คนไทยป่วยมะเร็งผิวหนังปีละ 400 ราย
คนไทยเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดไฝดำ 300-400 รายต่อปี ปัจจัยเสี่ยงตากแดดจ้าเป็นเวลานาน คนผิวดำโอกาสเป็นน้อยกว่าคนผิวขาว แนะเลี่ยงแสงแดดช่วง 10.00-15.00 น.
วันที่ 22 ก.พ.56 ผศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ แพทย์ประจำหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอุปนายกสมาคมมมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไฝดำหรือเมลาโนมา ทั่วโลกพบผู้ป่วยประมาณ 160,000 รายต่อปี และร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะเป็นชาวยุโรป อเมเริกา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สำหรับประเทศไทย พบผู้ป่วยรายใหม่ 300-400 รายต่อปี ซึ่งเกิดจากการเจริบเติบโตของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ
ผศ.นพ.วิโรจน์ กล่าวอีกว่า ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการได้รับแสงแดดในปริมาณมากทั้งยูวีเอและยูวีบี, การเข้าเครื่องอบผิวให้เป็นสีแทน, มีไฝที่ผิดปกติจำนวนมากหรือขนาดใหญ่,คนผิวขาว ผมทองมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนผิวคล้ำ เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ และมีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วย วิธีการสังเกตอาการของโรค ได้แก่ ลักษณะของไฝทั้งสองด้านไม่เท่ากัน, ลักษณะขอบของไฝไม่ชัดเจน ขรุขระ ไม่เรียบ,ไฝที่มีสีไม่สม่ำเสมอกัน อาจมีทั้งสีดำ สีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาล,ไฝจะโตผิดปกติ มีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร และมีการแตกตัวของไฝเพิ่มจำนวน
ผศ.นพ.วิโรจน์ กล่าวด้วยว่า การรักษาทำได้โดย 1. การผ่าตัด หากพบในระยะเริ่มต้น มะเร็งยังไม่กระจายอาจทำให้หายขาด 2. การฉายรังสี ใช้ในกรณีที่มะเร็งมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถตัดออกได้ 3. การรักษาด้วยยา ซึ่งจะเป็นการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัดหรือการักษาเมื่อโรคกลับเป็นซ้ำหรือแพร่กระจาย
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของการรักษาจะเป็นการรักษาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น คือ การตรวจคัดเลือกผู้ป่วยและใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้นโดยเฉพาะ ยาที่ได้จะสามารถต่อต้านเซลล์มะเร็งได้อย่างเจาะจง จากเดิมการให้ยาจะช่วยทุเลาอาการได้นิดหน่อย แต่แนวทางใหม่มีการวิจัยพบว่า ช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยและโรคตอบสนองต่อยาได้ดีขึ้น
“การป้องกันโรคทำได้โดยการลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า spf มากกว่า 15 หลีกเลี่ยงการอาบแดด หรือใช้เครื่องอบผิวให้เป็นสีแทน และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน หากมีแผลเรื้อรังหรือแผลที่ไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์” ผศ.นพ.วิโรจน์ กล่าว
ด้าน ศ.นพ.ชนพ ช่วงโชติ พยาธิแพทย์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้อำนวยการศูนย์จุฬาลงกรณ์ยีนโปร กล่าวว่า การรักษามะเร็งผิวหนังชนิดใฝดำระยะลุกลาม ตามแนวทางการรักษาเฉพาะบุคคล จะต้องตรววจหาการกลายพันธุ์ของยีนบีราฟ (braf) ในก้อนมะเร็งของผู้ป่วย ซึ่งยีนบีราฟสร้างโปรตีนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ เมื่อมีการกลายพันธุ์ของยีนบีราฟจะส่งผลให้เซลล์มีการเพิ่มจำนวนอย่างผิดปกติ นำไปสู่การเกิดมะเร็ง โดยการกลายพันธุ์ของยีนบีราฟพบได้ประมาณ 25-50% ของโรคมะเร็งผิวหนังชนิดใฝดำ แต่จะแตกต่างกันไประหว่างเชื้อชาติ การตรวจหาการะบายพันธุ์ของยีนบีราฟจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดนี้ เพราะช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาเลือกยาและวิธีการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก