ขับเคลื่อน ‘องค์กรแห่งความสุข’ ก้าวทันยุค 4.0

เรื่องโดย: ชมนภัส วังอินทร์   team content www.thaihealth.or.th


ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 การปรับตัว และพัฒนาองค์กรให้เท่าทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามา ต้องอาศัยบุคลากรและองค์กรขับเคลื่อนไปพร้อมกัน แต่จะไปในทิศทางไหนนั้นขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนของผู้นำในองค์กร


ขับเคลื่อน ‘องค์กรแห่งความสุข’ ก้าวทันยุค 4.0 thaihealth


ภาพประกอบจากwww.happy8workplace.com


เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์พัฒนาและสนับสนุนองค์กรสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุขและภาคีเครือข่าย จัดเวที “Forum องค์กรแห่งความสุข 4.0 เพื่อให้องค์กรอุตสาหกรรมผู้ประกอบการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อองค์กร และคนทำงานอย่างไร พร้อมทั้งเสนอแนวทางพัฒนาสร้างองค์กรให้สามารถเดินหน้าไปพร้อมกับยุค 4.0


ขับเคลื่อน ‘องค์กรแห่งความสุข’ ก้าวทันยุค 4.0 thaihealthนพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. กล่าวเปิด งานนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยต้องปรับตัวเมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่  ยุคสมัยนี้ประชาชนอยู่ในสภาวะเครียดดังนั้นการทำงานให้มีความสุขการอยุ่ร่วมกันในองค์กรต้องเกิดจากหลายฝ่ายทั้งผู้บริหารและพนักงานร่วมมือและพัฒนาตนเองให้ได้


นพ.ชาญวิทย์ อธิบายต่อว่า เรื่ององค์กรแห่งความสุข ถ้ามองเป็นภาพใหญ่ของประเทศไทยนั้น ไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยทราบมา เราไม่ได้อยู่ในยุคการเปลี่ยนแปลงแบบเดิมๆ แต่เรากำลังพัฒนาตนเองเพื่อก้าวไปสู่ยุคใหม่  ก็คือการทำให้คนในที่ทำงานมีความสุขจริงๆ ไม่ใช่แค่พูดว่ามีความสุข  องค์กรจะทำและรับมืออย่างไรให้คนในองค์กรมีความสุข ทางด้านคนทำงานอาจมีเงื่อนไขหรือเกณฑ์บางอย่างที่ต้องการมากกว่าบุคคลโดยทั่วไป อาทิ การมีความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ การทำงานในองค์กร ที่มั่นคง ได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง ได้รับเกียรติและมีคุณค่าในที่ทำงาน  ได้รับการยอมรับจากบุคคลขององค์กรทุกระดับ มีค่าตอบแทนที่ยุติธรรม สวัสดิการที่พึงพอใจ มีหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานที่ดี


ด้านรศ.ดร. สมบัติ กุสุมาวลี  คณบดีคณะพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า หากเราอยากเห็นชีวิตคนไทยก้าวไปสู่ยุคใหม่ อีก10-20ปีข้างหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทุกคนในประเทศไทยต้องช่วยกัน  ต้องมี “ พาราดาม ชิฟท์” (Paradigm Shift) หรือการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์  หมายถึง กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ แนวการดำเนินชีวิต เพื่อให้สอดคล้องกับยุค และสถานการณ์ ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


ขับเคลื่อน ‘องค์กรแห่งความสุข’ ก้าวทันยุค 4.0 thaihealth


รศ.ดร. สมบัติ  กล่าวต่อว่า การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในตัวบุคคลเพื่อพัฒนาตนเองต้องมี กระบวนทางการคิดวิเคราะห์ต่อเหตุการณ์จริงโดยเริ่มจากตนเองก่อนและนำไปปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตให้ดีมากขึ้น วิธีคิดต้องคิดให้แตกต่างจากเดิมที่เป็นอยู่เพื่อให้ทันเหตุการณ์และคาดคะเนถึงอนาคตมากขึ้นไม่ใช่แค่ทำให้จบไปในแต่ละวัน  วิธีปฏิบัติเมื่อผ่านกระบวนความคิดแล้วต้องปฏิบัติจริงเพื่อให้สอดคล้องไปกับองค์กรที่ทำอยู่เพื่อการก้าวไปสู่ยุคใหม่ให้ได้  ในแนวการดำเนินชีวิตต้องนำมาคิดว่าเราอยู่ในสถานะการณ์แบบใหนแล้วดีมากพอหรือยังถ้ายังให้รีบพัฒนาตนเองอย่างรวดเร็วให้ดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุค และสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต


