กิจกรรมทางกายระดับชาติ ชวนคนไทยขยับทั้งประเทศ

สสส. จัดประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติครั้งแรกชวนคนไทยขยับ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง


กิจกรรมทางกายระดับชาติ ชวนคนไทยขยับทั้งประเทศ thaihealth


แฟ้มภาพ


สสส. ร่วมกับศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ จัดประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติครั้งแรก ชวนคนไทยขยับ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ตั้งเป้าเพิ่มกิจกรรมทางกาย 80% ในปี 2564 เตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพประชุมกิจกรรมทางกายระดับโลก  ครั้งที่ 6


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “Active Living for all” หรือ กิจกรรมทางกายเพื่อทุกคน ระหว่างวันที่ 17-18 พ.ย. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


กิจกรรมทางกายระดับชาติ ชวนคนไทยขยับทั้งประเทศ thaihealthรศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. ร่วมกับทุกภาคส่วน ทำงานเพิ่มปัจจัยบวกด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น กิจกรรมทางกาย การส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะ ทั้งนี้ผลสำรวจข้อมูลกิจกรรมทางกายคนไทย ปี 2558 ที่ทำร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 66.3 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 71.6 ในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 แต่ก็ยังถือว่าไม่สูงมากหากเทียบกับสัดส่วนพฤติกรรมเนือยนิ่ง ของคนไทยที่เฉลี่ยถึง 13.42 ชั่วโมง กระฉับเฉงเพียง 1.57 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมเนือยนิ่งจากการนั่งหน้าจอ นั่งประชุม นั่งทำงาน นั่งเรียน  ในปี 2564 สสส.ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆ ตั้งเป้าจะเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายประจำของคนไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และลดความชุกของภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนในเด็กให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ในปี 2562 โดยมุ่งส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายตลอดช่วงวัย การสร้างพื้นที่สุขภาวะ หรือปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ควบคู่ไปกับการสื่อสารรณรงค์เพื่อให้การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ง่าย และลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมและวิถีชีวิตของคนในประเทศ


 “เนื่องจากการเพิ่มกิจกรรมทางกายเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือข้ามภาคส่วน ทั้งด้านสาธารณสุข ด้านกีฬา ด้านคมนาคม ด้านการศึกษา ด้านผังเมือง ฯลฯ จึงมีความจำเป็นต้องจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามสาขาวิชา โดย สสส. จะทำหน้าที่สนับสนุนและประสานให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคสังคม และภาควิชาการ ได้มาร่วมกันพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเป้าหมายชาติในเรื่องนี้ร่วมกัน” รศ.ดร.วิลาสินี กล่าว


ด้าน ผศ. ดร.เกษม นครเขตต์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กล่าวว่า การจัดประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติครั้งนี้ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและเสนอผลการดำเนินงานและผลการวิจัยด้านกิจกรรมทางกายกิจกรรมทางกายระดับชาติ ชวนคนไทยขยับทั้งประเทศ thaihealthมากกว่า 200 ชิ้น หัวข้อที่น่าสนใจมากมาย ทั้งการเสนอผลงานวิจัยของนักวิชาการ/อาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ที่ทำการศึกษาวิจัยด้านกิจกรรมทางกายและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  การสาธิตสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อวัดระดับการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในภาวะปกติในการดำเนินชีวิตประจำวัน และขณะมีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ รวมถึงขณะเล่นกีฬา การสาธิตวิธีปฏิบัติกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพรูปแบบต่างๆของบุคคลทุกกลุ่มวัย ที่สำคัญการประชุมครั้งนี้ เวทีในการขับเคลื่อนและพัฒนานักวิจัยตลอดจนนักปฏิบัติการด้านกิจกรรมทางกายในประเทศไทย ให้พร้อมเข้าสู่เวทีประชุมระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2559 ที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์


ภายในงานประชุมวิชาการฯครั้งนี้มีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบที่น่าสนใจมากมาย อาทิ ผศ. นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  บรรยายพิเศษเรื่อง “โรคไม่ติดต่อเรื้อรังกับการขาดกิจกรรมทางกาย ศ. ดร.ฟิโอนา บูลล์ นายกสมาคมกิจกรรมทางกายนานาชาติบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การเคลื่อนไหวระดับสากลด้านกิจกรรมทางกาย” เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงบูธนิทรรศการผลงานนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยที่น่าสนใจมากมาย


 


 


ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข

Shares:
QR Code :
QR Code