสริมทักษะด้านการสื่อสารออนไลน์ ออกแบบพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องทักษะการสื่อสารภายในครอบครัวเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ เปิดห้องเรียนออนไลน์ กรุ๊ปไลน์ เป็นเวลา 9 วัน วันละ 1 ชม.เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัย ซึ่งผู้สนใจสามารถติดตามรับชม และเข้าร่วมโครงการได้ที่เพจทูลมอโร (Toolmorrow)


การใช้เทคโนโลยี มือถือ อินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มที่มากขึ้นตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคม  โดยรวมๆ เด็กใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือถือ 6-7 ชม.ต่อวัน รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวว่าจากการสำรวจข้อมูลในประเทศไทย เด็กที่อยู่ในข่ายใช้มือถือเยอะจนติดมือถือ มีประมาณ 20-30 % และมีแนวโน้มที่จะ มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเด็กไทยที่ติดมือถือ  คือการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งอันดับแรก  จะเป็นการใช้ในส่วนของโซเซียลมีเดีย  สื่อสังคมออนไลน์ รองลงมือ ติดเกม และอันดับสาม การเข้าดูสื่ออนาจาร เว็บโป๊ต่างๆ


"เด็กติดมือถือ มีผลกระทบทั้งสุขภาพกายและจิตใจ เพราะเด็กจะไม่ได้ขยับร่างกาย และเมื่อเข้าถึงการเล่นเกม พนัน ยิ่งได้เล่นเกมที่มีการแข่งขัน ความรุนแรงเขาจะซึมซับและชินชากับความรุนแรง  มีปัญหาความรุนแรง ก้าวร้าว รวมถึงเสียการเรียน ซึ่งการจะแก้ปัญหานี้ได้พ่อแม่ต้องปรับพฤติกรรม มีความรู้ว่าการใช้มือถือ เทคโนโลยีเหล่านี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ผลกระทบเป็นอย่างไรและควรนำคำแนะนำทางการแพทย์มาใช้ ซึ่งเด็กก่อน 2 ขวบไม่ควรอยู่หน้าจอแต่ควรอยู่กับพ่อแม่ อายุ 2-6 ขวบ ไม่ควรเกินวันละ 1-2 ชม.และเด็กอยู่กับหน้าจอต้องเป็นเวลาที่พ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกด้วย และถ้าโตมากขึ้น ต้องใช้เท่าที่จำเป็น ควรชักชวนไปทำ กิจกรรมอื่นๆ ในการพัฒนาลูก และต้องสร้างจุดบวกร่วมกันระหว่างพ่อแม่ก่อนจะ ไปให้ลูกเปลี่ยน" รศ.นพ.ศิริไชย กล่าว


พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่าจริงๆ การวินิจฉัยทางการแพทย์ไม่มีโรคติดมือถือ มีแต่โรคติดเกม ซึ่งการติดมือถือนั้น ส่งผลให้ เกิดการติดเกมได้ โดยพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่า เด็กเกมหรือติดมือถือนั่น จะสังเกตได้จากอาการหลักๆ ดังนี้ 1.ควบคุมตนเองไม่ได้ อยากเล่นตลอดเวลา 2.จัดลำดับความสำคัญให้ความสำคัญกับการเล่นมือถือมากกว่า ทำกิจกรรมอื่นๆ และ 3.รู้ว่าเล่นแล้ว ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น สุขภาพไม่ดี ง่วงตลอดเวลา ไปโรงเรียนสายก็ยังเล่นอยู่


"แนวทางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพ่อแม่ย่อมส่งต่อลูกอย่างแน่นอน เพราะทุกคนที่มีการพูดคุยกับเด็กเรื่อง การติดมือถือ พวกเขาจะย้อนกลับมาว่า พ่อแม่ยังใช้มือถืออยู่ เขาก็มองว่าตัวเอง ใช้ปกติ ไม่ได้ทำอะไรผิด การกระทำของ พ่อแม่ต้องดูว่าตัวเองใช้มากน้อยขนาดไหน ถ้าพ่อแม่เป็นต้นแบบที่ดี ลดการใช้มือถือ ไปพร้อมกับลูกก็จะสื่อสารกับลูกได้ง่ายขึ้น หลักของการจัดการแก้ปัญหานี้ คือ การควบคุมเวลา อย่าห้ามลูก สื่อสารกันดีๆ อย่าทะเลาะกับลูก และดึงไปทำกิจกรรมอื่นๆ เท่าที่ทำได้ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีและประคองให้อยู่ในลู่ในทางที่เหมาะสม ซึ่งหากพ่อแม่เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง เข้าใจลูก สื่อสารลูก และเชื่อมั่นว่าลูกเปลี่ยนแปลงได้จะช่วยให้ลูกเปลี่ยน ตัวเองได้เช่นกันที่สำคัญต้องเชื่อว่าลูกทำได้ เลิกติดมือได้" พญ.วิมลรัตน์ กล่าว


ตบท้ายด้วย คุณแม่อ้อ นางพิมพ์ลดา แจ้งเจนเวทย์ คุณแม่ลูกสอง กล่าวว่า แม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการรอลูก เลิกเรียน ซึ่งที่ตัดสินใจเข้าร่วมนั้น เพราะ ขณะนั้นลูกสาวคนโตเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น  มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เริ่มสื่อสาร กับลูกไม่รู้เรื่อง ไม่ค่อยเข้าใจกัน และ แม่เองเริ่มโมโห มีอารมณ์รุนแรงมากขึ้น แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการรอลูกเลิกเรียนเป็นระยะเวลา 9 วัน ได้เข้ากลุ่มพ่อแม่ที่มีลูกประสบปัญหาใกล้เคียงกัน มีผู้นำกลุ่ม พ่อแม่อาสา ที่คอยแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้ตัวเองมีการเปลี่ยนแปลง เช่น สะท้อนอารมณ์ตัวเองว่าที่โมโหนั้น โมโหลูก ตัวเอง หรือความคาดหวังที่ต้องการจากลูก จากการสะท้อนอารมณ์ ของแม่และลูก ทำให้แม่กลายเป็นคน บ่นน้อยลง ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์กับลูก การเริ่มเปลี่ยนจากพ่อแม่ย่อมส่งผลเปลี่ยนต่อลูกอย่างแน่นอนKUBETKU CASINO

Shares:
QR Code :
QR Code