กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ป้องกัน 5 โรค ฤดูแล้ง

ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ป้องกัน 5 โรคในช่วงฤดูแล้ง แนะ "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ปราศจากโรค"


กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ป้องกัน 5 โรค ฤดูร้อน thaihealth


แฟ้มภาพ


แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน กรุงเทพมหานครห่วงใยสุขภาพอนามัยของประชาชน แจ้งเตือนระมัดระวังสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เด็กเล็ก 0-4 ปี ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง


แนะนำประชาชนป้องกันโรคโดยยึดหลักปฏิบัติ "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ปราศจากโรค" ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อน รับประทานอาหาร ก่อนเตรียมอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง กินอาหารที่ปรุงสุกสะอาดใหม่ และอุ่นอาหารให้ร้อนก่อน รับประทาน ดื่มน้ำสะอาดและเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด รวมถึง กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องในที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค


โดยกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย แนะนำข้อมูล 5 โรคติดต่อที่มากับภัยแล้ง ได้แก่ 1.โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ผู้ป่วยอาจมีไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย 2.โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจาก รับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อโรค มักพบในอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารกระป๋อง อาหารทะเล น้ำนมที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาหารที่ทำล่วงหน้าไว้นานและไม่ได้อุ่นร้อนก่อน ผู้ป่วยจะมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย


3.โรคอหิวาตกโรค เกิดจากรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปนเปื้อน ผู้ป่วยจะถ่ายอุจจาระเป็น น้ำซาวข้าวไม่มีอาการปวดท้อง อาเจียน หากเสียน้ำมากอาจหมดสติและเสียชีวิตได้ 4.โรคบิด เกิดจากรับประทานอาหาร ผักดิบ หรือน้ำที่มีเชื้อบิดปนเปื้อน 5.โรคไข้ รากสาดน้อยหรือไทฟอยด์ เกิดจาก รับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อไทฟอยด์จากอุจจาระหรือปัสสาวะของ ผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ ผู้ป่วยหรือพาหะควรหลีกเลี่ยงการประกอบอาหารให้ผู้อื่นรับประทานอาจทำให้เกิดการระบาดได้ ซึ่งหากพบผู้ป่วย กองควบคุมโรคจะส่งทีมสอบสวนไปหาต้นตอของอาการป่วย หากพบว่าเป็นสถานที่ใดก็จะเร่งทำความสะอาดแก้ไขปรับปรุง ซึ่งหากร้านค้าใด ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบความสะอาดและสารปนเปื้อน ก็จะดำเนินการตามกฎหมายตามอำนาจหน้าที่อย่าง เคร่งครัดต่อไป


ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์ว่าในปี 2559 อหิวาตกโรค จะเป็นโรคที่ยังพบผู้ป่วยต่อเนื่องโดยแบ่งความเสี่ยงเป็น 3 กลุ่มจังหวัด ได้แก่ 1.จังหวัดที่พบการเกิดโรค ต่อเนื่อง คือ สงขลา ตาก และระยอง 2.จังหวัดเสี่ยงสูง คือ จังหวัดชายแดนไทย-ตอนกลางและตอนล่างของพม่า, จังหวัดชายฝั่งทะเล และจังหวัดใหญ่ที่ เป็นจุดกระจายอาหารทะเล และ 3.จังหวัด อื่นๆ ที่อาจเกิดโรคได้หากประชาชน ยังรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยใน ปี 2558 พบผู้ป่วยอหิวาตกโรค 166 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยพบผู้ป่วยใน 13 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลและ จังหวัดชายแดน


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