คนเมืองปลูกผักกินได้ไม่จำกัด (พื้นที่)

ทุกเย็นวันอังคาร พฤหัสฯ ศุกร์ และอาทิตย์ บรรยากาศตลาดวัดชัยฉิมพลีจะค่อนข้างคึกคัก เพราะที่นี่คือตลาด "ผักสุขภาพดี ภาษีเจริญ" ตลาดที่ส่งตรงผักสด สะอาดและปลอดภัยจากมือผู้ผลิตถึงมือผู้บริโภค ด้วยราคาย่อมเยา 15 บาททุกรายการ


คนเมืองปลูกผักกินได้ไม่จำกัด (พื้นที่) thaihealth


เพราะแม่ค้าส่วนใหญ่ในตลาดวัดชัยฉิมพลีแห่งนี้ เป็นเกษตรกรที่ปลูกผักเองและขายเอง ตัวอย่างเช่น ป้าวรรณา เนียมนิล เกษตรกรวัย 53 ปี แต่ยังแจ๋วทั้งกายและใจ เพราะปลูกเอง กินผัก(ที่ปลูก) ด้วยตัวเอง และยังเหลือเผื่อแผ่มาขายที่ตลาดด้วย


ป้าวรรณาเล่าว่า ส่วนใหญ่จะปลูกผักคะน้า กวางตุ้ง และผักกาดขาว แม้มีปัญหาคือแมลงจะชอบมาหา แต่จะใช้วิธีปลูกผักที่มีกลิ่นแรง เช่นโหระพา ดาวเรือง รอบแปลงไล่แมลงแทน รวมทั้งอาศัยนกช่วยกินหนอนแมลง จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงใดๆ ทั้งสิ้น


ตลาดผักปลอดภัย ที่วัดชัยฉิมพลีนี้ เป็นแนวคิดที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องในพื้นที่แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ และเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ(Healthy Space) ของศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน(ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยามที่เกิดจากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ชุมชนภาษีเจริญ และภาคีเครือข่าย ตั้งใจจะผลักดันให้ที่นี่ เป็นตลาดกลางด้านผักปลอดภัยนำร่องแห่งแรกในเขตภาษีเจริญก่อนที่จะขยายต่อไปยังเขตพื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพฯ โดยการดำเนินงานยึดแนวทาง "เกษตรอยู่ได้ แม่ค้าไคนเมืองปลูกผักกินได้ไม่จำกัด (พื้นที่) thaihealthม่ขาดทุน รวมถึงผู้บริโภคเข้าถึงผักปลอดภัย" เพื่อให้ตลาดแห่งนี้มีความยั่งยืนในการดำเนินงาน


มิเพียงเป็นตลาดกลางจำหน่ายผักปลอดภัย ตลาดวัดชัยฉิมพลี ยังเป็นสื่อกลางของการเผยแพร่แนวคิด "ปลูกผักกินเอง" และเปลี่ยนทัศนคติใหม่เกี่ยวกับการปลูกผักของชาวเมืองหลวง ในเวทีเสวนาทิศทางผักสุขภาพ กับข้อจำกัดเชิงพื้นที่" จึงเป็นกิจกรรมเพื่อเชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาลองปลูกผักกินเอง โดยการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบริโภคผักในปัจจุบัน ที่ผู้บริโภคยุคใหม่เน้นวิถีการกินอาหารนอกบ้านและซื้อผักกินเองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่สามารถควบคุมที่มาของอาหารให้ปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เนื่องจากเกษตรกรจึงหันมาใช้สารเคมีทั้งปุ๋ยและยากำจัดแมลง จึงเกิดสารพิษตกค้างในผักและพลอยสะสมในร่างกาย เพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคมากขึ้น


ซึ่งในความเห็นของ วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด ผู้จัดการเครือข่ายตลาดสีเขียว เชื่อว่าการเชิญชวนให้คนเมืองหันมาปลูกผักกินเอง ต้องเริ่มที่ความร่วมมือจากคนในชุมชน เช่น เกษตรช่วยถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปลูกผัก โดยสามารถใช้พื้นที่วัดโรงเรียน เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษ คนในชุมชนสามารถใช้บริเวณบ้านของตนเองเป็นพื้นที่ปลูกผักเพื่อบริโภค และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว


ขณะที่ชูเกียรติ โกแมน เกษตรกรจากเครือข่ายสวนผักคนเมืองบอกเล่าถึงประสบการณ์ปลูกผักกินเอง โดยกล่าวว่าผักที่ปลอดภัยมี 2 อย่างคือ "ผักที่คุณรู้ว่าใครปลูก และผักที่คุณปลูกเอง" ซึ่งทุกวันนี้เป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าผักที่เรากินใครเป็นคนปลูก ดังนั้น หากต้องการบริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารเคมีแน่นอน สามารถทำได้โดยการ "ปลูกผักกินเอง" เพียงปรับแบ่งพื้นที่ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดห้องเล็ก หรือตึกสี่ชั้น ก็สามารถปลูกได้ หากดีไซน์วิธีการปลูกให้เหมาะสม


"แม้ที่อยู่อาศัยจะมีพื้นที่เล็กน้อย ก็สามารถปลูกผักกินเองได้ โดยใช้ภาชนะรีไซเคิล อย่างเช่น ขวดน้ำพลาสติก แก้วน้ำ ถังหรือกระป๋องนม เป็นต้น ส่วนปุ๋ยธรรมชาติหาได้รอบตัวเรา เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ต่างๆ นำมาคลุกดินพักไว้ เท่านี้ดินก็มีสารอาหารเพียงพอ พร้อมปลูกผักได้แล้ว"


ฟังจากปากคำเกษตรกรเมืองมืออาชีพเช่นนี้ คอนเฟิร์มได้ว่า "พื้นที่จำกัด" ย่อมไม่ใช่ข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่อการปลูกผักกินเองแน่นอน


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ

Shares:
QR Code :
QR Code