คุณเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือเปล่า

ที่มา : โรคภัยเล็ก ๆ ที่แฝงร้าย : วัยทำงาน สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (ศรร.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือนานาปัญหาสุขภาพกับวิถีชีวิตประชากร โดยรศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน และผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ https://goo.gl/WqnFK4


อารมณ์เบื่อ เซ็ง เหงา เศร้าเป็นกันได้ทั่วไปก็จริง แต่หากถึงขั้นกระทบต่อการดําเนินชีวิต และมีความรู้สึกว่าไม่อยากอยู่บนโลกใบนี้ นั่นอาจเป็นภาวะซึมเศร้าที่ถือเป็นโรคชนิดหนึ่งก็ว่าได้ เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดกับร่างกายและจิตใจที่ส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจําวันทุกด้าน ไม่ว่าจะทั้งการกิน การนอน การทํางาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความรู้สึกนึกคิดต่อตนเอง


คุณเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือเปล่า thaihealth


ปัจจุบันมีจํานวนผู้ป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดความสูญเสียรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นภาวะที่พบมากในช่วงวัยทํางานขึ้นไปเสียด้วยความเครียดและบุคลิกภาพส่วนตัวก็ก่อภาวะซึมเศร้าได้นอกเหนือจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองหรือพันธุกรรม วิถีชีวิตประจําวันที่ก่อความเครียด รวมถึงบุคลิกภาพส่วนตัว เช่น เป็นคนมองโลกในแง่ร้ายอยู่เสมอ หรือเป็นคนมีโรคประจําตัว หรือการทานยาบางชนิดก็อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ อาทิ โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคเลือดจาง และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้นโรคเล็กๆ ที่แฝงร้าย


มาเช็กกันว่าคุณเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือเปล่า


• มีอารมณ์เศร้าอยู่เกือบตลอดทั้งวันและเป็นทุกวัน บางวันอาจเป็นมาก บางวันอาจเป็นน้อย


• ความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทําแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก


• เบื่ออาหารจนน้ําหนักลดลง หรือบางรายอาจมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นจนน้ําหนักเพิ่ม เช่น 2-3 กิโลกรัมต่อเดือน เป็นต้น


• นอนไม่หลับ หรือหลับมากแทบทุกวัน หรือหลับดึกแต่จะตื่นเช้า 1-2 ชั่วโมงก่อนเวลาปกติที่เคยตื่น และไม่สดชื่น


• ทําอะไรช้า พูดช้า เคลื่อนไหวช้า บางรายมีหงุดหงิด กระสับกระส่าย ทําอะไรเหมือนรีบเร่ง


• อ่อนเพลียหรือไร้เรี่ยวแรง


• รู้สึกตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินควร


• สมาธิหรือความคิดอ่านช้าลดลง  


• คิดอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ  


ถ้ามีอาการข้างต้นอย่างน้อย 5 อาการ นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีอารมณ์เศร้า หรือเบื่อหน่ายไม่มีความสุขก็อาจเรียกได้ว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ควรพบแพทย์เพื่อรับคําาปรึกษา

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