“ทั้งนี้ความเชื่อพื้นฐานที่มีในจิตใจของมนุษย์ทุกคน อาจแตกต่างกันตามเพศ ตามวัย ตามสิ่งแวดล้อม ตามการศึกษาอบรม ตามการตัดสินใจของแต่ละบุคคล นั่นเป็นความเชื่อพื้นฐานของ กระบวนทัศน์เก่าที่มีอยู่แล้ว เราควรนนำกระบวนทัศน์ใหม่เข้ามาแทนที่ มิฉะนั้นจะไม่เกิดเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ มีกระบวนทัศน์ ตัวนี้จะช่วยตัดสินใจเลือกได้ว่า จะรับหรือจะปฏิเสธด้วยตนเองได้ สิ่งนี้เป็นแนวทางตัดสินใจให้เราเดินไปในทิศทางที่ดีขึ้น” รศ.ดร. สมบัติ กล่าว


ด้าน รศ.ดร.ศิรินันท์  กิตติสุขสถิต ( ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย) เป็นผู้วิจัยทางด้าน “แฮปปิโนมิเตอร์” (HAPPINOMETER) จากการสนับสนุนของ สสส. โดยมีการวัดผลคนทำงานมาแล้วกว่า 400,000 ราย จาก 800 องค์กรทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สื่อถึงความเอาใจใส่ขององค์กรที่มีต่อคนภายในองค์กร “แฮปปิโนมิเตอร์”  ได้ดึงเอาความเด่นของดัชนีในแต่ละมิติ ของคุณภาพชีวิตและความสุขคนทำงานมารวมอยู่ในเครื่องมือนี้ ได้อย่างท้าทายและสนุกสนาน ทั้งยังสะท้อนความจำเป็นที่องค์กร ต้องพัฒนาสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและความสุขของคนในองค์กรอย่าง ทันท่วงที เพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์กร แห่งความสุขได้ โดยวัดจากหลักความสุข 8 ประการ +1 มิติ หรือ (Happy Workplace)   ได้แก่ 1. สุขภาพดี (Happy Body) 2.ผ่อนคลายดี( Happy Relax) 3.น้ำใจดี( Happy Heart) 4.จิตวิญญาณดี (Happy Soul) 5.ครอบครัวดี( Happy Family) 6.สังคมดี( Happy Society) 7. ใฝ่รู้ดี (Happy Brain) 8.การเงินดี (Happy Money) และการงานดี(Happy Work Life) 


ขับเคลื่อน ‘องค์กรแห่งความสุข’ ก้าวทันยุค 4.0 thaihealthรศ.ดร.ศิรินันท์  กล่าวต่อว่า ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่าในไตรมาสแรกของปีตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ.2560 พบว่า ความสุขของคนทำงานในประเทศไทย ภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 58.0 ซึ่งอยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดี  เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันทำให้ความเครียดเกิดขึ้นได้ในทุกอาชีพ โดยไม่เพียงแต่เรื่องความเครียดเท่านั้นยังรวมไปถึงเรื่องของเป้าหมายและปัญหาต่างๆในชีวิตอีกด้วย ในขณะที่ การเงินดี (Happy money )มีระดับเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 50.8 ซึ่งยังถือเป็นจำนวนที่ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับความต้องการของคนทำงานอีกเกือบร้อยละ 50 ที่เหลือยังคงไม่พอใจในเรื่องรายได้ของตนเอง ดังนั้นการดูแลเรื่องคุณภาพชีวิตด้านการเงินถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่จะสร้างความสุขให้แก่คนทำงานได้เพิ่มขึ้น


