ขับเคลื่อนโครงการ เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข

 

ขับเคลื่อนโครงการ เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก thaihealth

 

แฟ้มภาพ

 

ขับเคลื่อนโครงการ “เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ตั้งเป้าปี 2564 สร้างต้นแบบเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกครอบคลุม 77 จังหวัด เพื่อสร้างความรอบรู้และปรับทัศนคติพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เห็นความสำคัญของการเล่นอิสระของเด็ก

 

ขับเคลื่อนโครงการ เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก thaihealth

 

วันนี้ (27 สิงหาคม 2563) ดร.สาธิต  ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังงานแถลงข่าวกิจกรรมเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก ณ อาคารทีปังกรการุณยมิตร ชั้น 1 สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี ว่า ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้จากการเล่น ช่วยส่งเสริมประสบการณ์ในการใช้ชีวิตให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งการเล่นอย่างอิสระ สามารถส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กได้อย่างรอบด้าน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขับเคลื่อน “เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก Model” ลงสู่ชุมชนโดยคัดเลือก 4 ภูมิภาค ตามพรบ.การศึกษา 4 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ กาญจนบุรี สตูล และระยอง พร้อมทั้งได้ทำการศึกษาวิจัยควบคู่กับการลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 4 ภาค ให้เป็นต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก

 

พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับกระบวนการเล่นกับ  เด็กปฐมวัยของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง และผู้ดูแลเด็ก เพื่อให้ต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกเกิดความยั่งยืนในชุมชน โดยตั้งเป้าในปี 2564 สร้างต้นแบบเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกครอบคลุม 77 จังหวัด รวมทั้งได้จัดทำคู่มือผู้อำนวยการเล่น (Play worker) โดยใช้ในการจัดกิจกรรม “การเล่นเปลี่ยนโลก” ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่บ้านและชุมชน  มีส่วนร่วมให้การเล่นมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

ขับเคลื่อนโครงการ เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก thaihealth

 

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ร่วมกับกรมสุขภาพจิต เครือข่ายสมาคมการเล่นนานาชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) และสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก ดำเนินการขับเคลื่อนงานพัฒนา เด็กปฐมวัยไทยให้มีทักษะที่เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยมี IQ ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม ควบคู่กับ EQ และ EF ผ่านการเล่น จนเกิดแนวคิดการขับเคลื่อน “เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก Model” ซึ่งเป็นการเล่นรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ด้วยแนวคิด 3F ได้แก่ F : Family คือการเล่นกับครอบครัว เพื่อน พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่มีทักษะและสร้างแรงจูงใจในการเล่น F : Free คือการเปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามความต้องการอยากจะเล่น โดยมีมุมเล่น ลานเล่น สนามเด็กเล่น ที่บ้าน โรงเรียน ชุมชน ให้เด็กเล่นที่ไหนก็ได้ขอให้ปลอดภัย และ F : Fun คือการเล่นให้สุข สนุก โดยมีกิจกรรมสื่อของเล่นหลากหลาย หาง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นไปตามวัย เน้นธรรมชาติ

 

“ทั้งนี้ องค์ประกอบสำคัญ 4 หลักที่จะทำให้เกิด “ต้นแบบเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ได้แก่ 1. พื้นที่เล่น (Space) ต้องสอดรับกับบริบทแต่ละพื้นที่ เป็นสถานที่ปลอดภัย และสามารถเล่นได้ทุกที่ ทุกช่วงเวลา 2. กระบวนการเล่น (Play process) เน้นการเล่นที่อิสระ ครอบครัวมีส่วนร่วม และเป็นการเล่นที่ส่งเสริมสุขภาพทางกาย การเจริญเติบโต เช่น วิ่ง กระโดด ขว้าง ปีนป่าย วิ่งเปี้ยว วิ่งเก็บของ เป็นต้น 3.หน่วยบริหารจัดการการเล่น (Play Management Unit) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยบริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน และ 4. ผู้อำนวยการเล่น (Play worker) ผู้ที่สนับสนุนการเล่นของเด็ก โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางดำเนินการผ่านพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

 

ขับเคลื่อนโครงการ เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก thaihealth

 

ทางด้าน นางสุภัชชา สุทธิพล อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการผ่านคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร นำนโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกเป็นประเด็นสำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปี 2564 ร่วมกันทุกจังหวัด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 1,439 แห่ง ศึกษาทำความเข้าใจคู่มือผู้อำนวยการเล่น (Play Worker) เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก เพื่อปรับใช้ในการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ที่เข้ารับบริการให้เป็นเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21

 

ขับเคลื่อนโครงการ เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก thaihealth

 

ทางด้านนายนิพนธ์  ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการให้ความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนโครงการเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก ซึ่งเป็นการปฏิบัติของผู้อำนวยการเล่นในระดับโรงเรียน ที่เน้นจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ภายใต้การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการทำงานของสมอง โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติในการเลี้ยงดูเด็กได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตได้เต็มที่และเต็มศักยภาพทุกช่วงวัย และทำให้เด็กไทยได้เรียนรู้อย่างมีความสุข นำไปสู่การพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

ขับเคลื่อนโครงการ เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก thaihealth

 

ทางด้านนายทวี  เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยอาศัยความร่วมมือของคนในท้องถิ่นในการร่วมกันสร้างสนามเด็กเล่น ซึ่งถือเป็นการพัฒนา ที่จุดเริ่มต้นของทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งแนวคิดให้เด็กได้เล่นและเรียนรู้อย่างมีความสุข ผ่านการเล่นในฐานต่าง ๆ 

 

ที่สร้างขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ และวัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่น จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ 1. ฐานสระว่ายน้ำอินจัน 2. ฐานสระทารก 3. ฐานค่ายกล Spider man 4. ฐานเรือสลัดลิง และ 5. ฐานหัดว่ายน้ำ สร้างการเรียนรู้ทางสังคมในการเล่นร่วมกันของเด็ก ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาแล้วจำนวน 3,224 แห่ง

 

ขับเคลื่อนโครงการ เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก thaihealth

 

ทางด้านนางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กปฐมวัย จึงสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กและภาคีเครือข่ายการเล่น จนเกิดองค์ความรู้เรื่องการเล่นอย่างอิสระ หลักสูตรฝึกอบรม Play Worker หรือผู้ดูแลการเล่น เครือข่ายทีมวิทยากร พื้นที่ต้นแบบ และภาคีในระดับนานาชาติ ซึ่ง สสส.และภาคีเครือข่ายพร้อมที่จะหนุนเสริมการขับเคลื่อนโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกในครั้งนี้

 

Shares:
QR Code :
QR Code