‘คอรุม’ ต้นแบบชุมชน แก้ปัญหายาเสพติด

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


'คอรุม' ต้นแบบชุมชน  แก้ปัญหายาเสพติด thaihealth


ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งด้านสุขภาพกาย-จิตใจ และด้านสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงได้ง่าย แม้ที่ผ่านมาภาครัฐมีมาตรการป้องกันปราบปรามผู้จำหน่ายและเสพยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาดังกล่าวไม่ได้หมดไป


ล่าสุดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยมีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)คนที่ 2 ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. จ.อุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ ลงพื้นที่ ต.คอรุม อ.พิชัย และต.หาดสองแคว อ.ตรอน พื้นที่ต้นแบบในการแก้ปัญหายาเสพติดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน


ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คอรุม และอบต.หาดสองแคว ได้ใช้แผนสุขภาวะชุมชน ของ สสส.ในการเป็นตำบลสุขภาวะเป็นตัวขับเคลื่อนตามหลัก 3 สร้าง คือ 1.สร้างระบบ ในการจัดการสุขภาวะชุมชน 2.สร้างความรู้ ชุดข้อมูลและคู่มือต่างๆ 3.สร้างคน คือพัฒนาศักยภาพบุคลากรในพื้นที่ เป็นการล้อมรั้วชุมชน คือสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนท้องถิ่นได้มีองค์ความรู้ มีทางเลือกและมีความพร้อมร่วมปกป้องและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยสสส.ขยายผลการดำเนินงานใน 15 จังหวัด ใน 'คอรุม' ต้นแบบชุมชน  แก้ปัญหายาเสพติด thaihealthอปท.จำนวน 2,616 แห่ง และที่ จ.อุตรดิตถ์กระจายค่อนข้างสูงกว่าที่อื่นถึงร้อยละ 50 ของพื้นที่ มี อปท.เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จำนวน 39 แห่ง จาก อปท.ทั้งหมด จำนวน 79 แห่ง ในจำนวนนี้มีศูนย์จัดการเครือข่ายฯ อบต.คอรุมและ อบต.หาดสองแคว ที่มีแนวทางเฝ้าระวังและดูแลเด็กเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม


นายผจญ พูลด้วง นายก อบต.คอรุม เล่าว่า ต.คอรุม แบ่งเขตการปกครอง 12 หมู่บ้านมี 3 หมู่บ้าน เป็นเขตติดต่อกับ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นจุดพื้นที่สีแดงของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เนื่องจากเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดผ่านเขตรอยต่อดังกล่าวจึงส่งผลให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่พบเป็นประชาชนวัยทำงาน


สำหรับกระบวนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดนั้นายผจญ อธิบายว่า ทาง อบต.คอรุม ได้ใช้กลไลของท้องถิ่น ท้องที่ร่วมกันขับเคลื่อน และร่วมกับ สสส.ใช้เครื่องมือ RECAP และTCNAP มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนทั้งหมดตั้งแต่อายุ 0-25 ปี จำนวน 1,170 คน เริ่มจากการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายกลุ่มผู้นำชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ก่อนซึ่งไม่พบสารเสพติด จากการตรวจหาสารเสพติดในประชาชน ปี 2557 พบสารเสพติด จำนวน 38 คน และส่งตัวเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา มีจำนวน 16 คน ที่ไม่สามารถเลิกยาเสพติดได้เนื่องจากเป็นวัยทำงาน ที่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดทำให้การบำบัดรักษาไม่ต่อเนื่อง ปี 2558 ตรวจพบสารเสพติด จำนวน 20 คน มีจำนวน 9 คน ไม่สามารถเลิกยาเสพติดได้ ซึ่งเป็นวัยทำงานเช่นกัน


"ผู้ใหญ่บ้านเข้าไปสแกนพื้นที่กลุ่มผู้เสพกับผู้เสี่ยง ผู้ค้าถึงบ้าน และทำความเข้าใจกับผู้ปกครองในกรณีที่พบผู้เสพ อบต.จะนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาอาชีพ มีการจัดชุดออกตั้งจุดตรวจยาเสพติดภายในหมู่บ้าน สร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในการป้องกันบุตรหลานตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด และเปิดพื้นที่จัดกิจกรรมให้กับเด็กและเยาวชน จนนำไปสู่การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนระดับหมู่บ้าน และสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล ปัจจุบันมีเด็กจาก 12 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 20 คนเข้ามาอยู่ในสภาเด็กฯ มีการจัดพื้นที่สร้างสรรค์เช่น DJ TEEN เล่นกีฬาดนตรี ศิลปะ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นภูมิคุ้มกันในการป้องกันปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี" นายก 'คอรุม' ต้นแบบชุมชน  แก้ปัญหายาเสพติด thaihealthอบต.คอรุม กล่าว


นอกจากนี้ อบต.คอรุม มีหลักสูตรวิชาที่ใช้ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ผ่าน5 ชุดวิชา คือ การบริหารจัดการพื้นที่ การจัดการข้อมูล พัฒนาระบบเกษตรกรรม หมู่บ้านสังคมอุดมปัญญา และ ชุดวิชาอื่นๆ โดยมีการนำกระบวนการ 4 สร้าง ของ อบต.คอรุม คือ สร้างคนสร้างงาน สร้างโอกาส และสังคมอุดมปัญญา มาร่วมขับเคลื่อน ซึ่งทุกวิชามีการจัดการพื้นที่บริหารงานร่วมกับภาครัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ ภาคประชาชนและภาควิชาการ ส่งผลให้ในปี 2559 ตรวจพบสารเสพติด จำนวน 1 คน (พระ)


ด้านนายรามนรา ยาโด นักศึกษา ปวส.ปี 1 วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ ในฐานนะรองประธานสภาเด็กและเยาวชน ต.คอรุม กล่าวว่า ในหมู่บ้านตนมีวัยรุ่นติดยาเสพติดจำนวนมาก ก็ได้ชวนเพื่อนๆเข้ามาเล่นกีฬา และร่วมทำกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ที่ทางผู้ใหญ่สนับสนุน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าร่วมโดยไม่จำกัดเพศ อายุ ซึ่งผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้าร่วมได้ เพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันหมด


"ยืนยันได้ว่าคณะกรรมการสภาเด็กฯ ไม่มีใครเสพยาเสพติดอย่างแน่นอน แต่สมาชิกสภาเด็กฯที่มีจำนวนกว่า 130 คนนั้น มีโอกาสพบสารเสพติด 50% เนื่องจากพบว่า ยังมีเด็กและเยาวชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คลุกคลี่กับผู้ที่เสพยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถดึงเด็กเข้าร่วมทำกิจกรรมได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามจากการทำกิจกรรมดังกล่าวที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มเด็กเยาวชนมีจำนวนติดยาเสพติดลดน้อยลง" นายรามนรา กล่าวทิ้งท้าย


การดำเนินงานดังกล่าวของ อบต.คอรุม เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการปกป้องเด็กและเยาวชนให้พ้นจากปัญหายาเสพติดได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ

Shares:
QR Code :
QR Code