ทางด้าน ดร.วิภาภรณ์ เกียรติอำนวย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจ.เอช อุตสาหกรรม จำกัด เล่าว่า ก่อนออกแบบกิจกรรมทางบริษัทมีการสำรวจความต้องการตลอดจนปัญหาของพนักงานพบว่ามี 4 เรื่อง ที่ต้องดำเนินการได้แก่ 1.เงินออม เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่ขาดวินัยในการออมเงินทำให้เกิดภาระหนี้สิน 2.เหล้า-บุหรี่ ส่งผลต่อสุขภาพพนักงาน และทำให้พนักงานไม่มีเงินออม 3.ความอ้วน ที่เป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และ 4.พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน จำทำให้ผู้บริหารองค์การคิดหาแนวทางแก้ไขโดยใช้หลัก


ขับเคลื่อน ‘องค์กรแห่งความสุข’ ก้าวทันยุค 4.0 thaihealth


ดร.วิภาภรณ์ บอกอีกว่า จากปัญหาได้มีการวิเคราะห์ร่วมกันกับตัวแทนพนักงานจนเกิดเป็นโครงการ ‘4ดี 2ลด’ ได้แก่ รักดีพิชิต 100 มวน ชวนให้พนักงานเลิกบุหรี่ โดยมีสมุดบันทึกเพื่อบันทึกพฤติกรรมการสูบหากสามารถลดได้ก็จะมีรางวัลพิเศษให้ ควบคู่กับเรื่องเหล้าที่ใช้ชื่อโครงการว่า รักจริง ทิ้งขวด หากพนักงานสามารถลดการดื่ม และมีเงินออมจากการลดดื่มได้ทางบริษัทก็มีรางวัลให้เช่นเดียวกัน ตามด้วยโครงการ รักกระเป๋าเป้า 200 ที่สนับสนุนให้พนักงานมีเงินออม จากการตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยของตนเองนำมาฝากออมกับบริษัทอย่างน้อยเดือนละ 200 บาท แต่ผลที่ได้พบว่าพนักงานให้ความสนใจสะสมเงินออมมากกว่า 200 บาทต่อเดือน ทำให้ที่ผ่านมามีเงินสะสมทั้งหมดกว่า 800,000 บาท โดยมีการเปิดให้พนักงานถอนออกไปใช้ได้ หลายคนมองว่าเงินส่วนนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของเขาดีขึ้น จากที่เคยมีหนี้ก็สามารถนำเงินส่วนนี้ไปลดหนี้ได้


อีกกิจกรรมที่ทำมาโดยตลอดคือ การทำสมาธิก่อนเข้างาน และกลับบ้าน โดยจากการจัดเก็บข้อมูลจากพนักงานพบว่า การทำสมาธิ ทำให้ใจเย็นลง มีการหันหน้าคุยกันมากขึ้น ปัญหาในการทำงานร่วมกันลดลง เพราะใช้สติมากกว่าความคิดส่วนตัว ที่สำคัญทำให้รู้สึกมีความสุขในการทำงานจากโครงทั้งหมดที่ร่วมกิจกรรม พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กร ผลประกอบการก็ดีขึ้นกว่า 20%


“เมื่อเราจะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่การจัดกิจกรรมให้กับพนักงาน ต้องพิจารณาจากคนในองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญ คำพูดที่ว่า “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”นั้นเป็นเรื่องจริงแต่ขอเพิ่มคำว่า “ทำวันนี้เพื่อวันข้างหน้าที่ดี”เข้าไปด้วย หากเรายังคงปฏิบัติตัวเหมือนเดิมทำอะไรแบบเดิมแล้วคิดว่าพอแล้วก็หมายความว่าคุณยังไม่พร้อมก้าวไปสู่ องค์กรแห่งความสุข 4.0 อย่างแท้จริง” ดร.วิภาภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย


 


 


 


 


 


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code